# สรุปรัฐธรรมนูญกับการปฎิรูปการศึกษา (ฉบับที่ 2) ดูเป็นแนวทางสอบครูผู้ช่วยทุกสังกัดเพื่อตอบให้ตรงประเด็น
ตลอดเวลากว่า 4 ปี คสช. เข้ามาจัดการปัญหาการศึกษาโดยมุ่งเน้นปรับปรุงโครงสร้างส่วนบน (ส่วนหนึ่งในข้อ 5 ของกรอบแนวทางการปฎิรูปการศึกษา 7 วาระ การปรับโครงสร้างบริหารจัดการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) โดยใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 เข้าจัดการระบบการศึกษา อย่างน้อย 19 ฉบับ
1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ(ฉบับที่4)พ.ศ.2562 ให้ไว้ ณ วันที่ 26เมษายน2562 1.1 มาตรา 32การจัดระเบียบบริหารราชการจำนวน3 องค์กรได้แก่ 1. สภาการศึกษา2.คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3.คณะกรรมการการอาชีวศึกษาเพื่อให้คำแนะนำแก่ รมว.ศธ.และคณะรัฐมนตรี (คณะกรรมการการอุดมศึกษาถูกแยกออกไปอยูในกระทรวงใหม่) 1.2 มาตรา 32/1 ให้มีกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (แยกออกมาตั้งเป็นกระทรวงใหม่ คณะกรรมการการอุดมศึกษาหายไป ในพรบ.ระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 จาก 4 องค์กร 1.3 มาตรา 51/1 คำว่า "อาจารย์ " ในหมวดนี้ ให้หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ และเอกชน (ข้อนี้หมายความว่าให้ใช้เฉพาะสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ) แต่ไม่รวมถึงบุคลากรซึ่งสังกัดกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่แยกไปเป็นกระทรวงใหม่
2.คำสั่งหน.คสช.ฉบับที่ 7/2558 ข้อ 2 กำหนดให้มีจำนวนคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 9 คน รมว.ศธ. เป็นประธานกรรมการ และ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นกรรมการ และเลขานุการ
3.คำสั่ง หน.คสช. ฉบับที่ 8/2559 เรื่องการบริหารจัดการรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐและเอกชน 2.1ให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่ของ สช., สป.ศธ.ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินงานโรงเรียนในระบบประเภทอาชีวศึกษา ไปเป็นอำนาจหน้าที่ของ สอศ. 2.2 บรรดาคำขออนุญาตหรือคำขอใดๆในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโรงเรียนในระบบประเภทอาชีวศึกษา ที่ได้ยื่นไว้ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนก่อนวันที่คำสั่งนี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้และให้ สช., สป.ศธ. ส่งมอบให้เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาต่อไป
4.คำสั่งหน.คสช. ที่ 28/2559 เรื่องให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปีโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย 3.1 อาศัยมาตรา 44 ของรธน.(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.25573.2 การศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา (อนุบาล) (ถ้ามี) ระดับประถมศึกษา จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับ (ปวช.3) หรือเทียบเท่า และให้หมายความรวมถึงการศึกษาพิเศษและการศึกษาสงเคราะห์ด้วย3.3 ให้รมว.ศธ. โดยความเห็นชอบของ ค.ร.ม. กำหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี เพื่อเสนอตามกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี ได้แก่ (1) ค่าจัดการเรียนการสอน (2) ค่าหนังสือเรียน (3) ค่าอุปกรณ์การเรียน(4) ค่าเครื่องแบบนักเรียน(5) ค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (6) ค่าใช้จ่ายอื่นตามที่ ค.ร.ม.เห็นชอบ
5.คำสั่ง หน.คสช.ที่ 30 /2559 เรื่อง มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษา 5.1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามหมวด 7 แห่งพรบ.คุ้มครองเด็กพ.ศ.2546มีอำนาจกักตัวนักเรียนและนักศึกษาที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายผู้อื่น หรือเตรียมการเพื่อก่อเหตุดังกล่าวเป็นการชั่วคราว ไม่เกิน 6 ชั่วโมง เพื่อนำส่งพนักงานตำรวจผู้บริหารโรงเรียน หรือสถานศึกษา บิดามารดาหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณี 5.2 .ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จะแจ้งให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองเข้ามารับทราบการกระทำของเด็ก และเยาวชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษาดังกล่าว เพื่อให้คำแนะนำตักเตือนทำทัณฑ์บนหรือวางข้อกำหนดเพื่อป้องกันมิให้กระทำความผิดอีกหรืออาจวางประกันไว้เป็นจำนวนเงินตามสมควรแก่ฐานานุรูป แต่จะเรียกเงินประกันไว้ได้ไม่เกิน ระยะเวลา 2 ปีหากเด็กและเยาวชนที่เป็นนักเรียนและนักศึกษา ได้กระทำความผิดดังกล่าวซ้ำอีก ให้ริบเงินประกันเป็นของกองทุนคุ้มครองเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก 5.3 ผู้ใดกระทำอันเป็นการยุยง ส่งเสริมช่วยเหลือ หรือสนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษาฝ่าฝืนบทบัญญัติตามมาตรา 64 แห่งพรบ.คุ้มครองเด็กพ.ศ.2546 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากการกระทำตามข้อ 5.4เป็นเหตุให้นักเรียนนักศึกษาไปก่อเหตุทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกายผู้อื่นผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับและหากเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต เพราะการทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกายนั้น ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
6. คำสั่ง หน.คสช. ที่ 16/2560 เรื่องการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา 6.1 ให้ก.ค.ศ.ตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประกอบด้วย ก.ค.ศ. จำนวน 14 คนรมว.ศธ.เป็นประธานกรรมการเลขาธิการ ก.ค.ศ.เป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง 6.2 กรรมการโดยตำแหน่งมี จำนวน 9 คน 6.3 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมี จำนวน 3 คน ซึ่งรมว.ศธ. แต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงในด้าน การบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการศึกษา และด้านกฎหมายด้านละ 1คน (ในกรณีที่เป็นข้าราชการพลเรือนผู้นั้นต้องดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ) 6.4ให้ ก.ค.ศ. มีอำนาจแต่งตั้งอ.ก.ค.ศ.วิสามัญเพื่อทำการใดๆแทน ก.ค.ศ.ดังต่อไปนี้ (1) อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับการอุทธรณ์และร้องทุกข์ 2)อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเกี่ยวกับวินัยและการออกจากราชการ (3)อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา6.5ให้ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญแต่ละคณะมี จำนวนไม่เกิน 15 คน 6.6 ให้แก้ไขคำว่า"ขั้นเงินเดือน" ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นคำว่า"เงินเดือน"ทุกแห่ง 6.7 ให้ก.ค.ศ. เป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน เพื่อบรรจุ และแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในกรณีที่ก.ค.ศ.เห็นสมควรจะมอบหมายให้กศจ. อ.ก.ค.ศ. ซึ่งก.ค.ศ.ตั้งตามมาตรา 25แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ส่วนราชการหรือหน่วยงานทางการศึกษาดำเนินการก็ได้
7.คำสั่ง หน.คสช.ฉบับที่ 17/ 2560 ตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาออกมา เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งฉบับที่7/2558 ให้ยกเลิกความในข้อ 2 การปฎิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภาคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้คณะกรรมการคุรุสภาตามกฎหมาย ประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน 12 คน มีรมว.ศธ.เป็นประธานกรรมการและ เลขาธิการคุรสภา เป็นกรรมการและเลขานุการ (คณะกรรมการคุรุสภาเดิมมี 39 คนโดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ)
