วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปสาระสำคัญของนโยบายกระทรวง ศธ.และ สอศ.




นโยบายของ รมว.ศธ. และ รมช. ศธ.
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ แถลงนโยบาย  แนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการจะเดินหน้าต่อไป โดยมีนโยบายสาคัญ ดังนี้
การน้อมนำแนวพระราชกระแสฯ     ด้านการศึกษาของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มาปรับใช้กับนโยบายด้านการศึกษา
จากการที่ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลี  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่รัฐมนตรีนั้น          กระทรวงศึกษาธิการจะได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษามาปรับใช้ โดยมีใจความสาคัญว่า "การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนใน 2 ด้าน คือ
1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้อง 2) การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานชีวิตหรืออุปนิสัยที่มั่นคงเข้มแข็ง อาทิ การสร้างบุคลิกและอุปนิสัยที่ดีงาม (Character of Education)"
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ : http://www.moe.go.th/websm/2016/dec/515.html

 นโยบายอาชีวศึกษา 
  1. เน้นนโยบายส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษามีคุณสมบัติหรือทักษะที่สำคัญ คือ  3R และ  8C ได้แก่
      3R   คือ Reading - อ่านออก ,   (W) คือ Riting - เขียนได้, (A )  คือ Rithmatic - มีทักษะในการทำงาน      
      8C  คือ
  •  Critical Thinking and Problem Solving : มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ไขปัญหาได้
  •  Creativity and Innovation : คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม
  •  Collaboration Teamwork and Leadership : ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
  •  Communication Information and Media Literacy : ทักษะในการสื่อสาร และการรู้เท่าทันสื่อ
  •  Cross-cultural Understanding : ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
  •  Computing and ICT Literacy : ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี ซึ่งเยาวชนในยุคปัจจุบันมีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอย่างมากหรือเป็น Native Digital ส่วนคนรุ่นเก่าหรือผู้สูงอายุเปรียบเสมือนเป็น Immigrant Digital แต่เราต้องไม่อายที่จะเรียนรู้แม้ว่าจะสูงอายุแล้วก็ตาม
  •  Career and Learning Skills : ทักษะทางอาชีพ และการเรียนรู้
  •  Compassion : มีคุณธรรม มีเมตตา กรุณา มีระเบียบวินัย ซึ่งเป็นคุณลักษณะพื้นฐานสำคัญของทักษะขั้นต้นทั้งหมด และเป็นคุณลักษณะที่เด็กไทยจำเป็นต้องมี
ทั้งนี้ คุณสมบัติ 3R และ 8C อาจจะดูเป็นนามธรรม แต่ก็สามารถนำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินการได้ โดยขอให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาจัดทำหลักสูตรหรือสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เน้นให้นักเรียนนักศึกษามีคุณสมบัติหรือทักษะดังกล่าวด้วย
  2. เน้นนโยบายสำคัญของการอาชีวศึกษา
        - Competitive Workforce
        - Dual System
        - Dual  Education
        - Dual  Degree
 3. ร่วมขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ
        - ยกระดับทักษะภาษาอังกฤษ
        - ICT เพื่อการศึกษา
        - ดูแลเด็กออกนอกระบบกลางคัน
4. นโยบายเร่งด่วนเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพศักยภาพกำลังคนอาชีวศึกษา
    รูปแบบการฝึกอบรมระยะสั้นฐานสมรรถนะ ( Vocational  Boot  Camp )
           - อุตสาหกรรมเดิม ( First S- Curve )
           - อุตสาหกรรมใหม่ ( New S -Curve )  เช่น รถไฟความเร็วสูง พลังงานแห่งอนาคต  สมาร์ทฟอร์มเมอร์ ฯลฯ
      และสาขาอาชีพที่เป็นที่ต้องการของของท้องถิ่นและผู้ประกอบการรายย่อย ( SMEs )
     ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 2  กลุ่ม  ได้แก่
             1) กลุ่มนักเรียนนักศึกษา ปวช. 3 และ ปวส. 2
             2) กลุ่มประชาชนทั่วไป เช่นผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ผู้ว่างงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ


แนวทางนโยบายที่สำคัญของการอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสำคัญที่จะส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการอาชีวศึกษาในโครงการต่างๆ ดังนี้
   1) โครงการสานพลังประชารัฐด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ (Competitive Workforce)    ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาชีวศึกษาโดยตรง ในขณะนี้มีภารกิจเร่งด่วน (Quick Win)  4 เรื่อง  คือ
      - Re-branding เพื่อจูงใจให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเห็นความสำคัญของการเรียนอาชีวศึกษาและสนใจเรียนอาชีวศึกษามากขึ้น
      Excellence Model School กำหนดความหมายและขอบเขตของสถานศึกษาต้นแบบที่ดีด้านอาชีวศึกษา                     - Database  (Demand and Supply) จัดทำฐานข้อมูลความต้องการกำลังคนของภาคอุตสาหกรรม      และปริมาณการผลิตกำลังคนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เพื่อประโยชน์ในการวางแผนผลิตกำลังคนล่วงหน้าให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนภาคอุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้
      Standard and Certification Center    จัดทำและหาทางเลือกที่เหมาะสมร่วมกันในการสร้างมาตรฐานวิชาชีพอาชีวศึกษาให้เป็นที่ยอมรับ และนำไปใช้อย่างทั่วถึงทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมทั้งส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพอาชีวศึกษาให้เป็นบรรทัดฐานในการจ่ายค่าตอบแทน ที่สอดคล้องกับความสามารถของแรงงาน
   2) ทวิภาคี (Dual System) สอศ.ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีกับสาธารณรัฐออสเตรีย ซึ่งเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านอาชีวศึกษาทวิภาคีอย่างมาก       ทำให้ทราบว่าการจัดการอาชีวศึกษาของไทยได้เดินมาถูกทางแล้วจากนี้ไปจะเดินหน้าอย่างเต็มที่ในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาในระบบทวิภาคี
   3) ทวิศึกษา  ( Dual Education )   หรือโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษา  และมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาแก่ประชาชนวัยเรียนและวัยทำงาน        และเพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายไปสู่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในการเข้าสู่หลักสูตรอาชีวศึกษา โดยขอให้ สอศ. เข้าไปประชาสัมพันธ์การศึกษาต่อด้านอาชีวศึกษาในโรงเรียน และให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการพัฒนาการเรียนการสอนอาชีวศึกษาในโรงเรียนให้มีคุณภาพ
   4) ทวิวุฒิ (Dual Degree) คือ การจับคู่สถาบันอาชีวศึกษาไทยกับสถาบันอาชีวศึกษาต่างประเทศ โดยจัดทำวุฒิการศึกษาร่วมกัน ดังเช่นก่อนหน้านี้ที่ สอศ.   ได้จัดทำทวิวุฒิกับสาธารณรัฐเกาหลี   ในสาขาที่สาธารณรัฐเกาหลีมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ อาทิ การท่องเที่ยว เทคโนโลยีความงาม และเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อนักศึกษาสำเร็จหลักสูตรจะได้รับวุฒิการศึกษา 2 ใบ จากทั้งสองประเทศ หรือเรียกว่า ทวิวุฒิ
  5) โครงการฝึกอบรมระยะสั้นฐานสมรรถนะ  ภายใต้ 9 ประเภทวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรอาชีวศึกษา
       โดยแบ่งออกเป็น 2  กลุ่ม 
        กลุ่มที่ 1 หลักสูตรที่สอดคล้องกับ Growth Engine ( First S-Curve , New S- Curve, Thailand 4.0 Super Cluster)
                       จำนวน 550 หลักสูตร  เช่นการตรวจสอบรอยร้าว ( ช่างอากาศยาน ) พนักงานขับรถบรรทุกสินค้า ช่างซ่อมบำรุงแมคคาทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมการผลิต , ตรวจสอบแบบไม่ทำลาย, ขนส่งระบบราง, รถไฟความเร็วสูง  พลังงาน , สมาร์ทฟาร์มเมอร์ มีผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรม  20,933 คน
        กลุ่มที่ 2  หลักสูตรตามความต้องการส่วนท้องถิ่น ( Local Needs , SMEs ) จำนวน 2,160 หลักสูตร มีผู้สมัครเข้าร่วมฝึกอบรม  61,206 คน
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น