วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

สรุปสาระสำคัญของนโยบายกระทรวง ศธ.และ สอศ.




นโยบายของ รมว.ศธ. และ รมช. ศธ.
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ แถลงนโยบาย  แนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการจะเดินหน้าต่อไป โดยมีนโยบายสาคัญ ดังนี้
การน้อมนำแนวพระราชกระแสฯ     ด้านการศึกษาของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มาปรับใช้กับนโยบายด้านการศึกษา
จากการที่ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลี  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่รัฐมนตรีนั้น          กระทรวงศึกษาธิการจะได้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษามาปรับใช้ โดยมีใจความสาคัญว่า "การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนใน 2 ด้าน คือ
1) ส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้อง 2) การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานชีวิตหรืออุปนิสัยที่มั่นคงเข้มแข็ง อาทิ การสร้างบุคลิกและอุปนิสัยที่ดีงาม (Character of Education)"
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ : http://www.moe.go.th/websm/2016/dec/515.html

 นโยบายอาชีวศึกษา 
  1. เน้นนโยบายส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษามีคุณสมบัติหรือทักษะที่สำคัญ คือ  3R และ  8C ได้แก่
      3R   คือ Reading - อ่านออก ,   (W) คือ Riting - เขียนได้, (A )  คือ Rithmatic - มีทักษะในการทำงาน      
      8C  คือ
  •  Critical Thinking and Problem Solving : มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ไขปัญหาได้
  •  Creativity and Innovation : คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม
  •  Collaboration Teamwork and Leadership : ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
  •  Communication Information and Media Literacy : ทักษะในการสื่อสาร และการรู้เท่าทันสื่อ
  •  Cross-cultural Understanding : ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
  •  Computing and ICT Literacy : ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี ซึ่งเยาวชนในยุคปัจจุบันมีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอย่างมากหรือเป็น Native Digital ส่วนคนรุ่นเก่าหรือผู้สูงอายุเปรียบเสมือนเป็น Immigrant Digital แต่เราต้องไม่อายที่จะเรียนรู้แม้ว่าจะสูงอายุแล้วก็ตาม
  •  Career and Learning Skills : ทักษะทางอาชีพ และการเรียนรู้
  •  Compassion : มีคุณธรรม มีเมตตา กรุณา มีระเบียบวินัย ซึ่งเป็นคุณลักษณะพื้นฐานสำคัญของทักษะขั้นต้นทั้งหมด และเป็นคุณลักษณะที่เด็กไทยจำเป็นต้องมี
ทั้งนี้ คุณสมบัติ 3R และ 8C อาจจะดูเป็นนามธรรม แต่ก็สามารถนำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินการได้ โดยขอให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาจัดทำหลักสูตรหรือสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาที่เน้นให้นักเรียนนักศึกษามีคุณสมบัติหรือทักษะดังกล่าวด้วย
  2. เน้นนโยบายสำคัญของการอาชีวศึกษา
        - Competitive Workforce
        - Dual System
        - Dual  Education
        - Dual  Degree
 3. ร่วมขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ
        - ยกระดับทักษะภาษาอังกฤษ
        - ICT เพื่อการศึกษา
        - ดูแลเด็กออกนอกระบบกลางคัน
4. นโยบายเร่งด่วนเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพศักยภาพกำลังคนอาชีวศึกษา
    รูปแบบการฝึกอบรมระยะสั้นฐานสมรรถนะ ( Vocational  Boot  Camp )
           - อุตสาหกรรมเดิม ( First S- Curve )
           - อุตสาหกรรมใหม่ ( New S -Curve )  เช่น รถไฟความเร็วสูง พลังงานแห่งอนาคต  สมาร์ทฟอร์มเมอร์ ฯลฯ
      และสาขาอาชีพที่เป็นที่ต้องการของของท้องถิ่นและผู้ประกอบการรายย่อย ( SMEs )
     ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 2  กลุ่ม  ได้แก่
             1) กลุ่มนักเรียนนักศึกษา ปวช. 3 และ ปวส. 2
             2) กลุ่มประชาชนทั่วไป เช่นผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ผู้ว่างงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ


แนวทางนโยบายที่สำคัญของการอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสำคัญที่จะส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการอาชีวศึกษาในโครงการต่างๆ ดังนี้
   1) โครงการสานพลังประชารัฐด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ (Competitive Workforce)    ซึ่งเกี่ยวข้องกับอาชีวศึกษาโดยตรง ในขณะนี้มีภารกิจเร่งด่วน (Quick Win)  4 เรื่อง  คือ
      - Re-branding เพื่อจูงใจให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเห็นความสำคัญของการเรียนอาชีวศึกษาและสนใจเรียนอาชีวศึกษามากขึ้น
      Excellence Model School กำหนดความหมายและขอบเขตของสถานศึกษาต้นแบบที่ดีด้านอาชีวศึกษา                     - Database  (Demand and Supply) จัดทำฐานข้อมูลความต้องการกำลังคนของภาคอุตสาหกรรม      และปริมาณการผลิตกำลังคนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เพื่อประโยชน์ในการวางแผนผลิตกำลังคนล่วงหน้าให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนภาคอุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้
      Standard and Certification Center    จัดทำและหาทางเลือกที่เหมาะสมร่วมกันในการสร้างมาตรฐานวิชาชีพอาชีวศึกษาให้เป็นที่ยอมรับ และนำไปใช้อย่างทั่วถึงทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมทั้งส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพอาชีวศึกษาให้เป็นบรรทัดฐานในการจ่ายค่าตอบแทน ที่สอดคล้องกับความสามารถของแรงงาน
   2) ทวิภาคี (Dual System) สอศ.ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีกับสาธารณรัฐออสเตรีย ซึ่งเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านอาชีวศึกษาทวิภาคีอย่างมาก       ทำให้ทราบว่าการจัดการอาชีวศึกษาของไทยได้เดินมาถูกทางแล้วจากนี้ไปจะเดินหน้าอย่างเต็มที่ในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาในระบบทวิภาคี
   3) ทวิศึกษา  ( Dual Education )   หรือโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษา  และมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาแก่ประชาชนวัยเรียนและวัยทำงาน        และเพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายไปสู่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในการเข้าสู่หลักสูตรอาชีวศึกษา โดยขอให้ สอศ. เข้าไปประชาสัมพันธ์การศึกษาต่อด้านอาชีวศึกษาในโรงเรียน และให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการพัฒนาการเรียนการสอนอาชีวศึกษาในโรงเรียนให้มีคุณภาพ
   4) ทวิวุฒิ (Dual Degree) คือ การจับคู่สถาบันอาชีวศึกษาไทยกับสถาบันอาชีวศึกษาต่างประเทศ โดยจัดทำวุฒิการศึกษาร่วมกัน ดังเช่นก่อนหน้านี้ที่ สอศ.   ได้จัดทำทวิวุฒิกับสาธารณรัฐเกาหลี   ในสาขาที่สาธารณรัฐเกาหลีมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ อาทิ การท่องเที่ยว เทคโนโลยีความงาม และเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อนักศึกษาสำเร็จหลักสูตรจะได้รับวุฒิการศึกษา 2 ใบ จากทั้งสองประเทศ หรือเรียกว่า ทวิวุฒิ
  5) โครงการฝึกอบรมระยะสั้นฐานสมรรถนะ  ภายใต้ 9 ประเภทวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรอาชีวศึกษา
       โดยแบ่งออกเป็น 2  กลุ่ม 
        กลุ่มที่ 1 หลักสูตรที่สอดคล้องกับ Growth Engine ( First S-Curve , New S- Curve, Thailand 4.0 Super Cluster)
                       จำนวน 550 หลักสูตร  เช่นการตรวจสอบรอยร้าว ( ช่างอากาศยาน ) พนักงานขับรถบรรทุกสินค้า ช่างซ่อมบำรุงแมคคาทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมการผลิต , ตรวจสอบแบบไม่ทำลาย, ขนส่งระบบราง, รถไฟความเร็วสูง  พลังงาน , สมาร์ทฟาร์มเมอร์ มีผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรม  20,933 คน
        กลุ่มที่ 2  หลักสูตรตามความต้องการส่วนท้องถิ่น ( Local Needs , SMEs ) จำนวน 2,160 หลักสูตร มีผู้สมัครเข้าร่วมฝึกอบรม  61,206 คน
   

เรื่องน่ารู้เก็บไว้ดูเตรียมสอบครูผู้ช่วยสอศ. หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา



                                          หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา


1. แนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร  การจัดการเรียนการสอนของ สอศ.  กำหนดคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา  ทุกระดับ  ทุกประเภทวิชาและสาขาวิชา  ต้องครอบคลุมอย่างน้อย 3  ด้าน  ประกอบด้วย
                                1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์
                                2. สมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป
                                3. สมรรถนะวิชาชีพ
2. สอศ. สถาบันการอาชีวศึกษา และสถานศึกษาจะต้องจัดให้มีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยทุก   5  ปี
3. การจัดการศึกษาตามหลักสูตร ปวช. และปวส. ใช้เวลา 3 ปี และ 2 ปี จัดได้  2 รูปแบบ ได้แก่ ในระบบ  และ ทวิภาคี  การจัดภาคเรียนให้ใช้ระบบ  ทวิภาค  แบ่งออกเป็น  2 ภาคเรียน 1 ภาคเรียนปกติ มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 18  สัปดาห์
4. หลักสูตร ปวช. ฉบับปัจจุบัน เป็นหลักสูตร ปวช. 2556 ( ออกข้อสอบเป็นประจำ )
5. หลักสูตร ปวส. ฉบับปัจจุบัน เป็นหลักสูตร ปวส. 2557 ( ออกข้อสอบเป็นประจำ )
6. จำนวนหน่วยกิตในหลักสูตรระดับ ปวช. ไม่ต่ำกว่า 103 นก. และไม่เกิน 120 นก.
7. จำนวนหน่วยกิตในหลักสูตรระดับ ปวส. ไม่ต่ำกว่า 78 นก. และไม่เกิน 90 นก. 
8. การจัดหน่วยกิตในหลักสูตรระดับ ปวช. ปวส. ให้พิจารณา ดังนี้
                                1. รายวิชาทฤษฎี   18 ชั่วโมง   =  1 นก.
                                2. รายวิชาปฎิบัติในห้องทดลอง หรือห้องปฎิบัติการ  36 ชั่วโมง=1 นก.
                                3. รายวิชาในโรงฝึกงานหรือภาคสนามไม่น้อยกว่า 54 ชั่วโมง = 1 นก.
                                4. การฝึกอาชีพในระบบทวิภาคีไม่น้อยกว่า 54 ชั่่วโมง = 1 นก.
                                5. การจัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 54 ชั่วโมง = 1 นก.
9. การประกันคุณภาพหลักสูตร กำหนดไว้ชัดเจน อย่างน้อย  4  ประเด็น ได้แก่
                                1. คุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา
                                2. การบริหารหลักสูตร
                                3. ทรัพยากรการจัดการอาชีวศึกษา
                                4. ความต้องการกำลังคนของตลาดแรงงาน
10. หลักสูตร ปวช. 2556  ปรับปรุงมาจากหลักสูตร ปวช. 2545 ( ปรับปรุง 2546 )
11. การจัดการเรียนการสอนในระบบชั้นเรียน เปิดทำการเรียนการสอนไม่น้อยกว่า สัปดาห์ละ 5 วัน ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง  คาบละ  60 นาที
12. โครงสร้างหลักสูตร  ปวช. และ ปวส. ประกอบด้วย  3 หมวดวิชา + 1กิจกรรมเสริมหลักสูตร ได้แก่
                                1. หมวดวิชาทักษะชีวิต
                                2. หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ  แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มวิชา
                                    2.1 กลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพพื้นฐาน
                                    2.2 กลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพเฉพาะ
                                    2.3 กลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพเลือก
                                    2.4 กลุ่มการฝึกอาชีพในระบบทวิภาคี
                                    2.5 กลุ่มการจัดทำโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ
                                3. หมวดวิชาเลือกเสรี
                                4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร ( ไม่มี นก.  แต่มี  ผ  และ มผ. )
13. การจัดการศึกษาอาชีวศึกษา  มีปรัชญา และ วัตถุประสงค์ ที่มุ่งเน้นให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับ  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติ  ปรัชญาการอาชีวศึกษา และมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ หรือมาตรฐานสมรรถนะรายวิชา
14.  สาระสำคัญของหลักสูตร เรียงตามลำดับได้ ดังนี้
                                 1. หลักการ
                                 2. จุดประสงค์
                                 3. หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตร
                                 4. การกำหนดรหัสวิชา
                                 5. มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ
                                 6. กรอบการจัดการศึกษาระดับต่างๆ















วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

แนวข้อสอบกฎหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับ สอศ.เก็บไว้ดูเตรียมสอบครูผู้ช่วยสอศ.





