#แนวข้อสอบครูผู้ช่วยทุกสังกัด ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี พร้อมคำอธิบาย
1. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามมาตรา 3/1 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วน
ราชการต้องคำนึงถึงเรื่องใดมากที่สุด
ก.การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ข.การวางแผนการปฎิบัติงาน
ค.ความรับผิดชอบของผู้ปฎิบัติงาน
ง.ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ
แนวคิด การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามมาตรา 3/1 แห่งพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่น
ดินส่วนราชการต้องคำนึงถึงเรื่อง ความรับผิดชอบของผู้ปฎิบัติงาน
2. หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจัดทำแผน
บริหารราชการแผ่นิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในกี่วัน
ก. 30 วัน ข. 45 วัน
ค. 90 วัน ง.120 วัน
แนวคิด หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจัด
ทำแผนบริหารราชการแผ่นิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน เก้าสิบวัน
3. แผนบริหาร ราชการแผ่นดินที่หน่วยงานจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินมี
กำหนดระยะเวลากี่ปี
ก. 3 ปี ข. 4 ปี
ค. 5 ปี ง. 6 ปี
แนวคิด แผนบริหาร ราชการแผ่นดินที่หน่วยงานจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน
มีกำหนดระยะเวลา สี่ปี
4.พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 แบ่งออกเป็นกี่ส่วน
ก. 3 ส่วน ข. 4 ส่วน
ค. 5 ส่วน ง. 6 ส่วน
แนวคิด การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ (1) การจัดระเบียบ
บริหารราชการส่วนกลาง (2) การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค (3) การจัดระเบียบ
บริหารราชการส่วนท้องถิ่น
5. หลักสำคัญในการบริหารราชการตามพ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินต้องเป็นไปตามข้อ
ใด
ก. เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ข. เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจการเมือง
ค. เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ง. เพื่อพัฒนาประเทศให้ยั่งยืน
แนวคิด หลักสำคัญในการบริหารราชการตามพ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินต้องเป็นไป
เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
6. หน่วยงานใดมีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการปฎิบัติตามพระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ก. ก.พ.ร. ข. สตง.
ค. ก.พ. ง. สนร.
แนวคิด หน่วยงานที่มีหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการปฎิบัติตามพระราช
กฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาข้าราชการ
พลเรือน (ก.พ.ร.)
7. ใครเป็นผู้รักษาการพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ก. นายกรัฐมนตรี ข. รมว. มหาดไทย
ค. ร.ม.ต.สนร. ง. รมว.ยุติธรรม
แนวคิด ผู้รักษาการพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ นายก
รัฐมนตรี
8. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมายตามข้อใดต่อไปนี้
ก. ศึกษาวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย
ข. ไม่สนใจความต้องการของสังคม
ค. ข้าราชการมีความซื่อสัตย์สุจริต
ง. ลดขั้นตอนการปฎิบัติงาน
แนวคิด การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย การไม่มี
ขั้นตอนการปฎิบัติงานเกินความจำเป็น
9. ใครคือผู้รักษาการตามพ.ร.บ. วิธีปฎิบัติราชการทางปกครองโดยตำแหน่ง พ.ศ. 2539
ก. นายกรัฐมนตรี ข. ปลัดสนร.
ค. รมว.ยุติธรรม ง. รมว.มหาดไทย
แนวคิด ผู้รักษาการตามพ.ร.บ. วิธีปฎิบัติราชการทางปกครองโดยตำแหน่ง พ.ศ. 2539 ได้แก่
นายกรัฐมนตรี
10. ข้อใดต่อไปนี้คือผู้แต่งตั้ง ประธานกรรมการในคณะกรรมการวิธีปฎิบัติราชการปกครอง
ก. นายกรัฐมนตรี ข. คณะรัฐมนตรี
ค. รัฐสภา ง. วุฒิสภา
แนวคิด ผู้แต่งตั้ง ประธานกรรมการในคณะกรรมการวิธีปฎิบัติราชการปกครอง ได้แก่ รัฐสภา
11. ข้อใดต่อไปนี้ คือคณะกรรมการวิธีปฎิบัติราชการทางปกครองโดยตำแหน่ง
ก. เลขานุการรัฐมนตรี ข. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค. เลขาธิการ ค.ร.ม. ง. เลขาธิการ ก.พ.
แนวคิด คณะกรรมการวิธีปฎิบัติราชการทางปกครองโดยตำแหน่งได้แก่ เลขาธิการ ก.พ.
12. ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิธีปฎิบัติราชการทางด้านการปกครองถูกแต่งตั้งจากใคร
ก. นายกรัฐมนตรี ข.คณะรัฐมนตรี
ค. วุฒิสภา ง. สภาผู้แทนราษฎร
แนวคิด ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิธีปฎิบัติราชการทางด้านการปกครองถูกแต่งตั้งจาก
คณะรัฐมนตรี
13. การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองนั้นหมายถึงข้อ
ใด
ก. กฎ
ข. คำสั่งทางปกครอง
ค. การพิจารณาทางปกครอง
ง. การปฎิราชการทางปกครอง
แนวคิด การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองนั้นหมาย
ถึง การพิจารณาทางปกครอง
14. ในกรณีที่มีการละเมิด เกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคนมิให้นำหลักเรื่องใดต่อไปนี้ของประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ
ก. ค้ำประกัน ข. ลูกหนี้ร่วม
ค. ภาระจำยอม ง. ประนีประนอมยอมความ
แนวคิด ในกรณีที่มีการละเมิด เกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคนมิให้นำหลักเรื่องใดต่อไปนี้ของ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับ กับ ลูกหนี้ร่วม
15. ถ้าเกิดการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด หน่วยงานใดต่อไป
นี้ต้องรับผิดชอบ
ก. กระทรวงยุติธรรม ข. กระทรวงมหาดไทย
ค. กระทรวงการคลัง ง. สำนักนายกรัฐมนตรี
แนวคิด ถ้าเกิดการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด กระทรวง
การคลัง ต้องรับผิดชอบ
16. เจ้าหน้าที่ตามข้อใดต่อไปนี้ที่ต้องรับผิดทางละเมิด หากตนเองได้กระทำ
ก. ลูกจ้าง ข.พนักงาน
ค. ข้าราชการ ง. ถูกทุกข้อ
แนวคิด เจ้าหน้าที่ตามข้อใดต่อไปนี้ที่ต้องรับผิดทางละเมิด หากตนเองได้กระทำ(1) ลูกจ้าง (2)
พนักงาน (3) ข้าราชการ
17. คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม มีชื่อย่อว่าอย่างไร
ก. ก.ม.จ. ข. ก.ม.ท.
ค. ก.ห.ม. ง. ก.ม.ธ.
แนวคิด คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม มีชื่อย่อว่า ก.ม.จ.
18. ใครเป็นประธานคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
ก. นายกรัฐมนตรี ข. รมว.ยุติธรรม
ค.ประธานศาลฎีกา ง. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
แนวคิด ประธานคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ได้แก่ นายกรัฐมนตรี
19. ใครเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม
ก.นายกรัฐมนตรี ข. เลขาธิการก.พ.
ค.รองนายกรัฐมนตรี ง. เลขาธิการศาลยุติธรรม
แนวคิด กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ได้แก่ เลขาธิการคณะ
กรรมการข้าราชการพลเรือน (เลขาธิการ ก.พ.)
20. คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ม.จ. มีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
ก. 30 ปี ข. 35 ปี
ค. 45 ปี ง. 50 ปี
แนวคิด คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม มีอายุไม่
ต่ำกว่า สี่สิบห้าปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น