แนวข้อสอบ วิชาเอกช่างยนต์ ( ชุดที่ 1
)
จำนวน 100 ข้อ
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว โดยทำเครื่องหมายกากบาท (X) ในกระดาษคำตอบ
1. เครื่องยนต์ 4 จังหวะ ประกอบด้วยจังหวะการทำงานตามลำดับที่ถูกต้องคือลักษณะใด
ก. ระเบิด - คาย - อัด - ดูด
ข. ระเบิด - คาย - ดูด - อัด
ค. ดูด - คาย - ระเบิด - อัด
ง. ระเบิด - ดูด - คาย - อัด
2. เครื่องยนต์แก๊สโซลีนหัวเทียนจะจุดประกายไฟในตำแหน่งใด
ก. ลูกสูบเลื่อนขึ้น ถึงศูนย์ตายบนในจังหวะคาย
ข. ลูกสูบเลื่อนลง ถึงศูนย์ตายล่างในจังหวะระเบิด
ค. ลูกสูบเลื่อนลง หลังศูนย์ตายบนในจังหวะระเบิด
ง. ลูกสูบเลื่อนขึ้น ก่อนถึงศูนย์ตายบนในจังหวะอัด
3.หน้าที่ของแหวนลูกสูบคืออะไร
ก. ลดแรงดันในกระบอกสูบ
ข. ลดอาการสั่นของลูกสูบ
ค. ป้องกันแรงอัดรั่ว
ง. เพิ่มความแข็งแรงให้กับลูกสูบ
4.ประแจชนิดใดที่ไม่ควรใช้ขันโบลท์หรือนัตจนแน่นเพราะจะทำให้หัวโบลท์หรือนัตเสีย
ก. ประแจปากตาย ข. ประแจก๊อกแก๊ก
ค. ประแจแหวน ง. ประแจกระบอก
5.ระยะพิทธ์ หมายถึง
ก. จำนวนเกลียวทั้งหมด
ข. ความยาวเกลียว
ค. ระยะห่างระหว่างยอดพันเกลียว
ง. เส้นผ่านศูนย์กลางโดนเกลียว
6.วัตถุไวไฟไม่ควรเก็บไว้ในที่ใด
ก. โรงจอดรถ
ข. ห้องปั๊มน้ำ
ค. ห้องมอเตอร์ไฟฟ้า
ง. ห้องเก็บวัสดุอุปกรณ์
7. เครื่องมือใดที่ใช้วัดทั้งขนาดความโตภายนอกภายในหรือความลึกของชิ้นงาน
ก. ไดอัลเกจ
ข. เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์
ค. ฟิลเลอร์เกจ
ง. บรรทัดเหล็ก
8. การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ดูได้จากอะไร
ก. ดูจากไอเสียจะมีสีขาว
ข. ดูจากไอเสียจะมีสีดำ
ค. ดูจากอาการสั่นของเครื่องยนต์
ง. ดูจากไอเสียจะมีสีฟ้าอ่อน
9. การวัดความคดของเพลาลูกเบี้ยวใช้เครื่องมือใด
ก. ไดอัลเกจ ข. ฟิลเลอร์เกจ
ค. ไมโครมิเตอร์ ง. เวอร์เนียร์คาร์ลิบเปอร์
10. ไฟเตือนความดันน้ำมันหล่อลื่นสว่างขึ้นหรือกระพริบเกิดจากสาเหตุใด
ก. น้ำมันหล่อลื่นมีความหนืดสูงเกินไป
ข. น้ำมันหล่อลื่นสกปรกมาก
ค. น้ำมันหล่อลื่นลดลง
ง. ปริมาณน้ำมันหล่อลื่นสูงเกินกำหนด
11. มีน้ำมันเครื่องเข้าไปในระบบน้ำหล่อเย็นเกิดจากสาเหตุใด
ก. ปะเก็นฝาสูบรั่ว
ข. ปะเก็นอ่างน้ำมันเครื่องรั่ว
ค. เติมน้ำมันเครื่องเกินพิกัด
ง. ความดันน้ำมันเครื่องสูงเกินพิกัด
12. น้ำมันเบรกหกถูกสีรถยนต์จะต้องทำอย่างไร
ก. รีบลาดด้วยน้ำร้อนล้างทันที
ข. รีบลาดด้วยน้ำเย็นล้างทันที
ค. รีบเช็ดด้วยผ้าสะอาด
ง. ผ้าชุบน้ำมันเบ็นซินเช็คให้สะอาด
13. น้ำยาอิเล็กไตรไลท์ของแบตเตอร์รี่กระเด็นเข้าตาควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ใช้ผ้าสะอาดเช็ดโดยทันที
ข. ใช้แอลกอฮอล์เช็ดโดยทันที
