วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563

#แนวข้อสอบครูผู้ช่วยทุกสังกัด ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี พร้อมคำอธิบาย

 #แนวข้อสอบครูผู้ช่วยทุกสังกัด ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี  พร้อมคำอธิบาย


                                                                                         

1. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามมาตรา 3/1 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วน

ราชการต้องคำนึงถึงเรื่องใดมากที่สุด

ก.การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า         

ข.การวางแผนการปฎิบัติงาน

ค.ความรับผิดชอบของผู้ปฎิบัติงาน

ง.ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ

แนวคิด   การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามมาตรา 3/1 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่น

ดินส่วนราชการต้องคำนึงถึงเรื่อง ความรับผิดชอบของผู้ปฎิบัติงาน

2. หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจัดทำแผน

บริหารราชการแผ่นิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในกี่วัน  

ก. 30  วัน                   ข. 45  วัน

ค. 90  วัน                   ง.120  วัน

แนวคิด      หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจัด

ทำแผนบริหารราชการแผ่นิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน  เก้าสิบวัน 

3. แผนบริหาร ราชการแผ่นดินที่หน่วยงานจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินมี

กำหนดระยะเวลากี่ปี 

ก. 3  ปี                       ข. 4  ปี

ค. 5  ปี                       ง. 6  ปี

แนวคิด    แผนบริหาร ราชการแผ่นดินที่หน่วยงานจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน

มีกำหนดระยะเวลา  สี่ปี 

4.พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534  แบ่งออกเป็นกี่ส่วน

ก. 3  ส่วน                  ข. 4  ส่วน

ค. 5  ส่วน                   ง. 6  ส่วน

นวคิด   การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแบ่งออกเป็น  3   ส่วนได้แก่  (1) การจัดระเบียบ

บริหารราชการส่วนกลาง  (2) การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค  (3) การจัดระเบียบ

บริหารราชการส่วนท้องถิ่น

5. หลักสำคัญในการบริหารราชการตามพ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินต้องเป็นไปตามข้อ

ใด

ก. เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

ข. เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจการเมือง

ค. เพื่อความมั่นคง  มั่งคั่ง  ยั่งยืน

ง. เพื่อพัฒนาประเทศให้ยั่งยืน

แนวคิด    หลักสำคัญในการบริหารราชการตามพ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินต้องเป็นไป

เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

6. หน่วยงานใดมีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการปฎิบัติตามพระราชกฤษฎีกา

ว่าด้วยหลักเกณฑ์บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ก. ก.พ.ร.                     ข. สตง.

ค. ก.พ.                        ง.  สนร.

แนวคิด   หน่วยงานที่มีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการปฎิบัติตามพระราช

กฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่  คณะกรรมการพัฒนาข้าราชการ

พลเรือน (ก.พ.ร.)

7. ใครเป็นผู้รักษาการพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ก. นายกรัฐมนตรี              ข. รมว. มหาดไทย

ค. ร.ม.ต.สนร.                    ง.  รมว.ยุติธรรม

แนวคิด   ผู้รักษาการพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  ได้แก่ นายก

รัฐมนตรี

8. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีได้แก่  การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมายตามข้อใดต่อไปนี้

ก. ศึกษาวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย 

ข. ไม่สนใจความต้องการของสังคม

ค. ข้าราชการมีความซื่อสัตย์สุจริต

ง.  ลดขั้นตอนการปฎิบัติงาน

แนวคิด  การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีได้แก่  การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย การไม่มี

ขั้นตอนการปฎิบัติงานเกินความจำเป็น

9. ใครคือผู้รักษาการตามพ.ร.บ. วิธีปฎิบัติราชการทางปกครองโดยตำแหน่ง พ.ศ. 2539

ก. นายกรัฐมนตรี          ข. ปลัดสนร.

ค. รมว.ยุติธรรม            ง. รมว.มหาดไทย

แนวคิด  ผู้รักษาการตามพ.ร.บ. วิธีปฎิบัติราชการทางปกครองโดยตำแหน่ง พ.ศ. 2539 ได้แก่ 

นายกรัฐมนตรี

10. ข้อใดต่อไปนี้คือผู้แต่งตั้ง ประธานกรรมการในคณะกรรมการวิธีปฎิบัติราชการปกครอง

ก. นายกรัฐมนตรี        ข. คณะรัฐมนตรี

ค. รัฐสภา                   ง. วุฒิสภา

แนวคิด  ผู้แต่งตั้ง ประธานกรรมการในคณะกรรมการวิธีปฎิบัติราชการปกครอง ได้แก่  รัฐสภา

11. ข้อใดต่อไปนี้  คือคณะกรรมการวิธีปฎิบัติราชการทางปกครองโดยตำแหน่ง

ก. เลขานุการรัฐมนตรี         ข. ปลัดกระทรวงมหาดไทย

ค. เลขาธิการ ค.ร.ม.            ง. เลขาธิการ ก.พ.

แนวคิด  คณะกรรมการวิธีปฎิบัติราชการทางปกครองโดยตำแหน่งได้แก่  เลขาธิการ ก.พ.

12. ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิธีปฎิบัติราชการทางด้านการปกครองถูกแต่งตั้งจากใคร

ก. นายกรัฐมนตรี             ข.คณะรัฐมนตรี

ค. วุฒิสภา                       ง. สภาผู้แทนราษฎร

แนวคิด    ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิธีปฎิบัติราชการทางด้านการปกครองถูกแต่งตั้งจาก

คณะรัฐมนตรี

13. การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองนั้นหมายถึงข้อ

ใด  

ก. กฎ                             

ข. คำสั่งทางปกครอง

ค. การพิจารณาทางปกครอง

ง. การปฎิราชการทางปกครอง

แนวคิด    การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองนั้นหมาย

ถึง  การพิจารณาทางปกครอง

14. ในกรณีที่มีการละเมิด  เกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคนมิให้นำหลักเรื่องใดต่อไปนี้ของประมวล

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ

ก. ค้ำประกัน             ข. ลูกหนี้ร่วม

ค. ภาระจำยอม         ง. ประนีประนอมยอมความ

แนวคิด  ในกรณีที่มีการละเมิด  เกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคนมิให้นำหลักเรื่องใดต่อไปนี้ของ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ กับ  ลูกหนี้ร่วม

15. ถ้าเกิดการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด หน่วยงานใดต่อไป

นี้ต้องรับผิดชอบ

ก. กระทรวงยุติธรรม      ข. กระทรวงมหาดไทย

ค. กระทรวงการคลัง       ง. สำนักนายกรัฐมนตรี

แนวคิด   ถ้าเกิดการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด กระทรวง

การคลัง ต้องรับผิดชอบ

16. เจ้าหน้าที่ตามข้อใดต่อไปนี้ที่ต้องรับผิดทางละเมิด หากตนเองได้กระทำ

ก. ลูกจ้าง             ข.พนักงาน

ค. ข้าราชการ      ง. ถูกทุกข้อ

แนวคิด   เจ้าหน้าที่ตามข้อใดต่อไปนี้ที่ต้องรับผิดทางละเมิด หากตนเองได้กระทำ(1) ลูกจ้าง (2)

พนักงาน  (3) ข้าราชการ

17. คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม มีชื่อย่อว่าอย่างไร

ก. ก.ม.จ.               ข. ก.ม.ท.

ค. ก.ห.ม.               ง. ก.ม.ธ.

แนวคิด   คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม มีชื่อย่อว่า  ก.ม.จ. 

18. ใครเป็นประธานคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม

ก. นายกรัฐมนตรี        ข. รมว.ยุติธรรม

ค.ประธานศาลฎีกา     ง. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

แนวคิด   ประธานคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ได้แก่ นายกรัฐมนตรี

19. ใครเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม 

ก.นายกรัฐมนตรี            ข. เลขาธิการก.พ.

ค.รองนายกรัฐมนตรี      ง. เลขาธิการศาลยุติธรรม

แนวคิด   กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ได้แก่ เลขาธิการคณะ

กรรมการข้าราชการพลเรือน (เลขาธิการ ก.พ.)

20. คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ม.จ. มีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี

ก. 30  ปี                        ข. 35  ปี

ค. 45 ปี                         ง.  50  ปี

แนวคิด  คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม มีอายุไม่

ต่ำกว่า  สี่สิบห้าปี



               

#แนวข้อสอบครูผู้ช่วยทุกสังกัด วิชาอุปมาอุปไมยพร้อมคำอธิบาย

 #แนวข้อสอบครูผู้ช่วยทุกสังกัด  วิชาอุปมาอุปไมยพร้อมคำอธิบาย

                                                                                              

รูปแบบความสัมพันธ์ของแนวข้อสอบอุปมาอุปไมย

*ความสัมพันธ์ด้านสถานที่  เน้นสถานที่หลักในการวิเคราะห์

ตัวอย่าง   เชียงใหม่ :  เหนือ  >  ขอนแก่น  :    ?

