#แนวข้อสอบครูผู้ชวยทุกสังกัด วิชาภาษาไทย เรียงลำดับข้อความพร้อมคำอธิบาย
1.ข้อความใดควรอยู่ลำดับที่ 3
ก.ปัญหายเสพติดในโรงเรียนหรือในสถานศึกษา ครูอาจารย์ใช้วิธีแก้คล้ายๆกัน
ข.การแก้ปัญหาเช่นนี้เป็นการปัดสวะไปให้พ้นตัวเท่านั้นมิใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน
ค.ส่วนใหญ่ก็ติดต่อผู้ปกครองหรือไม่ก็ต้องแจ้งตำรวจจับส่งสถานกักกันหรือสถานพินิจ
ง.บางโรงเรียนแก้ปัญหาโดยการไล่ออกไปหรือให้ผู้ปกครองมาลาออกแล้วไปเข้าโรงเรียนใหม่
ตอบ ง จัดเรียงลำดับข้อความได้ว่า ก.-ค.-ง.-ข. ซึ่งเรียงลำดับได้ดังนี้
ก.ปัญหายาเสพติดในโรงเรียนหรือในสถานศึกษา ครูอาจารย์ใช้วิธีแก้คล้ายๆกัน ค.ส่วนใหญ่ก็
ติดต่อผู้ปกครองหรือไม่ก็ต้องแจ้งตำรวจจับส่งสถานกักกันหรือสถานพินิจ ง. บางโรงเรียนแก้
ปัญหาโดยการไล่ออกไป หรือให้ผู้ปกครองมาลาออกแล้วไปเข้าโรงเรียนใหม่ ข. การแก้ปัญหา
เช่นนี้เป็นการปัดสวะไปให้พ้นตัวเท่านั้นมิใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน
ข้อนี้เป็นเรื่องปัญหายาเสพติด ให้นำปัญหายาเสพติด ในข้อ ก มาขึ้นประโยค จะใช้คำว่า "การแก้ปัญหา
เช่นนี้"ในข้อ ข.ขึ้นต้นไม่ได้เด็ดขาดเพราะถ้ามีคำว่า "เช่นนี้ เช่นนั้น ดังกล่าว" ในข้อความใดก็ตามห้ามนำ
มาขึ้นต้น ดังนั้นข้อ ก. ปัญหายาเสพติด จึงต้องนำมาขึ้นต้นเป็น ลำดับที่ 1
ตอนท้ายลำดับที่ 1 มีคำว่า "คล้ายๆกัน" แสดงว่ามีจำนวนมาก ต้องนำข้อความที่มีคำว่า "ส่วนใหญ่" ในข้อ
ค.มาเป็น ลำดับที่ 2
ข้อแนะนำ ตามหลักภาษาไทยแล้ว "ส่วนใหญ่ ส่วนมาก จำนวนมาก ฯลฯ" จะนำขึ้นมาเรียงก่อน
ดังนั้นข้อนี้ "ส่วนใหญ่" ในข้อ ค จึงมาก่อน "บางโรงเรียน" ที่อยู่ในข้อ ง นั่นเอง
ส่วนลำดับสุดท้าย หรือ ลำดับที่ 4 เป็นการสรุปถึงการแก้ปัญหาว่า"การแก้ปัญหาเช่นนี้เป็นการปัดสวะไป
ให้พ้นตัวเท่านั้น"
2. ข้อความใดควรอยู่ลำดับที่ 3
ก. และการป้องกันปราบปรามมิให้เกิดสงคราม
ข. เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์
ค. กำลังทหารพึงใช้เพื่อการรบหรือสงคราม
ง. และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ตอบ ค จัดเรียงลำดับข้อความได้ว่า ข. - ง.- ค. - ก. ซึ่งเรียงลำดับได้ดังนี้
ข.เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ง. และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง
เป็นประมุข ค.กำลังทหารพึงใช้เพื่อการรบหรือสงคราม ก. และการป้องกันปราบปรามมิให้เกิดสงคราม
ข้อนี้น่าสนใจเพราะอาจขึ้นต้นด้วยข้อ ข. หรือ ข้อ ค. ก็ได้แต่ก็มาติดใจอยู่ตรง "กำลังทหารพึงใช้เพื่อ"
ซึ่งใช้เป็นข้อแนะนำ เลยนำมาขึ้นต้นประโยคไม่ได้ ทำให้เราต้องนำข้อ ข.เพื่อมาเป็น ลำดับที่ 1 แทน