ค. ล้างด้วยน้ำสะอาดโดยทันที
ง. ใช้น้ำสบู่ล้างโดยทันที
14. เครื่องมือที่ใช้วัดความตึงสะพานคืออะไร
ก. Belt Filler Wrench
ข. Belt compressor gauge
ค. Belt strieng gauge
ง. Belt tension gauge
15. สายพานไทมิ่งของเครื่องยนต์ควรเปลี่ยนเมื่อใด
ก. เมื่อครบอายุการใช้งานตามคู่มือกำหนด
ข. เมื่อเกิดเสียงดังขณะติดเครื่องยนต์
ค. เมื่อมีการเปลี่ยนรอกกดสายพาน
ง. เปลี่ยนทุก ๆ
50,000 กิโลเมตร
16. การบริการไส้กรองอากาศแบบเปียกที่ถูกต้องควรทำอย่างไร
ก. ใช้ลมเป่าไส้กรองทั้งด้านนอกและด้านใน
ข. ใช้ลมเป่าไส้กรองด้านในออกสู่ด้านนอก
ค. นำไส้กรองเคาะให้ฝุ่นสิ่งสกปรกหลุดออก
ง. ล้างด้วยน้ำมัน
17. ถ้าเติมน้ำในขณะเครื่องยนต์ร้อนและน้ำแห้งในหม้อน้ำจะมีผลอย่างไร
ก. จะทำให้หม้อน้ำแตกได้
ข. จะทำให้เครื่องยนต์เย็นเร็วเกินไป
ค. น้ำจะเดือดพุ่งออกจากหม้อน้ำเป็นอันตราย
ง. จะทำให้เครื่องยนต์แตกหรือร้าวได้
18. ในจังหวะอัดลูบสูบจะมีการเคลื่อนที่อย่างไรและวาล์วจะอยู่ในลักษณะใด
ก. เลื่อนขึ้น วาล์วทั้งสองทำงานพร้อมกัน
ข. เลื่อนขึ้น วาล์วทั้งสองปิด
ค. เลื่อนขึ้น วาล์วไอดีปิดและวาล์วไอเสียเปิด
ง. เลื่อนขึ้นวาล์วไอดีเปิดและวาล์วไอเสียปิด
19. การจัดปากแหวนที่ถูกต้องควรจัดอย่างไร
ก. ให้ปากแหวนอัดอยู่ตรงข้ามกับด้านรับแรงเบียดข้าง
ข. ในเครื่อง OHV
ให้ปากแหวนจัดอยู่ห่างจากลิ้นไอเสียมากที่สุด
ค. ให้แหวนอัดตัวรองลงมาเยื้องจากตัวบนประมาณ
120 องศา
ง. ให้ปากแหวนน้ำมันอยู่ด้านเดียวกับด้านรับแรงเบียดข้าง
20. น้ำมันเครื่องหกบนพื้นปูนควรใช้วัสดุใดทำความสะอาด
ก. น้ำและผงซักฟอก
ข. กระดาษหนังสือพิ
ค. ทราย
ง. ขี้เลื่อย
21.
Combination wrench หมายถึง
ก. ประแจปากตายร่วมกับประแจแหวน
ข. ประแจทุกชนิดที่ใช้ในงานถอดประกอบ
ค. ประแจกรอกแกรก
ง. ประแจเลื่อน
22.
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดระยะห่างเขี้ยวหัวเทียนโดยตรงคืออะไร
ก. Plastic gauge
ข. Filler gauge
ค. T-bor gauge
ง. Wire gauge
23.
การขันสลักเกลียวฝาสูบที่ถูกต้องควรขับอย่างไร
ก. เริ่มขันสลักเกลียวจากหน้าเครื่องไปท้ายเครื่อง
ข. เริ่มขันสลักเกลียวจากด้านท้ายเครื่องไปทางหน้าเครื่อง
ค. เริ่มขันสลักเกลียวจากตรงกลางออกไปด้านซ้าย-ขวา
ง. เริ่มขันสลักเกลียวจากด้านนอกแล้วค่อย
ๆ ขับไล่เข้าตรงกลาง
24.
กำลังอัดของเครื่องยนต์สามารถรั่วทางชิ้นส่วนใด
ก. ลิ้นไอดี ไอเสีย, ปลอกลิ้น
ข. ปะเก็บฝาสูบ, ท่อไอดี
ค. ซีลหน้าเครื่อง,
แหวนลูกสูบ
ง. แหวนลูกสูบ, ลิ้นไอเสีย
25.
ชิ้นส่วนที่ใช้ป้องกันแก๊สและน้ำหล่อเย็นรั่วของเครื่องยนต์คือ
ก. แหวนอัด
ข. ปะเก็บฝาสูบ
ค. ปะเก็บอ่างน้ำมันเครื่อง
ง. ซิวก้านวาล์ว
26.