ก. ชายแดน    ข. กลาง   ค. อีสาน      ง. ใต้    จ. หนาว

แนวคิด   มีความสัมพันธ์กันในสถานที่  เพราะเชียงใหม่อยู่ภาคเหนือ และขอนแก่นอยู่ภาคอีสาน

*ความสัมพันธ์ด้านเหตุผล  มีสิ่งหนึ่งที่เป็นเหตุและทำให้เกิดผลอีกอย่างหนึ่ง

ตัวอย่าง     ขยัน  :   สำเร็จ  > ?  :  ?

ก. เกียจคร้าน :  ล้มเหลว               ข. เกียจคร้าน  :  โง่

ค. ความดี : ความดี  :  ความชั่ว      ง. ล้มเหลว : พ่ายแพ้

จ. ความดี : ความเก่ง

แนวคิด   มีความสัมพันธ์เชิงเหตุผล   เหตุ คือ ขยัน ผล  คือ  สำเร็จ ดังนั้น เหตุคือเกียจคร้านผลคือโง่

*ความสัมพันธ์ด้านส่วนใหญ่ต่อส่วนย่อย  หรือส่วนย่อยต่อส่วนใหญ่

ตัวอย่าง    อำเภอ : ตำบล    >    จังหวัด : ?

ก.ประเทศ      ข.อำเภอ      ค. หมู่บ้าน   ง.กิ่งอำเภอ     จ. ตำบล

แนวคิด   อำเภอเป็นส่วนใหญ่  ตำบลเป็นส่วนย่อยรองลงมา

 *ความสัมพันธ์ด้านความหมายของคำเป็นสื่อในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์

ตัวอย่าง  ดำ  :  ขาว   >   ?  :   ?

ก.กลางวัน :  ดวงอาทิตย์             ข. กลางคืน  :  ดวงจันทร์

ค. กลางวัน : ร้อน                          ง. กลางคืน  :  กลางวัน

จ. กลางวัน  :  เวลา

แนวคิด     ดำ  :  ขาว  มีความหมายตรงกันข้าม เหมือนกับ กลางคืน  ตรงข้ามกลางวัน


*ความสัมพันธ์ด้านหน้าที่ใช้หน้าที่เป็นโครงสร้างในการหาความสัมพันธ์

ตัวอย่าง  ครู  :  สอน   >   ทหาร  :   ?

ก. ควบคุม    ข.ปกครอง  ค.ยิงปืน    ง.ช่วยเหลือ   จ.ป้องกัน

แนวคิด    ใช้ความสัมพันธ์เชิงหน้าที่  คือครูมีหน้าที่สอน เหมือนกับ ทหารมีหน้าที่ป้องกันประเทศ

*ความสัมพันธ์ด้านคุณลักษณะใช้คุณลักษณะในการเป็นโครงสร้างในการหาความสัมพันธ์

ตัวอย่าง  ช้าง  :  แข็งแรง   >   เต่า  :   ?

ก. โบราณ   ข. เก่า     ค.เชื่องช้า     ง. อายุยืน    จ. โง่

แนวคิด   ช้างมีลักษณะแข็งแรงเหมือนกับเต่ามีลักษณะเชื่องช้า

*ความสัมพันธ์ด้านความต้องการใช้ความต้องการเป็นโครงสร้างในการหาความสัมพันธ์

ตัวอย่าง  คน  :  อาหาร   >   ?  :   ?

ก. ข้าว : รวง              ข. พืช :  น้ำ

ค. วัว   : เกวียน          ง. ปลา :  น้ำ

จ. ข้าว :   อาหาร

แนวคิด   คนต้องการอาหาร เหมือนพืช ต้องการน้ำ

*ความสัมพันธ์ด้านเวลาใช้เวลเป็นหลักในการหาความสัมพันธ์

ตัวอย่าง  กันยายน  : พฤศจิกายน   >   ชวด  :   ?

ก. ฉลู         ข. ขาล     ค.เถาะ     ง. มะโรง    จ. ระกา

แนวคิด   เดือนกันยายน ข้ามไป  1 เดือนเป็นเดือนพฤศจิกายน   เพราะฉนั้น ปีชวด ข้ามไป 1 ปีเป็น

ปีขาล






                    

#แนวข้อสอบครูผู้ช่วยทุกสังกัด วิชาภาษาไทย เรื่องการเขียนประโยคให้ถูกต้องตามหลักภาษาพร้อมคำอธิบาย

 #แนวข้อสอบครูผู้ช่วยทุกสังกัด วิชาภาษาไทย เรื่องการเขียนประโยคให้ถูกต้องตามหลักภาษาพร้อมคำอธิบาย

                                                                                           

1. พิจารณาเลือกประโยคที่เรียงคำถูกต้องและใช้คำรัดกุมถูกต้องตามความหมาย หรือหลักภาษา

ก.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงให้สร้างโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์

ข.การใช้เหรียญกษาปณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทำให้เกิดเศรษฐกิจแบบเงินตราขึ้น

เป็นครั้งแรกของประเทศ

ค. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงอักษรพิมพ์การเผยแพร่กระจายคำสั่ง

ออกสู่ประชาชนแทนการตีฆ้องร้องป่าว

ง. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้จัดพิมพ์หนังสือครุโณวาทเพื่อประโยชน์ในการลดช่อง

ว่างระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนให้น้อยลง

ตอบ  ข   การใช้เหรียญกษาปณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทำให้เกิดเศรษฐกิจแบบเงิน

ตราขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศ

ข้อ  ก. ใช้ราชาศัพท์ผิดตรงที่่ "ทรงให้"ต้องแก้เป็น  "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรด

เกล้าฯให้สร้างโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์"

ข้อ ค. ใช้คำผิดความหมายและฟุ่มเฟือยตรงที่  "แพร่กระจาย" แพร่ - กระจายออกไป ต้องแก้เป็น

  "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงอักษรพิมพ์เพื่อเผยแพร่คำสั่งออกสู่

ประชาชนแทนการตีฆ้องร้องป่าว"  เผยแพร่   =  โฆษณาให้แพร่หลาย  เช่นเผยแพร่ความรู้

ข้อ ง. ใช้กลุ่มคำฟุ่มเฟือยตรงที่ "เพื่อประโยชน์ในการลดช่องว่าง" ใช้คำฟุ่มเฟือย  ต้องแก้เป็น "พระบาท

สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้จัดพิมพ์หนังสือครุโณวาทเพื่อลดช่องว่างระหว่างพระมหากษัตริย์กับ

ประชาชนให้น้อยลง"

2.พิจารณาเลือกประโยคที่เรียงคำถูกต้องและใช้คำรัดกุมถูกต้องตามความหมาย หรือหลักภาษา

ก. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้ก่อตั้งสถานีโทรเลขชั่วคราวขึ้น

ข. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้จัดตั้งกรมไปรษณีย์

ค. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้ขยับขยายสายโทรเลขติดต่อระหว่างกรุงเทพฯ

กับพระตะบอง

ง. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้ก่อสร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงและทดสอบ

ออกอากาศเป็นครั้งแรกที่สถานีศาลาแดง

ตอบ  ข    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้จัดตั้งกรมไปรษณีย์  ใช้คำถูกตาม

ความหมายและหลักภาษา   จัดตั้ง = ตั้งขึ้น  แต่งตั้งให้มั่นคง

ข้อ ก. ใช้คำผิดความหมายตรงที่  "ก่อตั้ง" ก่อตั้ง =  จัดตั้งขึ้น  ริเริ่มขึ้น  ต้องแก้เป็น  "พระบาทสมเด็จพระ

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้ก่อสร้างสถานีโทรเลขชั่วคราวขึ้น" ก่อสร้าง = ก่อและสร้างโดยใช้

อิฐและปูนเป็นส่วนใหญ่

ข้อ ค ใช้คำผิดความหมายตรงที่  "ขยับขยาย" ขยับขยาย = แก้ไขให้คลายความลำบาก  ต้องแก้เป็น

"พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้ขยายสายโทรเลขติดต่อระหว่างกรุงเทพฯ

กับพระตะบอง"

ข้อ  ง. ใช้คำผิดความหมายตรงที่ "ทดสอบ" ทดสอบ = ตรวจสอบเพื่อความถูกต้อง  ต้องแก้เป็น "พระบาท

สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้ก่อสร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงและทดลองออกอากาศ

เป็นครั้งแรกที่สถานีศาลาแดง

3. พิจารณาเลือกประโยคที่เรียงคำถูกต้องและใช้คำได้รัดกุมถูกต้องตามความหมายหรือหลัก

ภาษา

ก.กลุ่มประเทศอาเซียนสนับสนุนมติของสหประชาชาติ

ข.คู่ความสามารถยื่นคำร้องหรือคัดค้านกับศาล

ค.ปัญหาอาชญากรรมต้องแก้จากหลักนิติศาสตร์

ง.กระบวนการยุติธรรมจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ตอบ  ก.  กลุ่มประเทศอาเซียนสนับสนุนมติของสหประชาชาติ  ใช้คำถูกต้องตามความหมายและหลัก