ต่อมาให้เราสังเกตว่าท้ายข้อความข้อ ข. มีคำว่า "พระมหากษัตริย์" จึงต้องต่อเชื่อมด้วยข้อ ง. ซึ่งมีคำว่า
"พระมหากษัตริย์" เช่นกัน คือ "พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ข้อ ง. จึงขึ้นมาเป็นลำดับที่ 2 นั่นเอง
3. ข้อความใดควรอยู่ลำดับที่ 3
ก. กล่าวคือคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติ
ข. อันประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งและมาจากการแต่งตั้ง
ค. ซึ่งเรียกว่าสภาผู้แทนราษฎร
ง. ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
ตอบ ก จัดเรียงลำดับข้อความได้ว่า ง. - ข. - ก. - ค. ซึ่งเรียงลำดับได้ดังนี้
ง.ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ข. อันประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ
สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งและมาจากการแต่งตั้ง ก. กล่าวคือคณะรัฐมนตรีรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติ
ค.ซึ่งเรียกว่าสภาผู้แทนราษฎร
ข้อนี้ยาก แต่อย่างไรก็ตามข้อ ง. ประเทศไทยขึ้นเป็นลำดับที่ 1 เพราะคำว่า"ประเทศไทย"เป็นคำนาม ข้อ
แนะนำ ห้ามนำคำกริยา, คำเชื่อม , " และ กับ ทั้ง....และ ระหว่าง.....กับ เช่น.....เป็นต้นหรือคำประพันธ
สรรพนาม ที่ ซึ่ง อัน ขึ้นต้นประโยคเด็ดขาด
ตอนท้ายข้อ ง มีคำว่า "รัฐสภา"อยู่ด้วยจึงตามด้วยข้อข อันประกอบด้วย....ได้เลย เพราะมีคำว่า"อัน"อยู่
ด้านหน้าข้อความข้อ ข. สำหรับขยายคำนาม "รัฐสภา" ในท้ายข้อความข้อ ง. เพราะในข้อ ค. มีข้อความ
ว่า "ซึ่งเรียกว่า "ซึ่ง" เป็นคำประพันธสรรพนามที่จะนำไปขยายคำว่า "สภานิติบัญญัติ" ในท้ายข้อ ก. จึงเป็น
ลำดับที่ 3 และมาก่อนข้อ ค ซึ่งนำมาต่อเป็น ลำดับที่ 4 นั่นเอง
4. ข้อความใดควรอยู่ลำดับที่ 2
ก. และวงการตกแต่งสวนของไทย
ข. ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากธรรมรักษาปลูกและเลี้ยงง่าย
ค. ที่กำลังเป็นที่สนใจกันมากทั้งในวงการไม้ตัดดอก
ง. ธรรมรักษาหรือเฮลิโคเนียเป็นไม้ดอกเขตร้อนชนิดหนึ่ง
ตอบ ค. จัดเรียงลำดับข้อความได้ว่า ง. - ค. - ก. - ข. ซึ่งเรียงลำดับดังนี้
ง. ธรรมรักษาหรือเฮลิโคเนียเป็นไม้ดอกเขตร้อนชนิดหนึ่ง ค.ที่กำลังเป็นที่สนใจกันมากทั้งในวงการไม้ตัด
ดอก ก.และวงการตกแต่งสวนของไทย ข. ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากธรรมรักษาปลูกและเลี้ยงง่าย ข้อ งเป็นลำดับ
ที่ 1 เพราะคำว่า "ธรรมรักษา"เป็นที่สนใจ...." เพราะมีคำประพันธสรรพนาม "ที่" วางอยู่หน้าข้อความจึงใช้
เป็นส่วนขยายคำนาม "ธรรมรักษา" สรุปแล้วลำดับที่ 2 คือข้อ ค นี่แหละ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น