ปลอกรัดแหวนลูกสูบใช้ทำอะไร
ก. ถอดและประกอบแหวนลูกสูบ
ข. ทำความสะอาดร่องแหวนลูกสูบ
ค. ประกอบสลักลูกสูบเข้าก้านลูกสูบ
ง. ประกอบลูกสูบเข้ากับกระบอกสูบ
27.
การประกอบชุดลูกสูบควรปฏิบัติสิ่งใดก่อน
ก. ประกอบแหวนลูกสูบ
ข. ประกอบฝาประกับก้านสูบ
ค. ประกอบก้านสูบเข้ากับสลักลูกสูบ
ง. ประกอบก้านสูบเข้ากับเพลาข้อเหวี่ยง
28.
การประกอบแมนแบริ่งเพลาข้อเหวี่ยงที่ถูกต้องควรปฏิบัติอย่างไร
ก. เริ่มขันจากตรงกลางเครื่องออกไปยังด้านนอก
ข. เริ่มขันจากท้ายเครื่องไปยังหน้าเครื่องเครื่อง
ค. เริ่มขันจากหน้าเครื่องไปยังท้ายเครื่อง
ง. เริ่มขันจากริมนอกเครื่องเข้าตรงกลางเป็นก้นหอย
29.
ขณะเหยียบคลัตช์ ชิ้นส่วนใดไปดันลูกปืนกดคลัตช์ให้ทำงาน
ก. แผ่นกดคลัตช์ ข. นิ้วคลัตช์
ค. ก้ามปูกดคลัตช์ ง. ฝาครอบครัตช์
30.
เกียร์โอเวอร์ไดร์ฟหมายถึงอะไร
ก. รอบเครื่องยนต์เท่ากับรอบเพลารอง
ข. รอบเครื่องยนต์น้อยกว่ารอบเพลารอง
ค. รอบเครื่องยนต์มากกว่ารอบเพลารอง
ง. รอบเครื่องยนต์น้อยกว่ารอบเพลาเมน
31.
แผ่นคลัตช์ที่ใช้กับเกียร์อัตโนมัติเป็นแบบใด
ก. แผ่นคลัตช์แห้ง
ข. แผ่นคลัตช์เปียก
ค. แผ่นคลัตช์กึ่งแห้ง
ง. แผ่นคลัตช์กึ่งเปียก
32.
ถ้าไม่มีระยะฟรีคันเหยียบคลัตช์ จะมีผลต่อการทำงานของคลัตช์ อย่างไร
ก. คลัตช์ลื่น
ข. คลัตช์ไม่จาก
ค. คลัตช์สั่นขณะออกตัว
ง. คลัตช์มีเสียงดังขณะทำงาน
33.
เครื่องมือใด ไม่ใช่ เครื่องมือในการบำรุงรักษาและปรับแต่งความสูงของคันเหยียบคลัตช์
ก. ประแจปากตาย
ข. บรรทัดเหล็ก
ค. ไดอัลเกจ
ง. คีมล็อค
34.
ถ้าวงแหวนซิงโครไนซ์ติดตาย จะมีผลต่อการทำงานของเกียร์ อย่างไร
ก. เข้าเกียร์ยาก ข. ปลดเกียร์ยาก
ค. เกียร์หลุด ง. มีเสียงดังขณะเข้าเกียร์
35.
การตรวจสภาพเพลาขับล้อหน้ามีวิธีอย่างไร
ก. เหยียบคลัตช์เข้าเกียร์
ข. หมุนล้อหน้าเข้าเกียร์
ค. ยกรถยนต์ให้ล้อหน้าอยู่สูงพื้น
ง. เข้าเกียร์ออกรถยนต์
36.
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ปลดเกียร์ยาก
ก. คลัตช์ไม่จาก
ข. ลูกปืนเพลาคลัตช์ชำรุด
ค. เฟืองเกียร์สึกหรอ
ง. เพลากลางโก่งหรือบิดตัว
37.
ขั้นตอนใดที่ไม่เกี่ยวข้องในการถอดเกียร์ออกจากรถขับเคลื่อนล้อหลัง
ก. ถอดสายคลัตช์
ข. ถอดลูกยางแท่นเกียร์
ค. ถอดเพลาข้าง
ง. ถอดขั้วลบแบตเตอรี่
38.
ค้อนชนิดใดที่ ไม่ควร นำมาใช้ในการถอดประกอบเกียร์
ก. ค้อนเหล็ก ข. ค้อนทองแดง
ค. ค้อนพลาสติก ง. ค้อนไม้
39.
อุปกรณ์ใด ลดการสั่นสะเทือนจากพื้นผิวถนนไม่เรียบ
ก. ล้อรถยนต์
ข. สปริงรองรับน้ำหนักรถยนต์
ค. เหล็กกันโคลง
ง. โช้คอัพ
40.
อุปกรณ์ใดของลูกหมากที่รับจาระบีเข้าไปหล่อลื่น
ก. เบ้าประกบ ข. ช่องเติมจาระบี
ค. หัวไล่ลม ง. หัวอัดจาระบี
41.