ภาษา   มติ  =  ความเห็น  ความคิดเห็น เช่นที่ประชุมลงมติ,ข้อวินิจฉัยที่เสนอต่อที่ประชุม

ข้อ ข. ใช้คำเชื่อมบุพบท  "กับ"  ผิด  ต้องแก้เป็น "คู่ความสามารถยื่นคำร้องหรือคำคัดค้าน ต่อศาล"

ข้อ ค. ใช้คำเชื่อมบุพบท   "จาก" ผิดต้องแก้เป็น "ปัญหาอาชญากรรมต้องแก้ด้วยหลักนิติศาสตร์"

ข้อ ง. ใช้คำเชื่อมบุพบท "กับ" ผิดต้องแก้เป็น "กระบวนการยุติธรรมจะให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย"

4. พิจารณาเลือกประโยคที่เรียงคำถูกต้องและใช้คำได้รัดกุมถูกต้องตามความหมายหรือหลัก

ภาษา
 
ก. ปัญหาการจราจรเป็นปัญหาหลักในประเทศไทย

ข. ผ้ามัดหมี่เป็นผ้าชนิดหนึ่ง  ทอโดยเอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะๆตามลายแล้วย้อมสี

ค. ระบบสหกรณ์เป็นระบบเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยให้ชาวนาสามารถพึ่งตนเองได้

ง. เครื่องปั้นดินเผาปันเจียงเป็นเครื่องปั้นที่ได้รับชื่อเสียงมากของเชียงใหม่

ตอบ  ข ผ้ามัดหมี่เป็นผ้าชนิดหนึ่ง  ทอโดยเอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะๆตามลายแล้วย้อมสี ใช้คำ

ถูกตามความหมายและหลักภาษาแล้ว  เปลาะๆ = ระยะที่มัดหรือขอดไว้เป็นตอนๆแก้ปัญหาเป็นเปลาะๆ

ข้อ ก ใช้คำผิดความหมายตรงที่  "หลัก" หลัก =  เครื่องยึดเหนี่ยว เช่นมีธรรมะเป็นหลักในการดำรงชีวิต

ต้องแก้เป็น  "ปัญหาการจราจรเป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย" สำคัญ  =  เป็นพิเศษกว่าธรรมดา

ข้อ  ค. ใช้คำผิดหน้าที่ตรงที่คำว่า "ระบบสหกรณ์" "เอื้ออำนวย"  และ "พึ่ง" เอื้ออำนวย(เป็นคำวิเศษณ์)

 =ส่งเสริม เปิดโอกาส  พึ่ง = อาศัย ต้องแก้เป็น  "สหกรณ์เป็นระบบเศรษฐกิจที่จะเอื้อให้ชาวนาสามารถพึ่ง

พาตนเองได้"  เอื้อ (เป็นคำกริยา) = เห็นแก่   พึ่งพา  = อาศัยกัน

ข้อ  ง  ใช้คำผิดความหมายตรงที่  "สิ่งที่ได้รับชื่อเสียงมาก"  ต้องแก้เป็น  "เครื่องปั้นดินเผาปันเจียงเป็น

เครื่องปั้นที่มีชื่อเสียงมากของเชียงใหม่"

5. พิจารณาเลือกประโยคที่เรียงคำถูกต้องและใช้คำได้รัดกุมถูกต้องตามความหมายหรือหลัก

ภาษา

ก. การกวดขันแรงงานต่างด้าวมีผลต่ออุตสาหกรรมบางอย่างในประเทศ

ข. รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายการฟอกเงินเพื่อกักกันมิให้เงินที่ผิดกฎหมายข้าสู่ระบบการเงินที่ถูกกฎหมาย

ค. ข้าราชการเอื้อเฟื้อกับประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาค

ง. สุขาภิบาลเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขึ้นตรงกับกระทรวงมหาดไทย

ตอบ ก  การกวดขันแรงงานต่างด้าวมีผลต่ออุตสาหกรรมบางอย่างในประเทศ ใช้คำตามความหมายและ

หลักภาษาแล้ว

ข้อ  ข  ใช้กลุ่มคำผิดความหมายตรงที่ " กฎหมายการฟอกเงิน" และ  "  กักกัน "  กักกัน  =   การกำหนดเขต

ให้อยู่  วิธีการเพื่อความปลอดภัย ต้องแก้เป็น  "รัฐบาลประกาศใช้กฎหมายการฟอกเงินเพื่อป้องกันมิให้เงิน

ที่ผิดกฎหมายข้าสู่ระบบการเงินที่ถูกกฎหมาย" ป้องกัน =  กั้นไว้เพื่อต้านทานหรือคุ้มครอง

ข้อ  ค ใช้คำเชื่อม   "เอื้อเฟื้อกับ "  ผิด ต้องแก้เป็น "ข้าราชการต้องเอื้อเฟื้อต่อประชาชนทุกคนอย่างเสมอ

ภาค"

ข้อ ง  ใช้คำเชื่อม  "ขึ้นตรงกับ" ผิด  ต้องแก้เป็น "สุขาภิบาลเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขึ้นตรงต่อ

กระทรวงมหาดไทย"





 

 

   


วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

#แนวข้อสอบครูผู้ช่วยทุกสังกัด วิชาภาษาไทย เรื่อง การสรุปความและการตีความจากบทความสั้นพร้อมคำอธิบาย

 #แนวข้อสอบครูผู้ช่วยทุกสังกัด  วิชาภาษาไทย เรื่อง การสรุปความและการตีความจากบทความสั้น พร้อมคำอธิบาย


                                                                                            

1."มนุษย์ใช้สารเคมีฆ่าแมลงก่อผลให้เกิดการตายของสัตว์กินแมลง ทำให้แมลงที่ได้สารเคมีน้อย

ไม่ถึงกับตายมีโอกาสขยายพันธ์ที่ต้านสารเคมีมิได้ต่อไปและเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก่อให้เกิดผล

กระทบไปยังผู้ผลิตและผู้บริโภคอื่นๆ" ข้อใดสรุปความได้ถูกต้อง

ก.ปัจจัยทางกายภาพมีผลต่อสิ่งมีชีวิต

ข.สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศอาจถูกทำลายได้

ค.ภาวะสมดุลของระบบนิเวศอาจถูกทำลายได้

ง. มนุษย์เป็นผู้ทำลายภาวะสมดุลของระบบนิเวศ

ตอบ ง. มนุษย์เป็นผู้ทำลายภาวะสมดุลของระบบนิเวศ ดูจากข้อความ " มนุษย์ใช้สารเคมีฆ่าแมลง"และก่อ

ให้เกิดผลกระทบไปยังผู้ผลิตและผู้บริโภคอื่นๆ

ก. ปัจจัยทางกายภาพมีผลต่อสิ่งมีชีวิต  ผิด เพราะในข้อความไม่ได้กล่าวถึงปัจจัยทางกายภาพ

ข. สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศอาจถูกทำลายได้  ผิด เพราะในข้อความไม่ได้กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศถูก

ทำลาย แต่กล่าวว่าก่อให้เกิดผลกระทบ   ค. ภาวะสมดุลของระบบนิเวศถูกทำลายได้  ผิด คำตอบไม่

สมบูรณ์ต้องกล่าวถึงผู้กระทำคือ มนุษย์ด้วย

2. "ประชาธิปไตยของไทยขาดความมั่นคงและไม่สามารถพัฒนาได้ เพราะ คนไทยเป็นคนที่เกรง

อกเกรงใจ ยอมรับและเชื่อฟังผู้ที่เข้ามามีอำนาจทางการเมืองและขาดความสามารถในการ

ทำงานเป็นกลุ่ม"ข้อใดสรุปความได้ถูกต้อง

ก.ประชาธิปไตยของไทยไม่สมบูรณ์แบบเพราะประชาชนยังไม่เข้าใจเรื่องประชาธิปไตย

ข.ลักษณะของสังคมไทยเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย

ค.โครงสร้างทางสังคมเป็นปัจจัยพื้นฐานของการเป็นประชาธิปไตย

ง. อุดมการณ์ทางการเมิืองเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประชาธิปไตย

ตอบ  ข ลักษณะของสังคมไทยเป็นอุปสรรคตอการพัฒนาประชาธิปไตย   ดูจากข้อความจะเห็นว่า ลักษณะ

ของสังคมไทยเป็นคนที่มีความเกรงอกเกรงใจ ยอมรับและเชื่อฟังผู้ที่เข้ามามีอำนาจทางการเมืองและขาด

ความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม ผลที่เกิดขึ้นคือ ประชาธิปไตยของไทยขาดความมั่นคงและไม่

สามารถพัฒนาได้

ก. ประชาธิปไตยของไทยไม่สมบูรณ์แบบเพราะประชาชนยังไม่เข้าใจเรื่องประชาธิปไตย ผิด เพราะใน