8.คำสั่ง หน.คสช.ที่ 19/2560 เรื่องการปฎิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ 8.1ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฎิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาคประกอบด้วยคณะกรรมการทั้งหมด จำนวน 9 คน รมว.ศธ. เป็นประธานกรรมการปลัดกระทรวงศธ.เป็นกรรมการและเลขานุการ 8.2 อำนาจหน้าที่ *กำหนดทิศทางการดำเนินงานของกระทรวงศธ.ในระดับภูมิภาคและจังหวัด *วางแผนเกี่ยวกับการบริหารบุคคลของกระทรวงศธ. ในระดับภูมิภาค และจังหวัด *แต่งตั้ง โอน หรือย้ายผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ปฎิบัติงานในตำแหน่งต่างๆในหน่วยงานของกระทรวงศธ.ในระดับภูมิภาคหรือจังหวัด ทั้งนี้ตามประเภทหรือระดับตำแหน่งที่ รมว.ศธ.กำหนด 8.3 สั่งให้ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ปฎิบัติงานในตำแหน่งต่างๆในหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการในระดับภูมิภาค หรือ จังหวัดหยุดการปฎิบัติหน้าที่หรือให้พ้นจากตำแหน่ง8.4 ให้มีสำนักงานศึกษาธิการภาค จำนวน 18 ภาค สังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามบัญชีที่รมว.ศธ.ประกาศกำหนด 8.5 ในแต่ละจังหวัดให้มีคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด เรียกโดยย่อว่า "กศจ." มีจำนวน 18 คน มี ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ รองผู้ว่าราชการที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมกรรมการ ศึกษาธิการภาคเป็นรองประธานกรรมการ ศึกษาธิการจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ 8.6 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ไม่เกิน 6 คน ซึ่งรมว.ศธ.แต่งตั้ง โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการขับเคลื่อนฯโดยอย่างน้อยต้องมี ผู้แทนองค์กรภาคเอกชน ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ และ ผู้แทนภาคประชาชน ด้านละ 1 คน 8.7 ให้กศจ.มีอำนาจในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้ * อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา *ให้กศจ.เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เพื่อแต่งตั้งอนุกรรมการศึกษาจังหวัด เรียกโดยย่อว่า "อกศจ. " เพื่อช่วยเหลือกรองงานให้แก่ กศจ. เกี่ยวกับการบรรจุ แต่งตั้ง การโยกย้าย การดำเนินการทางวินัย การกำหนดวิทยฐานะ หรือการกำหนดสิทธิประโยชน์ต่างๆของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา*ให้อกศจ.ประกอบด้วย (1) กรรมการในกศจ.จำนวน 1 คน เป็นประธานอนุกรรมการ (2) กรรมการใน กศจ. จำนวน 2 คน เป็นอนุกรรมการ (3) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้อำนวยการสถานศึกษาในจังหวัด จำนวน 2 คนเป็นอนุกรรมการ (4) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมิได้เป็นกรรมการในกศจ. จำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นอนุกรรมการ (5)ศึกษาธิการจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
9. คำสั่ง หน.คสช.ฉบับที่ 11/2561 เรื่องการแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีคณะกรรมการ จำนวน 17 คน และให้มีประธานกรรมการ ซึ่งรมว.ศธ.แต่งตั้งจากบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงเกี่ยวกับวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา 9.1กรรมการโดยตำแหน่งจำนวน 5 คน9.2กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน ซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงด้าน การศึกษา การบริหาร และกฎหมาย 9.3กรรมการจากคณาจารย์ในคณะคุรุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา ซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้ง จำนวน 2 คน 9.4 กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจำนวน4 คน ซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งมาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์ซึ่งดำรงวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพละ 1 คน และให้ เลขาธิการคุรุสภาเป็นกรรมการและเลขานุการ
10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการ ในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 10.1 คณะรัฐมนตรีไเ้มีมติเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม2560อนุมัติให้แต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมกาการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 17 คน/รูป ตามที่รมว.ศธ.เสนอ โดยปัจจุบันมีรองศาสตราจารย์เอกชัย กี่สุขพันธ์เป็นประธานกรรมการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น