ชิ้นส่วนใดของระบบรองรับแบบใช้แหนบสปริงที่ต้องหล่อลื่น
ก. แผ่นแหนบ ข. บู๊ชหูแหนบ
ค. สะดือแหนบ ง. โตงเตงแหนบ
42.
ระบบบังคับเลี้ยวทำหน้าที่อะไร
ก. ให้รถเลี้ยว ซ้าย
- ขวา
ข. ให้รถวิ่งไปในแนวตรง
ค. ควบคุมให้รถเลี้ยวไปในทิศทางที่ต้องการ
ง. ให้รถวิ่งไปตามใจผู้โดยสาร
43.
การใช้เครื่องมือบำรุงรักษาระบบบังคับเลี้ยวที่ถูกต้องควรทำอย่างไร
ก. หลังเลิกใช้งานทำความสะอาดทุกครั้ง
ข. เก็บรักษาอย่างดี
ค. ใช้งานให้เหมาะสมกับงานบำรุงรักษา
ง. เลือกขนาดหัวอัดจาระบีของเครื่องพอดีกับหัวอัดจาระบี
44.
จะรู้ได้อย่างไรว่าการอัดสารหล่อลื่นเข้าเต็มลูกหมากแล้ว
ก. สารหล่อลื่นเข้าเต็มยางกันฝุ่นลูกหมาก
ข. เครื่องอัดจาระบีแบบใช้ลม
มีเสียงอัดถี่มาก ๆ
ค. สารหล่อลื่นออกทางหัวอัดจาระบี
ง. สารหล่อลื่นล้นออกจากยางกันฝุ่นลูกหมาก
45.
หม้อลมเบรกรถปิ๊กอับทำงานโดยใช้แรงใดเป็นตัวช่วยดันก้านแม่ปั๊มเบรก
ก. แรงดันปั๊มลมเบรก
ข. แรงดันบรรยากาศ
ค. แรงดันสุญญากาศ
ง. แรงดันไฮดรอลิกส์
46.
ข้อควรปฏิบัติในการทำความสะอาดผ้าดิสก์เบรกคือ
ก. ขัดผ้าดิสก์เบรกบนผ้าทรายวางอยู่ที่พื้นเรียบ
ข. ขัดผ้าดิสก์เบรกบนกระดานทรายวางอยู่ที่พื้นเรียบ
ค. ขัดผ้าดิสก์เบรกบนผ้าทรายวางอยู่ที่พื้นโรงงาน
ง. ใช้ผ้าทรายขัดผ้าเบรก
47.
การตรวจสอบการหลวมของลูกหมากปีกนกที่ถูกต้องควรทำอย่างไร
ก. ใช้แม่แรงยกใต้ปีกนกล่างโยกล้อตามแนวนอน
ข. ใช้แม่แรงยกใต้ปีกนกล่าง
โยกล้อตามแนวตั้ง
ค. ใช้แม่แรงยกรถใต้ล้อลอยจากพื้นโยกล้อตามแนวนอน
ง. ขับรถยนต์ให้ล้อตกหลุม
48.
ส่วนประกอบของระบบรองรับแบบอิสระใช้สปริงขดคืออะไร
ก. แหนบ ข. ทอร์ชั่นบาร์
ค. ปีกนก ง. หมอนลม
49.
การถอดสปริงขดรถยนต์ต้องใช้เครื่องมือชนิดใด
ก. เครื่องบีบสปริง ข. ลวดรีดสปริง
ค. คีมบีบสปริง ง. เหล็กลัดสปริง
50.
สาเหตุที่ทำให้หน้ายางสึกด้านนอกเท่ากันตลอดทั้งวงยางคืออะไร
ก. มุมคาสเตอร์มีค่าเป็นบวกกว่าปกติ
ข. มุมคาสเตอร์มีค่าเป็นลบมากกว่าปกติ
ค. มุมแคมเบอร์มีค่าเป็นลบมากกว่าปกติ
ง. มุมแคมเบอร์มีค่าเป็นบวกมากว่าปกติ
51.
เครื่องมือชนิดใดที่ไม่ใช้ในการถอด-ประกอบกระปุกพวงมาลัยแบบธรรมดา
ก. คีมถอดสปริง ข. ค้อนพลาสติก
ค. ประแจกระบอก ง. ประแจหัวผ่า
52.
การถอดก้านต่อบังคับเลี้ยวและลูกหมากที่ถูกต้อง ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก. ใช้ค้อนตีข้างรูแกนลูกหมาก
ข. ใช้ค้อนตีที่ปลายแกนลูกหมาก
ค. ใช้ค้อนตีที่ก้านต่อบังคับเลี้ยว
ง. ใช้ค้อนและส้อมตอกลูกหมาก
53.