ข้อความมิได้กล่าวถึงประชาชนประชาชนยังไม้เข้าใจเรื่องประชาธิปไตย

ค.โครงสร้างทางสังคมเป็นปัจจัยพื้นฐานของการเป็นประชาธิปไตย ผิด เพราะในข้อความไม่ได้กล่าวถึง

ประชาชนยังไม่เข้าใจเรื่องประชาธิปไตย

ง. อุดมการณ์ทางการเมิืองเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประชาธิปไตย ผิด เพราะในข้อความไม่ได้กล่าว

ถึงอุดมการณ์ทางการเมือง

3. "ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ความเสี่ยงของแผ่นดินไหว ได้ชี้ว่าประเทศไทยมิได้ปลอดภัยดังที่

เคยเชื่อกัน  แต่กลับมีความเสี่ยงในระดับปานกลางในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตก"ข้อใด

สรุปความได้ถูกต้อง

ก. โอกาสเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยมีค่อนข้างมาก

ข. แผ่นดินไหวมีโอกาสเกิดในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย

ค. ประเทศไทยไม่ปลอดภัยจากการเกิดแผ่นดินไหวอีกต่อไป

ง. ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวในระดับปานกลาง

ตอบ   ข. แผ่นดินไหวมีโอกาสเกิดในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย จากข้อความ

หลังคำว่า  " แต่ " ที่ว่า  "กลับมีความเสี่ยงในระดับปานกลางในบริเวณภาคเหนือแลtภาคตะวันตก"

ก. โอกาสเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยมีค่อนข้างมาก ผิด เพราะในข้อความบอกว่ามีความเสี่ยงในระดับ

ปานกลาง

ค.ประเทศไทยไม่ปลอดภัยจากการเกิดแผ่นดินไหวอีกต่อไป  ผิด เพราะในข้อความบอกเพียงว่า

ประเทศไทย มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว

ง.ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวในระดับปานกลาง ผิด  เพราะคำตอบบอกว่าบริเวณภาค

เหนือและภาคตะวันตกมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวในระดับปานกลางจึงจะถูกต้องมากกว่า

4. "เด็กหญิงก่อนวัยรุ่นและผู้ใหญ่  รวมทั้งหญิงมีครรภ์และหญิงให้นม บุตรต้องการแคลเซียมวัน

ละ  1,000-1,300 มิลลิกรัม ส่วนหญิงที่อยู่ในวัยหมดระดูต้องการแคลเซียมวันละ 1,500 มิลลิกรัม" 

ข้อความใดตีความได้ถูกต้อง

ก. ผู้หญิงต้องการแคลเซียมสูงกว่าผู้ชาย

ข. ผู้หญิงต้องการแคลเซียมสูงในวัยหมดฤดู

ค. แคลเซียมมีความสำคัญมากต่อหญิงทุกวัย

ง. ผู้หญิงก่อนวัยรุ่นต้องการแคลเซียมน้อยกว่าผู้ใหญ่

ตอบ  ข ผู้หญิงต้องการแคลเซียมสูงในวัยหมดฤดู  ดูจากข้อความจะเห็นว่าหญิงในวัยหมดฤดูต้องการ

แคลเซียมวันละ 1,500 มิลลิกรัมซึ่งสูงกว่าวัยอื่นๆที่ต้องการแคลเซียมวันละ  1,000 - 1,300 มิลลิกรัม

ก.ผู้หญิงต้องการแคลเซียมสูงกว่าผู้ชาย  ผิด เพราะในข้อความไม่ได้กล่าวถึงผู้ชาย  

ค.แคลเซียมมีความสำคัญมากต่อหญิงทุกวัย ผิด  เพราะในข้อความไม่ได้กล่าวถึงผู้หญิงวัยชรา

ง. ผู้หญิงก่อนวัยรุ่นต้องการแคลเซียมน้อยกว่าผู้ใหญ่ ผิด  เพราะในข้อความไม่ได้บอกว่าผู้หญิงก่อนวัยรุ่น

ต้องการแคลเซียมน้อยกว่าหรือมากกว่าผู้ใหญ่

5. "ผู้ลากมากดีประกอบคำว่า  ผู้   ลาก   มาก  และดี   คำว่าลากในที่นี้น่าจะมีความหมายว่า มากมี

คำว่าหลาก  ในเพลงชาน้อง  ซึ่งเป็นเพลงกล่อมเด็กของภาคใต้  มีความหมายว่ามาก  ฉะนั้นคำว่า

หลากน่าจะตรงกับคำว่าลาก  ในผู้ลากมากดี" ข้อความใดตีความได้ถูกต้อง

ก.ผู้ลากมากดีน่าจะหมายถึงผู้ที่มีความดีมาก   

ข.ผู้ลากมากดีในเพลงชาน้อง หมายถึงผู้ดี

ค. ผู้ลากมากดี น่าจะหมายถึงผู้ที่เกิดในตระกูลดี

ง. คำว่า หลากในเพลงชาน้องมาจากคำว่าลาก

ตอบ ก  ผู้ลากมากดีน่าจะหมายถึงผู้ที่มีความดีมาก   เมื่อคำว่า  ลาก =  มาก  ทำให้ข้อความ ผู้ลากมากดี=ผู้

ที่มีความดีมาก


 



#แนวข้อสอบครูผู้ชวยทุกสังกัด วิชาภาษาไทย เรียงลำดับข้อความพร้อมคำอธิบาย

 #แนวข้อสอบครูผู้ชวยทุกสังกัด  วิชาภาษาไทย เรียงลำดับข้อความพร้อมคำอธิบาย


                                                                                         

1.ข้อความใดควรอยู่ลำดับที่ 3

ก.ปัญหายเสพติดในโรงเรียนหรือในสถานศึกษา ครูอาจารย์ใช้วิธีแก้คล้ายๆกัน

ข.การแก้ปัญหาเช่นนี้เป็นการปัดสวะไปให้พ้นตัวเท่านั้นมิใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

ค.ส่วนใหญ่ก็ติดต่อผู้ปกครองหรือไม่ก็ต้องแจ้งตำรวจจับส่งสถานกักกันหรือสถานพินิจ

ง.บางโรงเรียนแก้ปัญหาโดยการไล่ออกไปหรือให้ผู้ปกครองมาลาออกแล้วไปเข้าโรงเรียนใหม่

ตอบ  ง  จัดเรียงลำดับข้อความได้ว่า   ก.-ค.-ง.-ข. ซึ่งเรียงลำดับได้ดังนี้

ก.ปัญหายาเสพติดในโรงเรียนหรือในสถานศึกษา ครูอาจารย์ใช้วิธีแก้คล้ายๆกัน ค.ส่วนใหญ่ก็

ติดต่อผู้ปกครองหรือไม่ก็ต้องแจ้งตำรวจจับส่งสถานกักกันหรือสถานพินิจ ง. บางโรงเรียนแก้

ปัญหาโดยการไล่ออกไป  หรือให้ผู้ปกครองมาลาออกแล้วไปเข้าโรงเรียนใหม่ ข. การแก้ปัญหา

เช่นนี้เป็นการปัดสวะไปให้พ้นตัวเท่านั้นมิใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน    

ข้อนี้เป็นเรื่องปัญหายาเสพติด   ให้นำปัญหายาเสพติด ในข้อ มาขึ้นประโยค จะใช้คำว่า "การแก้ปัญหา

เช่นนี้"ในข้อ ข.ขึ้นต้นไม่ได้เด็ดขาดเพราะถ้ามีคำว่า  "เช่นนี้  เช่นนั้น ดังกล่าว" ในข้อความใดก็ตามห้ามนำ

มาขึ้นต้น   ดังนั้นข้อ ก. ปัญหายาเสพติด จึงต้องนำมาขึ้นต้นเป็น ลำดับที่ 1

ตอนท้ายลำดับที่ 1 มีคำว่า "คล้ายๆกัน" แสดงว่ามีจำนวนมาก ต้องนำข้อความที่มีคำว่า  "ส่วนใหญ่" ในข้อ

ค.มาเป็น ลำดับที่ 2

ข้อแนะนำ  ตามหลักภาษาไทยแล้ว  "ส่วนใหญ่  ส่วนมาก จำนวนมาก ฯลฯ" จะนำขึ้นมาเรียงก่อน

 ดังนั้นข้อนี้ "ส่วนใหญ่" ในข้อ ค จึงมาก่อน "บางโรงเรียน" ที่อยู่ในข้อ ง  นั่นเอง

ส่วนลำดับสุดท้าย  หรือ ลำดับที่ 4 เป็นการสรุปถึงการแก้ปัญหาว่า"การแก้ปัญหาเช่นนี้เป็นการปัดสวะไป

ให้พ้นตัวเท่านั้น"

