นโยบายของ รมว.ศธ. และ รมช. ศธ.
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ แถลงนโยบาย แนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการจะเดินหน้าต่อไป โดยมีนโยบายสาคัญ ดังนี้
การน้อมนำแนวพระราชกระแสฯ ด้านการศึกษาของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มาปรับใช้กับนโยบายด้านการศึกษา
จากการที่ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่รัฐมนตรีนั้น กระทรวงศึกษาธิการจะได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษามาปรับใช้ โดยมีใจความสาคัญว่า "การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนใน 2 ด้าน คือ
1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้อง 2) การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานชีวิตหรืออุปนิสัยที่มั่นคงเข้มแข็ง อาทิ การสร้างบุคลิกและอุปนิสัยที่ดีงาม (Character of Education)"
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ : http://www.moe.go.th/websm/2016/dec/515.html
นโยบายอาชีวศึกษา
1. เน้นนโยบายส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษามีคุณสมบัติหรือทักษะที่สำคัญ คือ 3R และ 8C ได้แก่
3R คือ Reading - อ่านออก , (W) คือ Riting - เขียนได้, (A ) คือ Rithmatic - มีทักษะในการทำงาน
8C คือ
- Critical
Thinking and Problem Solving : มีทักษะในการคิดวิเคราะห์
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ไขปัญหาได้
- Creativity
and Innovation : คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม
- Collaboration
Teamwork and Leadership : ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม
และภาวะผู้นำ
- Communication
Information and Media Literacy : ทักษะในการสื่อสาร
และการรู้เท่าทันสื่อ
- Cross-cultural
Understanding : ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม
กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
- Computing
and ICT Literacy : ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์
และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี
ซึ่งเยาวชนในยุคปัจจุบันมีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอย่างมากหรือเป็น
Native Digital ส่วนคนรุ่นเก่าหรือผู้สูงอายุเปรียบเสมือนเป็น
Immigrant Digital แต่เราต้องไม่อายที่จะเรียนรู้แม้ว่าจะสูงอายุแล้วก็ตาม
- Career
and Learning Skills : ทักษะทางอาชีพ และการเรียนรู้
- Compassion
: มีคุณธรรม มีเมตตา กรุณา มีระเบียบวินัย
ซึ่งเป็นคุณลักษณะพื้นฐานสำคัญของทักษะขั้นต้นทั้งหมด
และเป็นคุณลักษณะที่เด็กไทยจำเป็นต้องมี
ทั้งนี้ คุณสมบัติ 3R และ 8C อาจจะดูเป็นนามธรรม
แต่ก็สามารถนำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินการได้
โดยขอให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาจัดทำหลักสูตรหรือสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เน้นให้นักเรียนนักศึกษามีคุณสมบัติหรือทักษะดังกล่าวด้วย
2. เน้นนโยบายสำคัญของการอาชีวศึกษา
- Competitive Workforce
- Dual System
- Dual Education
- Dual Degree
3. ร่วมขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ
- ยกระดับทักษะภาษาอังกฤษ
- ICT เพื่อการศึกษา
- ดูแลเด็กออกนอกระบบกลางคัน
4. นโยบายเร่งด่วนเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพศักยภาพกำลังคนอาชีวศึกษา
รูปแบบการฝึกอบรมระยะสั้นฐานสมรรถนะ ( Vocational Boot Camp )
- อุตสาหกรรมเดิม ( First S- Curve )
- อุตสาหกรรมใหม่ ( New S -Curve ) เช่น รถไฟความเร็วสูง พลังงานแห่งอนาคต สมาร์ทฟอร์มเมอร์ ฯลฯ
และสาขาอาชีพที่เป็นที่ต้องการของของท้องถิ่นและผู้ประกอบการรายย่อย ( SMEs )
ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่มนักเรียนนักศึกษา ปวช. 3 และ ปวส. 2
2) กลุ่มประชาชนทั่วไป เช่นผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ผู้ว่างงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ
กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสำคัญที่จะส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาการอาชีวศึกษาในโครงการต่างๆ ดังนี้
1) โครงการสานพลังประชารัฐด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ (Competitive Workforce)
ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาชีวศึกษาโดยตรง ในขณะนี้มีภารกิจเร่งด่วน (Quick Win) 4 เรื่อง คือ
- Re-branding เพื่อจูงใจให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเห็นความสำคัญของการเรียนอาชีวศึกษาและสนใจเรียนอาชีวศึกษามากขึ้น
- Excellence Model School กำหนดความหมายและขอบเขตของสถานศึกษาต้นแบบที่ดีด้านอาชีวศึกษา - Database (Demand and Supply) จัดทำฐานข้อมูลความต้องการกำลังคนของภาคอุตสาหกรรม และปริมาณการผลิตกำลังคนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
เพื่อประโยชน์ในการวางแผนผลิตกำลังคนล่วงหน้าให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนภาคอุตสาหกรรม
โดยคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้
- Standard and Certification Center จัดทำและหาทางเลือกที่เหมาะสมร่วมกันในการสร้างมาตรฐานวิชาชีพอาชีวศึกษาให้เป็นที่ยอมรับ
และนำไปใช้อย่างทั่วถึงทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมทั้งส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพอาชีวศึกษาให้เป็นบรรทัดฐานในการจ่ายค่าตอบแทน
ที่สอดคล้องกับความสามารถของแรงงาน
2) ทวิภาคี (Dual System) สอศ.ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีกับสาธารณรัฐออสเตรีย
ซึ่งเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านอาชีวศึกษาทวิภาคีอย่างมาก ทำให้ทราบว่าการจัดการอาชีวศึกษาของไทยได้เดินมาถูกทางแล้วจากนี้ไปจะเดินหน้าอย่างเต็มที่ในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาในระบบทวิภาคี
3) ทวิศึกษา ( Dual Education ) หรือโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษา และมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาแก่ประชาชนวัยเรียนและวัยทำงาน และเพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายไปสู่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในการเข้าสู่หลักสูตรอาชีวศึกษา
โดยขอให้ สอศ. เข้าไปประชาสัมพันธ์การศึกษาต่อด้านอาชีวศึกษาในโรงเรียน
และให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการพัฒนาการเรียนการสอนอาชีวศึกษาในโรงเรียนให้มีคุณภาพ
4) ทวิวุฒิ (Dual Degree) คือ
การจับคู่สถาบันอาชีวศึกษาไทยกับสถาบันอาชีวศึกษาต่างประเทศ
โดยจัดทำวุฒิการศึกษาร่วมกัน ดังเช่นก่อนหน้านี้ที่ สอศ. ได้จัดทำทวิวุฒิกับสาธารณรัฐเกาหลี ในสาขาที่สาธารณรัฐเกาหลีมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ
อาทิ การท่องเที่ยว เทคโนโลยีความงาม และเทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อนักศึกษาสำเร็จหลักสูตรจะได้รับวุฒิการศึกษา 2 ใบ
จากทั้งสองประเทศ หรือเรียกว่า ทวิวุฒิ
5) โครงการฝึกอบรมระยะสั้นฐานสมรรถนะ ภายใต้ 9 ประเภทวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรอาชีวศึกษา
โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 หลักสูตรที่สอดคล้องกับ Growth Engine ( First S-Curve , New S- Curve, Thailand 4.0 Super Cluster)
จำนวน 550 หลักสูตร เช่นการตรวจสอบรอยร้าว ( ช่างอากาศยาน ) พนักงานขับรถบรรทุกสินค้า ช่างซ่อมบำรุงแมคคาทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมการผลิต , ตรวจสอบแบบไม่ทำลาย, ขนส่งระบบราง, รถไฟความเร็วสูง พลังงาน , สมาร์ทฟาร์มเมอร์ มีผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรม 20,933 คน
กลุ่มที่ 2 หลักสูตรตามความต้องการส่วนท้องถิ่น ( Local Needs , SMEs ) จำนวน 2,160 หลักสูตร มีผู้สมัครเข้าร่วมฝึกอบรม 61,206 คน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น