มุมแคมเบอร์ล้อหน้ารถยนต์มีลักษณะอย่างไร
ก. เส้นแนวล้อหน้าเอียงไปหน้าหรือหลังเมื่อมองจากด้านขวา
ข. เส้นแนวล้อหน้าเอียงเข้าหรือออกจากแนวดิ่งเมื่อมองจากหน้ารถ
ค. ลักษณะคล้ายกับการเอนของตะเกียบล้อหน้าจักรยาน
ง. ระยะห่างระหว่างล้อหน้าสั้นกว่าระยะห่างระหว่างล้อหลัง
54.
ลูกยางแม่ปั๊มเบรกชำรุดจะสังเกตุได้อย่างไร
ก. ขณะเบรกรถยนต์ดึงซ้าย-ขวา
ข. ขณะเบรกมีเสียงดัง
ค. เหยียบคันเบรกได้ คันเบรกค่อย
ๆ ยุบตัว
ง.ขณะเหยียบเบรกคันเบรกยุบตัวทันที
55.
ขั้นตอนไดที่ต้องกระทำก่อนถอดประกอบเบรกที่ล้อเมื่อถอดดรัมเบรกแล้ว
ก. ถอดนอตยึดกระบอกเบรก
ข. ถอดนอตหัวแป๊มเบรก
ค. ถอดผ้าเบรก
ง. ถอดสปริงเบรก
56.
ขั้นตอนไดที่ต้องกระทำก่อนประกอบกระบอกเบรกเข้ากับแผงเบรกแบบดรัมเบรก
ก. เติมน้ำมันเบรกเข้าในกระบอกเบรก
ข. หล่อลื่นจุดสัมผัสด้านเบรกกับแผงเบรคค
ค. คลายหัวไล่ลมของกระบอกเบรก
ง. ประกอบฝักดรัมเบรก
57.
แบตเตอรี่ทำหน้าที่ใดในระบบไฟฟ้ารถยนต์
ก. จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับมอเตอร์สตาร์ตขณะเริ่มสตาร์ตเครื่อง
ข. รักษากระแสไฟฟ้าของระบบไฟฟ้ารถยนต์ให้คงที่
ค. จ่ายกระแสไฟฟ้าเพิ่มให้แก่อัลเทอเนเตอร์
ง. แปลงพลังงานเคมีเป็นพลังงานของแบตเตอรี่
58.
วิธีการทำความสะอาดแบตเตอรี่ที่ไม่ถูกต้องคือ
ก. ใช้แปรงลวดทำความสะอาด
ข. ใช้แปรงจุ่มเบกิ้งโซดาผสมน้ำทำความสะอาด
ค. ทำความสะอาดด้วยน้ำมัน
ง. ใช้พัดลมเป่าให้แห้ง
59.
การประจุแบตเตอรี่แบบช้า กรณีที่แบตเตอรี่มากลูกจะนำมาต่อกันแบบใด
ก. แบบอนุกรม ข. แบบขนาน
ค. แบบผสม ง. ได้ทุกแบบ
60.
การทำงานของมอเตอร์สตาร์ตจะสิ้นสุดลงเมื่อใด
ก. เมื่อรถยนต์มีการเคลื่อนที่
ข. เมื่อคลัตช์ทางเดียวหยุดทำงาน
ค. เมื่อเครื่องยนต์ทำงานเองได้
ง. เมื่อเครื่องยนต์หยุดหมุน
61.
ระบบจุดระเบิดของเครื่องยนต์หน้าที่ใด
ก. จ่ายไฟแรงสูงไปยังหัวเทียน
ข. สร้างไฟแรงต่ำให้เกิดประกายไฟแรงสูงที่ห้องเผาไหม้
ค. ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำเพื่อเกิดแรงเคลื่อนไฟแรงสูง
ง. เกิดประกายไฟที่ห้องเผาไหม้
62.
อุปกรณ์ของจานจ่ายไฟแบบทองขาวข้อใดใช้จาระบีหล่อลื่น
ก. ลูกเบี้ยว
ข. เพลาจานจ่าย
ค. จุดหมุนตุ้มน้ำหนัก
ง. แผ่นจานลูกเบี้ยว
63.
การตรวจสอบระบบไฟประจุไม่ควรเร่งเครื่องยนต์ด้วยความเร็วรอบสูงขณะถอดขั้ว
"B"
เพราะเหตุใด
ก. ทำให้ไดโอดไหม้
ข. ทำให้ขดลวดรีเลย์ไหม
ค. ทำให้หน้าทองขาวของเร็กกูเลเตอร์ไหม้
ง. ทำให้แปรงถ่านไหม้
64.
ถ้าขดลวดรีเลย์เตือนไฟชาร์ทขาดหรือไหม้จะมีผลอย่างไร
ก. มีการประจุไฟมากเกินไป
ข. กระแสไฟในระบบตกคร่อม
ค. มีการประจุไฟน้อย
ง. แรงเคลื่อนจะต่ำ
65.