2. ข้อความใดควรอยู่ลำดับที่ 3

. และการป้องกันปราบปรามมิให้เกิดสงคราม

ข. เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์

ค. กำลังทหารพึงใช้เพื่อการรบหรือสงคราม

ง. และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ตอบ ค  จัดเรียงลำดับข้อความได้ว่า   ข. - ง.- ค. -  ก. ซึ่งเรียงลำดับได้ดังนี้

ข.เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ง. และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง

เป็นประมุข ค.กำลังทหารพึงใช้เพื่อการรบหรือสงคราม  . และการป้องกันปราบปรามมิให้เกิดสงคราม

ข้อนี้น่าสนใจเพราะอาจขึ้นต้นด้วยข้อ  ข. หรือ ข้อ ค. ก็ได้แต่ก็มาติดใจอยู่ตรง "กำลังทหารพึงใช้เพื่อ" 

ซึ่งใช้เป็นข้อแนะนำ  เลยนำมาขึ้นต้นประโยคไม่ได้  ทำให้เราต้องนำข้อ ข.เพื่อมาเป็น ลำดับที่ 1 แทน

ต่อมาให้เราสังเกตว่าท้ายข้อความข้อ ข. มีคำว่า "พระมหากษัตริย์" จึงต้องต่อเชื่อมด้วยข้อ ง. ซึ่งมีคำว่า 

"พระมหากษัตริย์" เช่นกัน คือ "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ข้อ ง. จึงขึ้นมาเป็นลำดับที่ 2 นั่นเอง

3. ข้อความใดควรอยู่ลำดับที่ 3

ก. กล่าวคือคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติ

ข. อันประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งและมาจากการแต่งตั้ง

ค. ซึ่งเรียกว่าสภาผู้แทนราษฎร

ง. ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา

ตอบ  ก  จัดเรียงลำดับข้อความได้ว่า   ง. - ข. - ก. - ค. ซึ่งเรียงลำดับได้ดังนี้

ง.ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา  ข. อันประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ

สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งและมาจากการแต่งตั้ง ก. กล่าวคือคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติ

ค.ซึ่งเรียกว่าสภาผู้แทนราษฎร

ข้อนี้ยาก  แต่อย่างไรก็ตามข้อ ง. ประเทศไทยขึ้นเป็นลำดับที่ 1 เพราะคำว่า"ประเทศไทย"เป็นคำนาม  ข้อ

แนะนำ ห้ามนำคำกริยา,   คำเชื่อม , " และ  กับ   ทั้ง....และ  ระหว่าง.....กับ   เช่น.....เป็นต้นหรือคำประพันธ

สรรพนาม  ที่    ซึ่ง    อัน  ขึ้นต้นประโยคเด็ดขาด

ตอนท้ายข้อ  มีคำว่า  "รัฐสภา"อยู่ด้วยจึงตามด้วยข้อข อันประกอบด้วย....ได้เลย เพราะมีคำว่า"อัน"อยู่

ด้านหน้าข้อความข้อ ข. สำหรับขยายคำนาม  "รัฐสภา" ในท้ายข้อความข้อ ง. เพราะในข้อ ค. มีข้อความ

ว่า "ซึ่งเรียกว่า "ซึ่ง" เป็นคำประพันธสรรพนามที่จะนำไปขยายคำว่า "สภานิติบัญญัติ" ในท้ายข้อ ก. จึงเป็น

ลำดับที่  3 และมาก่อนข้อ ค ซึ่งนำมาต่อเป็น ลำดับที่ 4  นั่นเอง

4. ข้อความใดควรอยู่ลำดับที่ 2

ก. และวงการตกแต่งสวนของไทย

ข. ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากธรรมรักษาปลูกและเลี้ยงง่าย

ค. ที่กำลังเป็นที่สนใจกันมากทั้งในวงการไม้ตัดดอก

ง. ธรรมรักษาหรือเฮลิโคเนียเป็นไม้ดอกเขตร้อนชนิดหนึ่ง

ตอบ ค.  จัดเรียงลำดับข้อความได้ว่า  ง. -  ค. - ก. - ข. ซึ่งเรียงลำดับดังนี้

ง. ธรรมรักษาหรือเฮลิโคเนียเป็นไม้ดอกเขตร้อนชนิดหนึ่ง ค.ที่กำลังเป็นที่สนใจกันมากทั้งในวงการไม้ตัด

ดอก ก.และวงการตกแต่งสวนของไทย ข. ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากธรรมรักษาปลูกและเลี้ยงง่าย  ข้อ งเป็นลำดับ

ที่ 1 เพราะคำว่า "ธรรมรักษา"เป็นที่สนใจ...." เพราะมีคำประพันธสรรพนาม "ที่" วางอยู่หน้าข้อความจึงใช้

เป็นส่วนขยายคำนาม "ธรรมรักษา" สรุปแล้วลำดับที่  2  คือข้อ ค นี่แหละ

                    

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2563

#แนวข้อสอบครูผู้ช่วยทุกสังกัด วิชาภาษาไทยการเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำเติมคำลงในช่องว่าง


#แนวข้อสอบครูผู้ช่วยทุกสังกัด     วิชาภาษาไทยการเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำเติมคำลงในช่องว่าง



                                                                                      

#แนวข้อสอบครูผู้ช่วยทุกสังกัด     วิชาภาษาไทยการเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำเติมคำลงในช่องว่าง

จงเติมคำลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

1."นักเรียนควรตั้ง............แน่วแน่ที่จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม" คำใดที่ควรเติมคำลงในช่อง

ว่าง                

ก.อุดมคติ                 ข.ปณิธาน

ค.หลักการ                ง.อุดมการณ์

ตอบ   ข. นักเรียนควรตั้ง   ปณิธาน   แน่วแน่ที่จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม

ปณิธาน  =  ตั้งใจอย่างแน่แน่น

ข้อ ก. อุดมคติ  = จินตนาการที่จะไปยังเป้าหมายของชีวิต

ข้อ ค. หลักการ = แนวทางการดำเนินเรื่องทั่วไป

ข้อ ง. อุดมการณ์ = อุดมคติที่จูงใจให้มนุษย์พยายามบรรลุถึง

2."เรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่........ภาพการใช้แรงงานเป็นวรรณกรรมที่มีค่ามาก"คำใดที่ควรเติมคำ

ลงในช่องว่าง

ก.เปิดเผย             ข.สะท้อน

ค.แสดง                ง.มองเห็น

ตอบ  ข  เรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่  สะท้อน  ภาพการใช้แรงงานเป็นวรรณกรรมที่มีค่ามาก

สะท้อน  = หมายถึงแสดงให้เห็นภาพหรือลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นวนิยาย สะท้อนภาพสังคม  

ละครสะท้อนภาพชีวิตจริง(จะต้องสะท้อนภาพชีวิตความเป็นอยู่)

ข้อ ก. =  เปิดเผย = ทำสิ่งที่ปกปิดอยู่ให้เผยออก  เผยให้รู้ เช่นเปิดเผย ความจริง  เปิดเผยความลับ  ตรงไป

ตรงมา  ไม่ปิดบัง

ข้อค. แสดง = ชี้แจง    อธิบาย   บอกข้อความให้รู้  เช่นแสดงธรรม  แสดงปาฐกฐา   ทำให้ปรากฎออกมา

ข้อ ง. มองเห็น  ใช้เป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน

3. " เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติได้จัดให้มี...........เกี่ยวกับการอนุรักษ์และการส่งเสริมภาษาไทย

อย่างกว้างขวางหลายหมู่คณะ  ณ  หอประชุมจุฬาฯ" คำที่ควรเติมลงในช่องว่างคือ ข้อใด

ก.อภิปราย                 ข.อธิบาย

ค.บรรยาย                  ง.สาธิต

ตอบ ก. เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติที่ได้จัดให้มีการ   อภิปราย  เกี่ยวกับการอนุรักษ์และการส่งเสริม

ภาษาไทยอย่างกว้างขวางหลายหมู่คณะ ณ หอประชุมจุฬา

อภิปราย  =  พูดชี้แจงแสดงความคิดเห็น

ข้อ  ข  อธิบาย  = ชี้แจง   ขยายความ

ข้อ  ค บรรยาย  =  ชี้แจงหรืออธิบายเรื่องให้ฟัง  เล่าเรื่อง

ข้อ  ง สาธิต = แสดงเป็นตัวอย่าง เช่น สาธิตการสอน การทำขนม  ที่แสดงเป็นตัวอย่าง เช่น แปลงสาธิต 

โรงเรียนสาธิต

4. พิจารณาตัวเลือกที่ถูกต้องเหมาะสมมาเติมคำลงในช่องว่าง  "เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงดำรง

ตำแหน่งจอมทัพไทย  ย่อมจะมีพระราชอำนาจในการที่มี............สั่งการแก่ทหารได้"

ก.พระราชดำริ         ข.พระราชดำรัส

ค.พระราชเสาวนีย์   ง.พระบรมราชโองการ

ตอบ ง.  เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ย่่อมจะมีพระราชอำนาจในการที่มี พระบรม

ราชโองการ สั่งการแก่ทหารได้

ข้อ  ก. พระราชดำริ = คิด (เป็นราชาศัพท์สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน)

ข้อ ข. พระราชดำรัส = พูด(เป็นราชาศัพท์สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน)

ข้อ ค  พระราชเสาวณีย์  = คำสั่งของพระราชินี

5. พิจารณาตัวเลือกที่ถูกต้องเหมาะสมมาเติมคำลงในช่องว่าง " กีฬาเป็น.......อย่างหนึ่งที่ประเทศ

อาจนำมาใช้ในการดำเนินนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ"

ก.วิธีการ               ข.เครื่องมือ

ค.รูปแบบ              ง.หลักการ

ตอบ ข กีฬาเป็น  เครื่องมือ  อย่างหนึ่งที่ประเทศอาจนำมาใช้ในการดำเนินนโยบายความสัมพันธ์ระหว่าง

ประเทศ

เครื่องมือ = สิ่งของสำหรับใช้ในการงานโดยปริยาย หมายถึง คน หรือ สิ่งที่ใช้ทำประโยชน์อย่างเครื่องมือ

เช่น  อย่าตกเป็นเครื่องมือของโจรผู้ร้าย 

ข้อ ก. วิธีการ  = วิธีปฎิบัติตามตามหลักการเป็นขั้นตอนอย่างมีระบบ เช่น วิธีการที่รัฐให้สวัสดิการแก่

ประชาชน

ข้อ ข. รูปแบบ = รูปที่กำหนดขึ้นเป็นหลักหรือแนวทางซึ่งเป็นที่ยอมรับ

ข้อ ง. หลักการ =  สาระสำคัญที่ยึดถือเป็นแนวปฎิบัติ เช่น คณะกรรมการลงมติ รับหลักการ ตามที่มีผู้เสนอ


ติวสรุปสอบครูผู้ช่วยทุกสังกัดหลักเกณฑ์ใหม่การสอบครูผู้ช่วย ที่สถาบันไดเอ็ด  จังหวัดมหาสารคามรับไม่เกิน 15  คน  วันเสาร์ - อาทิตย์ ที่  15-16   สิงหาคม  2563      สนใจติดต่อสอบถามและสมัครได้ที่สถาบันไดเอ็ดจังหวัดมหาสารคาม  โทร.043-721822,062-6109997,084-2616667 Email:pakdee277@gmail.com  ค่าติวท่านละ  1,200  บาท  

         



  


วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563

แนวข้อสอบครูผู้ช่วยทุกสังกัด การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลกและสังคมและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

 

)แนวข้อสอบการเปลี่ยนแปลงบริบทของโลกและสังคมและแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                                                       

( 1 )แนวข้อสอบการเปลี่ยนแปลงบริบทของโลกและสังคมและแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เลือกตอบแนวข้อสอบเพียงข้อเดียว

1.การเปลี่ยนแปลงกระแสโลกและบริบทโลกแบ่งออกเป็นกี่คลื่น

. 1  คลื่น                                 . 2  คลื่น

. 3  คลื่น                                 . 4   คลื่น

2. ข้อใดตรงกับความเปลี่ยนแปลงกระแสโลกและบริบทโลก

. ความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกและบริบทโลกด้านการเมือง

. ความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกและบริบทโลกด้านเศรษฐกิจ

. ความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกและบริบทโลกด้านสังคม

. ถูกทุกข้อ

3. ความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกและบริบทโลกด้านการเมือง แบ่งออกเป็นกี่ส่วน

. 1  ส่วน                                 . 2  ส่วน

. 3  ส่วน                                 . 4   ส่วน

4.  ข้อใดตรงกับความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกและบริบทโลกด้านการเมือง

. การเปลี่ยนแปลงภายในรัฐ       

. การเปลี่ยนแปลงข้ามพรมแดนรัฐ         

. การพัฒนาประเทศ

.  ถูกทั้งข้อกและข

5. ข้อใดมิใช่โลกาภิวัตน์ที่ทำให้กระแสประชาธิปไตยแผ่ขยายไปทั่วโลกทำให้เกิดแนวคิดใหม่ทางการเมืองที่สำคัญตรงกับข้อใด

. การเมืองสีเขียวหรือนิเวศวิทยา      

. เพศสตรีศึกษา

. คนชายขอบ

. การปฎิรูปภาษีอากร

6. ข้อใดมิใช่การเปลี่ยนแปลงกระแสโลกและบริบทโลกด้านเศรษฐกิจ

. การพัฒนาระหว่างประเทศ                      . การค้าระหว่างประเทศ

. การลงทุนระหว่างประเทศ                       . การไหลเวียนข้อมูลข่าวสาร

7. ข้อใดมิใช่การเปลี่ยนแปลงกระแสโลกและบริบทโลกด้านสังคมจากโลกาภิวัตน์ที่มาจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีคมนาคม

. การไหลเวียนข้อมูลข่าวสาร                                                                                                                 

. ความรู้สึกด้านค่านิยมร่วมกัน

. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ                                                                                        

. การเปลี่ยนแปลงการค้าระหว่างประเทศ

8. สาระสำคัญของลัทธิเสรีนิยมมุ่งเน้นหลักกี่ประการ

. 1  ประการ                              . 2  ประการ

. 3  ประการ                              . 4  ประการ

9. ข้อใดไม่ตรงกับสาระสำคัญของลัทธิเสรีนิยม

. เสรีภาพ                                  . ความไม่เสมอภาค

. อัตตานิยม                               . ความยืดหยุ่น

10. ข้อใดมิใช่การเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกและบริบทโลกโลกาภิวัตน์ด้านการเมืองภายในรัฐจากระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบธรรมนูญนิยม

. ประชามติ

. ประชาพิจารณ์

. การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

. การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมผู้สูงอายุ

11. ข้อใดมิใช่การเปลี่ยนแปลงกระแสโลกและบริบทโลกทางการเมืองภายนอกรัฐ

. ลัทธิเสรีนิยม

. การล่มสลายของโซเวียต

. การกำหนดสี่ทันสมัยของจีน

. การโจมตีตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ของอัลเคด้า

12. ผลกระทบที่เกิดขึ้นของการค้าระหว่างประเทศ  การเงินระหว่างประเทศ  การลงทุนระหว่างประเทศและความช่วยเหลือระหว่างประเทศเกิดการเปลี่ยนแปบงบริบทโลกด้านใด

. การเมือง                            .สังคม

.สิ่งแวดล้อม                         . เศรษฐกิจ

13. องค์การโลกที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างโลกมีตัวย่อเรียกว่าอะไร

.  WHO                                . WRO

.  WTO                                 . ITO

14. หลังจากการจัดตั้งองค์การค้าโลก   มีการดำเนินการตามลัทธิเสรีนิยมใหม่ของแนวคิดการค้าเสรี(Free Trade) เพื่อลดกำแพงภาษีการค้าระหว่างประเทศสมาชิกองค์การค้าระหว่างประเทศมีตัวย่อเรียกว่าอะไร

 .  WHO                                .WRO

.  WTO                                 . ITO

15. วิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในปี ค.. 2008  เรียกว่าอะไร

. วิกฤติต้มยำกุ้ง                    . วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์

. วิกฤติเอเชีย-แปซิฟิค          . วิกฤติอินโดจีน

16. วิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในเอเชียโดยเริ่มจากประเทศไทยในปี ค.. 2008  เรียกว่าอะไร

. วิกฤติต้มยำกุ้ง                    . วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์

. วิกฤติเอเชีย-แปซิฟิค          . วิกฤติอินโดจีน

17. การขยายตัวของเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เกิดการไหลเวียนข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศทั่วไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกและบริบทโลกด้านเศรษฐกิจ ด้านใด

. ด้านเศรษฐกิจ                     . ด้านสังคม

. ด้านการเมือง                      . ด้านสังคมนิยม

18. การที่คนรุ่นใหม่มีบุตรลดลงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผู้สูงอายุเรียกว่าอะไร

.  Global house  hold            . Gobal  Village

. World  Gobal                      . Aging   Society

19. การเปลี่ยนแปลงสังคมยุค  Generation  Y  ตรงกับข้อใด

. สังคมยึดมั่นขนบธรรมเนียมประเพณี  

.  สังคมยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ

.  สังคมยุคอินเตอร์เน็ต

   สังคมยุค  Digital และ Social Network

20. สังคมยุคช่วงวัยที่มีความหลากหลายทางเช่นในเรื่องเพศวิถี   การแพทย์   วิศวกรรม   วิทยาศาสตร์รวมเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเรียกว่าสังคมอะไร

. สังคมยุคเจน  B                      . สังคมยุคเจน  X

. สังคมยุคเจน  Y                      . สังคมยุคเจน  Z

21. การก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมระหว่างประเทศที่สำคัญคือความขัดแย้งทางการเมืองชาติ   ศาสนา  การค้ามนุษย์  อาชญากรรมข้ามชาติ  แรงงานข้ามชาติ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติเกิดเป็นวัฒนธรรมข้ามชาติเรียกว่าอะไร