รีเลย์ควบคุมการเปิดและปิดไฟแสงสว่างในระบบไฟฟ้ารถยนต์แบบยกเปิดและลงปิดมีหน้าที่อะไร
ก. ควบคุมการทำงานของมอเตอร์ยกเปิดไฟหน้า
ข. ควบคุมการทำงานของสวิตช์จำกัดการทำงาน
ค. ควบคุมการทำงานของสวิตช์เปลี่ยนทิศทาง
ง. ควบคุมการทำงานของแผ่นลูกเบี้ยวมอเตอร์
66.
ถ้าหลอดไฟเลี้ยวขวาขาดหนึ่งหลอด การกระพริบของหลอดไฟเลี้ยวที่ใช้แฟลชเซอร์แบบเส้น
ขดลวดความร้อน เป็นอย่างไร
ก. หลอดไฟเลี้ยวกระพริบเหมือนเดิม
ข. หลอดไฟเลี้ยวข้างของกระพริบช้ากว่าด้านซ้าย
ค. หลอดไฟเลี้ยวทั้งสอบข้างกระพริบเร็วขึ้น
ง. หลอดไฟเลี้ยวข้างขวากระพริบเร็วกว่าด้านซ้าย
67.
การเปลี่ยนสายพานไทมิ่งต้องให้ความสำคัญกับเรื่องใดมากที่สุด
ก. องศาการจุดระเบิด
, เครื่องหมายบนเฟืองแต่ละเฟือง
ข. องศาการจุดระเบิด
, เครื่องหมายบนสายพาน
ค. ทิศทางการหมุนของเครื่อง
, เครื่องหมายบนเฟืองแต่ละเฟือง
ง. ทิศทางการหมุนของเครื่อง
, ลำดับจุดระเบิด
68.
อะไรคือเหตุผลในการห้ามเติมน้ำในหม้อน้ำขณะที่น้ำแห้ง และเครื่องยนต์ความร้อนสูง
ก. อาจทำให้หม้อน้ำแตกได้
ข. อาจทำให้เครื่องยนต์เย็นเร็วเกินไป
ค. น้ำจะเดือดพุ่งออกจากหม้อน้ำเป็นอันตราย
ง. จะทำให้เครื่องยนต์แตกร้าวได้
69.
เครื่องมือใด ใช้วัดความโตของกระบอกสูบ
ก. plastic gauge
ข. outside micrometer
ค. dial gauge
ง. bore gauge
70.
การวัดกำลังอัดเครื่องยนต์แบบเปียก ถ้ามีค่ากำลังอัดเพิ่มขึ้น เกิดจากสาเหตุใด
ก. ลิ้นรั่ว
ข. ฝาสูบโก่งงอ
ค. แหวนลูกสูบสึกหรอ
ง. ปะเก็นฝาสูบชำรุด
71.
เครื่องยนต์สภาพดี ใช้หัวเทียนถูกต้อง เขี้ยวหัวเทียนจะมีสีใด
ก. สีขาว ข. สีน้ำตาลอ่อน
ค. สีดำเปียก ง. สีดำแห้ง
72.
ลักษณะใดที่แสดงว่าปลอกนำลิ้นสึก
ก. ควันไอเสียมีสีขาว ข. ควันไอเสียมีสีดำ
ค. เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง
ง. สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
73.
การตรวจปรับระยะห่างลิ้นไอดี และไอเสียได้พร้อมกัน สูบนั้นต้องอยู่จังหวะใด
ก. ดูด ข. โอเวอร์แล๊บ
ค. ระเบิด ง. อัด
74.
เครื่องยนต์ 4 สูบ 4 จังหวะ
มีลำดับจุดระเบิด 1-3-4-2 เมื่อต้องการตั้งระยะห่างลิ้นของลูกสูบที่
3
จะต้องทำอย่างไร
ก. สูบที่ 1 อยู่ในจังหวะอัด
ข. สูบที่ 2 อยู่ในจังหวะอัด
ค. สูบที่ 1 อยู่ในจังหวะโอเวอร์แล๊ป
ง. สูบที่ 2 อยู่ในจังหวะโอเวอร์แล๊ป
1 3
5 7
2 4
6 8
75.
จากรูป ถ้า 1-2-3 ถึง 8 หมายถึงตำแหน่งของโบลท์ยึดฝาสูบในกรณีการถอดฝาสูบ
ควรคลายโบลท์
เรียงลำดับอย่างไร
ก. 1-2-3-4-5-6-7-8 ข. 1-2-7-8-3-4-5-6
ค. 1-2-3-7-8-6-4-2 ง.
5-6-4-3-7-8-1-2
76.