. วัฒนธรรมประชานิยม            . วัฒนธรรมเสรีนิยม

. วัฒนธรรมสังคมนิยม              . วัฒนธรรมชนบท

22. ความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกและบริบทโลก ส่งผลต่อการกำเนิดการจัดการปกครองโลก ตัวแสดงการเมืองก่อให้เกิดองค์การหรือสถาบันหลักระหว่างประเทศระดับโลกที่สำคัญได้แก่ข้อใด

. องค์การสหประชาชาติ           

. ธนาคารโลก

. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

. องค์การอนามัยโลก

23. ข้อใดมิใช่โครงสร้างภายในองค์การหลักของสหประชาชาติ

. สำนักงานเลขาธิการ             . สมัชชาใหญ่

. คณะมนตรีความมั่นคง         . องค์การ  Unicef

24. องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติมีตัวย่อเรียกว่าอะไร

. NCTRD                              . FAO

.  WHO                                 . UNESCO

25. องค์การอนามัยโลกมีตัวย่อเรียกว่าอะไร

. NCTRD                              . FAO

.  WHO                                 . UNESCO

26.องค์กรการศึกษา  วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติมีตัวย่อเรียกว่าอะไร

. Unicef                                . FTA

. FAO                                   . UNESCO

27.กองทุนเพื่อเด็กที่มีบทบาทต่อสังคมแห่งสหประชาชาติมีตัวย่อเรียกว่าอะไร

. Unicef                                . FTA

. FAO                                   . UNESCO

28. เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งเพื่อสร้างสันติภาพในทางการเมืองและการทหารได้แก่ข้อใด

. การใช้อนุญาโตตุลาการ                                                                                                                              

. การตั้งกำแพงภาษี

. การปฎิบัติตามระบบความมั่นคงร่วม

. การปิดล้อม

29.จากข้อ   28   เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่สำคัญทางทหารเพื่อสร้างสันติภาพได้แก่ข้อใด

. การใช้อนุญาโตตุลาการ                                                                                                                              

. การตั้งกำแพงภาษี

. การปฎิบัติตามระบบความมั่นคงร่วม

. การปิดล้อม

30.เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่สำคัญทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างสันติภาพได้แก่ข้อใด                                    . การใช้อนุญาโตตุลาการ                                                                                                                             

. การตั้งกำแพงภาษ

. การปฎิบัติตามระบบความมั่นคงร่วม      

. การเจรจาเพื่อยุติปัญหา

31. ความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกและบริบทโลกจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่เป็นตัวแสดงที่สำคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดการปกครองโลกร่วมสมัยที่แบ่งตามโครงสร้างตัวแสดงระหว่างประเทศคือข้อใด

. องค์การระหว่างประเทศ                                                                                                                               

. การกำหนดนโยบายสาธารณะ

. การนำนโยบายสาธารณะไปปฎิบัติ

. ถูกทุกข้อ

32.การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงความหมายของการพัฒนาคือข้อใด

. พื้นฐานทางสายกลางและความไม่ประมาท

. ความพอประมาณ

. ความมีเหตุผล

. ถูกทุกข้อ

33. การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยให้คำนึงถึงอะไรข้อใดไม่ถูกต้อง

. พื้นฐานทางสายกลางและความไม่ประมาท

. ความพอประมาณ

. ความมีเหตุผล

. ถูกทุกข้อ

34. หลักแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีกี่ส่วน

. 3  ส่วน                               . 4  ส่วน

. 5  ส่วน                               . 6  ส่วน

35. ข้อความที่กล่าวว่า   เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฎิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยมุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของการพัฒนาเป็นส่วนใดของหลักแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

. คำนิยาม                                                                                                                                                           

. เงื่อนไข

. แนวปฎิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ                                                                                                                    

. กรอบแนวคิด

36. ข้อความที่กล่าวว่า   เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฎิบัติตนได้ทุกระดับโดยเน้นการปฎิบัติตามหลักทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนเป็นส่วนใดของหลักแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

. คำนิยาม                                                                                                                                                          

. คุณลักษณะ

ค.เงื่อนไข

. แนวปฎิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ

37. คำนิยาม  ความพอเพียงประกอบได้กี่ลักษณะ

. 1   ลักษณะ                          . 2   ลักษณะ

. 3   ลักษณะ                          .  4   ลักษณะ

38. ข้อใดมิใช่   คำนิยาม ความพอเพียง

. เงื่อนไข                               . ความพอประมาณ

.ความมีเหตุผล                      . การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

39. การผลิตและการบริโภค ที่อยู่ในระดับพอดีตรงกับข้อใด

. เงื่อนไข                               .ความพอประมาณ

.ความมีเหตุผล                      . การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

40. การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้นโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึง ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบข้อใดถูกต้อง

. เงื่อนไข                              .ความพอประมาณ

.ความมีเหตุผล                     . การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

41. การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกลตรงกับข้อใด

. เงื่อนไข                              .ความพอประมาณ

.ความมีเหตุผล                     . การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

42.การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานตรงกับข้อใด

. เงื่อนไข                              .ความพอประมาณ

.ความมีเหตุผล                     . การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

43.จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้คือการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมความรู้และเทคโนโลยีตรงกับข้อใด.คำนิยาม                                                                                                                                                           

. คุณลักษณะ

.เงื่อนไข

. แนวปฎิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ

44. ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริอาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงมีอยู่กี่แบบ

. 1   แบบ                              .  2  แบบ

. 3  แบบ                               .  4   แบบ

45.ทฤษฎีใหม่ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำต้องพึ่งพาน้ำฝนเนื่องจากน้ำไม่พอเพียงแม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อการบริโภคเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบใด

. แบบพื้นฐาน                      . แบบก้าวหน้า

. แบบขั้นที่  2                       . แบบขั้นที่ 3

46. ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้าจัดอยู่ในขั้นที่ปฎิบัติตามข้อใด

. ขั้นที่  2                               . ขั้นที่ 3

. ขั้นที่  4                               . ถูกทุกข้อ

47.การจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินในทฤษฎีใหม่ขั้นต้นให้แบ่งพื้นที่เป็นกี่ส่วน                                      

. 1  ส่วน                               . 2   ส่วน

. 3  ส่วน                               .  4  ส่วน

48.การจัดพื้นที่ตามอัตราส่วน  30  :  30  :  30  :  10   ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นพื้นที่อยู่และที่ทำกินพื้นที่ส่วนที่  1   หมายถึงข้อใด

. ให้ขุดสระเก็บกักน้ำในฤดูฝนและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้งตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ

. ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวเพียงพอตลอดปีเพื่อลดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้

. ให้ปลูกผลไม้ยืนต้น   พืชผัก   พืชไร่  พืชสมุนไพรเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันหากเหลือจากการบริโภคนำไปจำหน่าย

. เป็นที่อยู่อาศัย

49. การจัดพื้นที่ตามอัตราส่วน  30  :  30  :  30  :  10   ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินพื้นที่ส่วนที่  2   หมายถึงข้อใด

. ให้ขุดสระเก็บกักน้ำในฤดูฝนและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้งตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ

. ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวเพียงพอตลอดปีเพื่อลดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้

. ให้ปลูกผลไม้ยืนต้น   พืชผัก   พืชไร่  พืชสมุนไพรเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันหากเหลือจากการบริโภคนำไปจำหน่าย

. เป็นที่อยู่อาศัย

50. การจัดพื้นที่ตามอัตราส่วน  30  :  30  :  30  :  10   ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยแและที่ทำกินพื้นที่ส่วนที่  3  หมายถึงข้อใด

. ให้ขุดสระเก็บกักน้ำในฤดูฝนและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้งตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ

. ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวเพียงพอตลอดปีเพื่อลดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้

. ให้ปลูกผลไม้ยืนต้น   พืชผัก   พืชไร่  พืชสมุนไพรเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันหากเหลือจากการบริโภคนำไปจำหน่าย

. เป็นที่อยู่อาศัย

51. การจัดพื้นที่ตามอัตราส่วน  30  :  30  :  30  :  10   ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและและที่ทำกินพื้นที่ส่วนที่  4  หมายถึงข้อใด

. ให้ขุดสระเก็บกักน้ำในฤดูฝนและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้งตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ

. ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัวเพียงพอตลอดปีเพื่อลดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้

. ให้ปลูกผลไม้ยืนต้น   พืชผัก   พืชไร่  พืชสมุนไพรเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันหากเหลือจากการบริโภคนำไปจำหน่าย