การขันยึดโบลท์ประกับเพลาลูกเลี้ยวแบบ OHC ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. จากชุดนอกสุดไปยังชุดในสุด
ครั้งเดียวให้ได้ตามค่ากำหนด
ข. จากชุดในสุดไปยังชุดนอกสุด
ครั้งเดียวให้ได้ตามค่ากำหนด
ค. จากชุดนอกสุดไปชุดในสุด
แบ่งการขันเป็น 3 ครั้ง ให้ได้ตามค่ากำหนด
ง. จากชุดในสุดไปยังชุดนอกสุด
แบ่งการขันเป็น 3 ครั้งให้ได้ตามค่ากำหนด
77.
ในการประกอบปั๊มหัวฉีดเข้ากับเครื่องยนต์ ต้องคำนึงถึงอะไรเป็นลำดับแรก
ก. ตำแหน่งของเฟือง
ข. ทิศทางการหมุนของเครื่องยนต์
ค. ลำดับการจุดระเบิด
ง. องศาการจุดระเบิด
78. ละอองน้ำมันดีเซลจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายอย่างไรมากที่สุด
ก. การระคายเคือง ข. ผิวหนังไหม้
ค. ระบบทางเดินหายใจ ง. ระบบประสาท
79. การขันหรือคลายนอตยึดข้อต่อท่อน้ำมันของหัวฉีดควรใช้เครื่องมือใด
ก. ประแจแหวนหัวผ่า ข. ประแจรวม
ค. ประแจปากตาย ง. ประแจโค้ง
80. การวัดความโก่งของฝาสูบ ใช้เครื่องมือใด
ก. ไดอัลเกจและฟิลเลอร์เกจ
ข. พลาสติกเกจและฟิลเลอร์เกจ
ค. เวอร์เนียและฟิลเลอร์เกจ
ง. บรรทัดเหล็กและฟิลเลอร์เกจ
81. การวัดขนาดลูกสูบที่ถูกต้องวัดในตำแหน่งใด
ก. หัวลูกสูบ
ข. แนวสลักก้านสูบ
ค. กลางลูกสูบ
ง. แนวชายกระโปรงลูกสูบ
82. เครื่องควบคุมความเร็วแบบลมของเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน เมื่อดับเครื่องการจ่ายน้ำมันอยู่ใน
ตำแหน่งใด
ก. เดินเบา ข. ตัดน้ำมัน
ค. เร่งสุด ง. กึ่งกลาง
83. กรองอากาศสกปรกการเผาไหม้ของเครื่องยนต์จะเป็นอย่างไร
ก. เผาไหม้ไม่หมดทำให้เกิดควันดำ
ข. เผาไหม้ไม่หมดทำให้เกิดควันขาว
ค. ที่รอบเดินเบาเครื่องยนต์จะสั่น
ง. ที่รอบเดินเบาเครื่องยนต์จะเร่งค้าง
84. แรงดันน้ำมันเปิดลิ้นหัวฉีดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชิ้นส่วนใด
ก. เข็มนมหนู ข. สปริงหัวฉีด
ค. แกนส่งเข็มหัวฉีด ง. ชุดเข็มหัวฉีด
85. การประกอบหัวฉีดเข้ากับเครื่องยนต์ทุกครั้งต้องทำอย่างไร
ก. หมุนเครื่องยนต์ให้ตรงตำแหน่งการฉีด
ข. ใช้หัวเป่าลมทำความสะอาดช่องหัวฉีดบนฝาสูง
ค. เปลี่ยนแหวนรองหัวฉีดทุกครั้ง
ง. เปลี่ยนไส้กรองที่ชุดหัวฉีดทุกครั้ง
86.
ปั๊มหัวฉีดแบบสูบเรียงชนิดตัวเรือนปั๊มปรับโยกได้ถ้าต้องการปรับองศาฉีดให้ล่วงหน้าจะทำ
อย่างไร
ก. โยกตัวเรือนปั๊มตามทางหมุนของแกนเพลาปั๊ม
ข. โยกตัวเรือนปั๊มทวนทางหมุนของแกนเพลาปั๊ม
ค. ปรับหน้าแปลนปั๊มด้านเรือนปั๊มให้ทวนทางหมุนของแกนเพลาปั๊ม
ง. ปรับหน้าแปลนปั๊มด้านเรือนปั๊มให้ตามทางหมุนของแกนเพลาปั๊ม
87. การเหนี่ยวนำแรงเคลื่อนจะเกิดขึ้นในขดลวดทุติยภูมิ
เมื่อใด
ก. เมื่อหน้าทองขาวเปิด ข. เมื่อเปิดสวิตซ์จุดระเบิด
ค. เมื่อหน้าทองขาวปิด ง. เมื่อหัวเทียนจุดประกายไฟ
88.
แรงดันของปั้มน้ำมันเชื้อเพลิงมีค่าประมาณเท่าใด
ก. 100 กก./ตร.ซม. ข. 150 กก./ตร.ซม.
ค. 200 กก./ตร.ซม. ง. 250 กก./ตร.ซม.
89.