. เป็นที่อยู่อาศัย

52.ทฤษฎีใหม่ขั้นที่  2 มีกี่ด้าน

.  4   ด้าน                               .  5    ด้าน

.  6   ด้าน                               .  7    ด้าน

53. ข้อใดตรงกับทฤษฎีใหม่ขั้นที่  2

. การผลิต                               . การตลาด

. สวัสดิการ                            . ถูกทุกข้อ

54. เมื่อมีผลผลิตแล้วจะต้องเตรียมการต่างๆเพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุดเช่น  การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน   การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว  เตรียมหาเครื่องสีข้าว   ตลอดจนรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดีและลดค่าใช้จ่ายลงด้วยอยู่ในด้านใด

. การผลิต                               . การตลาด

. สวัสดิการ                             .ถูกทุกข้อ

55. แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิภาพและบริการที่จำเป็นเช่นสถานีอนามัยเมื่อยามเจ็บป่วยหรือมีกองทุนไว้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆของชุมชนตรงกับข้อใด

. การศึกษา                              . สวัสดิการ

. การเป็นอยู่                            . การผลิต

56. เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรดำเนินการติดต่อประสานงานเพื่อจัดหาทุนหรือแหล่งเงิน   เช่นธนาคารหรือบริษัท ห้างร้านเอกชนมาช่วยในการลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ฝ่ายธนาคารหรือบริษัทเอกชนจะได้รับประโยชน์ร่วมกันอยู่ในขั้นตอนใด

. ขั้นตอนที่  1                           . ขั้นตอนที่  2

. ขั้นตอนที่  3                          . ขั้นตอนที่  4

57. ขนาดของพื้นที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณและคำนึงจากอัตราการถือครองเฉลี่ยครัวเรือนละกี่ไร่

. 10  ไร่                                    . 15 ไร่

. 20  ไร่                                    .  25 ไร่

58.ในพื้นที่ทั้ง  15   ไร่กำหนดพื้นที่ปลูกข้าวตามอัตราส่วนตามทฤษฎีใหม่กำหนดได้กี่ไร่

. 2 ไร่                                       . 3 ไร่

. 5 ไร่                                       . 7  ไร่

59. ในพื้นที่ทั้ง  15   ไร่กำหนดพื้นที่ขุดสระน้ำตามอัตราส่วนตามทฤษฎีใหม่กำหนดได้กี่ไร่

. 2 ไร่                                       . 3 ไร่

. 5 ไร่                                       . 7  ไร่

60. ในพื้นที่ทั้ง  15   ไร่กำหนดพื้นที่พืชไร่พืชสวนตามอัตราส่วนตามทฤษฎีใหม่กำหนดได้กี่ไร่

. 2 ไร่                                       . 3 ไร่

. 5 ไร่                                       . 7  ไร่

61. ในพื้นที่ทั้ง  15   ไร่กำหนดที่อยู่อาศัยตามอัตราส่วนตามทฤษฎีใหม่กำหนดได้กี่ไร่

. 2 ไร่                                      . 3 ไร่

. 5 ไร่                                      . 7  ไร่

62. “ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นข้อความนี้หมายถึงข้อใด

.  ความพอเพียง                      . ความมีเหตุผล

. ความพอประมาณ                . การมีภูมิคุ้มกันมี่ดี

63. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของเงื่อนไขคุณธรรม

. ซื่อสัตย์สุจริต                        . ตระหนักในคุณธรรม

. ไม่โลภและไม่ตระหนี่           . รอบรู้เกี่ยวกับวิชาการ

64. บุคคลใดไม่ได้ดำเนินชีวิตตามแนวคิดปรัชญาทางเศรษฐกิจพอเพียง

. มาลัยตั้งใจเรียนจนสอบได้ที่  1  ทุกปี

. ยิ่งยศเป็นคนทันสมัยสวมใส่เสื้อผ้าตามแฟชั่น

. ภักดีนำเงินที่เก็บได้ส่งตำรวจเพื่อตามหาเจ้าของ

. สุนัยเก็บเงินที่พ่อแม่ให้ไว้ส่วนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายยามจำเป็น

65. เศรษฐกิจพอเพียงเน้นเรื่องใดเป็นหลัก

. การพึ่งตนเอง

. การรวมกลุ่มของชาวบ้าน

. การช่วยเหลือกันในชุมชน

. การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่

66. ข้อใดคือผลที่คาดว่าจะได้รับจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้

. เป็นผู้นำทางเทคโนโลยี

. การค้ามีความเจริญก้าวหน้า

. การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน

. เศรษฐกิจของประเทศมีความมั่นคง

67. “เมื่อจะทำอะไรสุนทรมักคำนึงถึงผลที่คาดว่า จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ  จากข้อความนี้สุนทรมีคุณลักษณะตามข้อใด

. ความพอเพียง                      . ความมีเหตุผล

. ความพอประมาณ               .  การมีภูมิคุ้มกันที่ดี

68. ข้อใดกล่าวผิด

. ความพอเพียงประกอบด้วยความพอประมาณและความมีเหตุผล

. หลักความพอเพียงช่วยให้ผู้ปฎิบัติรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

. เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฎิบัติตนได้ในทุกระดับ

. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีแนวคิดมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย

69. ความพอดีทางด้านจิตใจตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมีลักษณะอย่างไร

.การเป็นผู้มีจิตใจดีมีความเมตตาต่อผู้อื่น

.การเป็นผู้รู้จักพอไม่โลภมากจนเกินไป

. การเป็นผู้ไม่คิดร้ายอาฆาตพยาบาทต่อผู้อื่น

. การมีจิตใจที่เข้มแข็ง ไม่อ่อนไหวไปกับสิ่งรอบข้าง

70. การผลิตสินค้าตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงควรใช้เทคโนโลยีในลักษณะใด

. ใช้เทคโนโลยีราคาแพงในต่างประเทศ

. ใช้เทคโนโลยีราคาถูก

. การใช้เทคโนโลยีจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

. การใช้เทคโนโลยีจากประเทศเพื่อนบ้าน

71.“ เมื่อจะทำอะไรสมจิตรมักจะคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ  จากข้อความนี้สมจิตรมีคุณลักษณะตามข้อใด

. ความพอเพียง                           . ความมีเหตุผล

. ความพอประมาณ                    .  การมีภูมิคุ้มกันตัวที่ดี

72. ปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ปฏิบัติในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมทางสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและยั่งยืน ข้อความนี้ตรงกับข้อใด                                                                        

. พอประมาณ                          . การมีเหตุผล                                                                                                   . การมีภูมิคุ้มกันที่ดี                   . ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง                                                                             

73. ข้อใดไม่ใช่ องค์ประกอบที่เป็นเงื่อนไข ด้านคุณธรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง                                                    

. ซื่อสัตย์สุจริต                           . ขยันอดออม                                                                                                             

. สติปัญญา                                 . อดออม                                                                                                            

74. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบที่เป็นเงื่อนไขด้านความรู้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง                                         . รอบรู้                                       . รอบคอบ                                                                                                                 . รอบด้าน                                  . ระมัดระวัง                                                                                                               

75. ข้อใดเป็นเงื่อนไขตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง                                                                                                       

. ความรู้                                       

. จริยธรรม                                                                                                                  

. คุณธรรม                                  

. ข้อ ก และข้อ ค                                                                                                              

 76. ความหมายใดไม่ถูกต้องตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง                                                                                           

. ความพอประมาณ หมายความถึงความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น                                                                                                                                                                    

ข. ความมีเหตุผล หมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับความระดับความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนี้อย่างรอบคอบ                                                                                                                                                

. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึงการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล                                                      . ความเพียง หมายถึง ความไม่พอดีที่น้อยเกินไปและมากเกินไป                                                             

77. คุณลักษณะของหลักเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้ในทุกระดับ  ยกเว้นการปฏิบัติในข้อใด                                                                                                                                                             

. ความพอประมาณ                                 . ความมีเหตุผ

. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี                                .  ทางสายกลาง

เฉลย

1.          2.          3.          4.          5.          6.          7.          8.          9.          10.

11.       12.        13.       14.       15.        16.        17.       18.       19.       20.

21.       22.        23.       24.       25.       26.       27.       28.       29.       30.

31.       32.       33.       34.       35.        36.       37.       38.       39.       40.      

41.       42.      43.        44.       45.       46.        47.        48.       49.       50.      

51.       52.        53.        54.       55.       56.       57.       58.       59.       60.      

61.      62.         63.        64.       65.       66.       67.       68.       69.       70.      

71.      72.      73.       74.       75.      76.       77.

ติวสรุปสอบครูผู้ช่วยทุกสังกัดหลักเกณฑ์ใหม่การสอบครูผู้ช่วย ที่สถาบันไดเอ็ด  จังหวัดมหาสารคามรับไม่เกิน 15  คน  วันเสาร์ - อาทิตย์ ที่  15-16   สิงหาคม  2563      สนใจติดต่อสอบถามและสมัครได้ที่สถาบันไดเอ็ดจังหวัดมหาสารคาม  โทร.043-721822,062-6109997,084-2616667 Email:pakdee277@gmail.com  ค่าติวท่านละ  1,200  บาท