การเริ่มต้นการฉีดของน้ำมันคือตำแหน่งใด
ก. เมื่อหัวลูกปั๊มปิดรูน้ำมัน ข. เมื่อลูกปั๊มขึ้นสูงสุด
ค. เมื่อหัวลูกปั๊มเปิดรูนํ้ามัน ง. เมื่อร่องบากลูกปั๊มเปิดรูน้ำมัน
90.
เครื่องยนต์ดีเซลรอบสูงจะใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีค่าซีเทนนัมเบอร์อยู่ประมาณเท่าใด
ก. 40 – 45 ข. 50 - 55
ค. 85 – 90 ง. 90 - 95
91.
การประกอบแหวนอัดลูกสูบทั้ง 3 ตัว ปากแหวนแต่ละตัวต้องเยื้องกันกี่องศา
ก. 90 องศา ข. 120 องศา
ค. 150 องศา ง. 180 องศา
92.
เมื่อเครื่องยนต์มีอาการขัดข้อง ควรปฏิบัติเช่นใดเป็นประการแรก
ก. ถอดแยกชิ้นส่วน ข. หาสาเหตุ
ค. ศึกษาคู่มือ ง. ลงมือแก้ไข
93.
การปรับส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศที่คาร์บูเรเตอร์มีวิธีการทำแบบใด
ก. หมุนสกรูปรับอากาศเข้าและคลายออก
หนึ่งรอบครึ่ง
ข. ติดเครื่องยนต์ปรับสกรูอากาศและเร่งเครื่อง
ค. ติดเครื่องยนต์อุ่นให้ได้อุณหภูมิการทำงานและปรับสกรูอากาศ
ง. หมุนสกรูปรับอากาศให้แน่นแล้วหมุนสกรูปรับลิ้นเร่ง
94.
จุดประสงค์หลักของกลไกลดแรงอัตโนมัติคืออะไร
ก. ควบคุมความเร็วเครื่องยนต์
ข. ดับเครื่องยนต์
ค. ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
ง. ลดกำลังในการหมุนเครื่องยนต์
95.การตรวจความถ่วงจำเพาะของน้ำยาแบตเตอรี่ใช้เครื่องมือใด
ก. Thermometer ข. Hydrometer
ค. Battery Tester ง. Hygrometer
96.
ชิ้นส่วนใดที่ทำความสะอาดด้วยปืนลม
ก. นมหนูคาร์บูเรเตอร์ ข. ฝาสูบ
ค. ไส้ในท่อไอเสีย ง. แหวนลูกสูบ
97.
การบำรุงรักษาประจำเดือน ถ้าคิดเป็นชั่วโมงใช้งานประมาณเท่าใด
ก. 50 ชั่วโมง ข. 100 ชั่วโมง
ค. 150 ชั่วโมง ง. 200 ชั่วโมง
98.
การตรวจสอบเครื่องก่อนการใช้งานคือการบำรุงรักษาตามระยะเวลาใด
ก. ประจำวัน ข. ประจำสัปดาห์
ค. ประจำเดือน ง. ประจำสามเดือน
99.
การเติมน้ำมันเครื่องควรปฏิบัติเช่นใด
ก. ให้ต่ำกว่าระดับ ข. ให้สูงกว่าระดับ
ค. ให้พอดีระดับ ง. สูงหรือต่ำกว่าก็ได้
100.
จักรยานยนต์ทั่วไป ระยะห่างลิ้นไอดีและลิ้นไอเสียเป็นเช่นใด
ก. ลิ้นไอเสียมากกว่า ข. ลิ้นไอดีมากกว่า
ค. เท่ากัน ง. แล้วแต่การออกแบบ
1 ข 21 ก 41 ข 61 ข 81 ง
2 ง 22 ข 42 ค 62 ก 82 ค
3 ค 23 ค 43 ง 63 ข 83 ก
4 ก 24 ง 44 ง 64 ก 84 ข
5 ค 25 ข 45 ค 65 ง 85 ค
6 ค 26 ง 46 ก 66 ง 86 ข
7 ข 27 ค 47 ข 67 ค 87 ก
8 ค 28 ก 48 ค 68 ง 88 ข
9 ก 29 ค 49 ก 69 ง 89 ก
10 ค 30 ข 50 ง 70 ค 90 ข
11 ก 31 ก 51 ง 71 ข 91 ข
12 ข 32 ก 52 ง 72 ก 92 ข
13 ค 33 ค 53 ข 73 ง 93 ค
14 ง 34 ข 54 ค 74 ง 94 ง
15 ก 35 ง 55 ข 75 ข 95 ข
16 ง 36 ก 56 ค 76 ง 96 ก
17 ง 37 ค 57 ก 77 ก 97 ข
18 ข 38 ก 58 ค 78 ค 98 ก
19 ก 39 ง 59 ข 79 ก 99 ค
20 ง 40 ง 60 ค 80 ง 100 ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น