กฎหมาย กฎ  ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
1.กฎหมายการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการออกใน พ.. ใด
. .. 2545      . .. 2546       . .. 2547        . ..  2548
2. กฎหมายการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการให้ออกเป็นกฎหมายประเภทใด
. พระราชบัญญัติ    ข. พระราชกำหนด     ค. กฎกระทรวง     ง. ระเบียบ
3. กฎหมายการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการเกิดจากกฎหมายใด
. ... ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.. 2546
. ... สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  พ..  2546
. ... การศึกษาแห่งชาติ พ..  2542
. ... ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  พ.. 2547
4. ส่วนราชการที่เป็นสำนักใน สอศ. มีกี่สำนัก
. 6  สำนัก      ข. 7  สำนัก        ค.8  สำนัก        ง.9   สำนัก
5. ข้อใดที่มิใช่อำนาจหน้าที่ของสำนักอำนวยการ ตรงกับข้อใด
. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการสนับสนุนทรัพยากรและการจัดให้มีกองทุนอาชีวศึกษา
. พัฒนาระบบงานและการบริหารบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
. ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน  การบัญชีและพัสดุ งานอาคารสถานที่ งบประมาณและสินทรัพย์ของ สอศ.
. ดำเนินการเกี่ยวกับส่งเสริมวินัยและระบบคุณธรรม กฎหมายนิติกรรมและสัญญา
6. ข้อใดที่มิใช่อำนาจหน้าที่ของสำนักความร่วมมือ
. ส่งเสริมและสนับสนุนเอกชนและสถานประกอบการให้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรและมาตรฐานการอาชีวศึกษารวมทั้งอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
. พัฒนารูปแบบและหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับความร่วมมือกับเอกชนในการจัดการอาชีวศึกษารวมทั้งติดตามและประเมินผล
. ประเมินมาตรฐานครูและบุคลากรทางการศึกษา
ส่งเสริมและสนับสนุนและพัฒนาองค์กรวิชาชีพ กลุ่มอาชีพและสมาคมอาชีพ
7. ข้อใดที่มิใช่หน้าที่ของสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษา
. วิจัยและพัฒนาใตรฐานและหลักสูตรแกนกลางอาชีวศึกษาทุกระดับ
. วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวกับการอาชีวศึกษาเพื่อประกอบการเสนอแนะแนวนโยบาย แผนงาน โครงการและความต้องการกำลังคนด้านอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ
. วิจัยและพัฒนามาตรฐาน สื่อต้นแบบและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา
. พัฒนาระบบ  หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถาบันการอาชีวศึกษา สถานศึกษา รวมทั้งระบบการเรียนรู้ที่บูรณาการ
8. ข้อใดที่มิใช่ภารกิจโดยตรงของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา                                                                                                                    ข. ดำเนินงานเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
. แก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน
. ส่งเสริมประสานงานการจัดการอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชน
9. กฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา เกิดจากกฎหมายใด
. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542     . พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.. 2546
. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.. 2547
. ถูกทุกข้อ
10. กฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา เกิดขึ้นในพ.. ใด
. ..  2546           .. 2547             . .. 2550.. 2552
11. กฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา กำหนดนิยาม คำว่า  สถานศึกษา “  หมายถึงข้อใด
. วิทยาลัย                                                                                                                                                                                   ข. ศูนย์                                                                                                                                                              ค. หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเทียบเท่าวิทยาลัย
. ถูกทุกข้อ
12. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา สถานศึกษาแบ่งการบริหารออกเป็นกี่ฝ่าย
. 1  ฝ่าย             ข.  2    ฝ่าย            ค. 3  ฝ่าย        ง.  4   ฝ่าย
13. ข้อใดที่มิใช่   “ฝ่าย ตาม กฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา
. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ        ข. ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา
. ฝ่ายวิชาการ ง. ฝ่ายทรัพยากร
14. งานโครงการพิเศษ และการบริการชุมชนสังกัดในฝ่ายใด
. ฝ่ายวิชาการ                   ข. ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา
. ฝ่ายทรัพยากร                ง. ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา
15. งานวิทยบริการและห้องสมุดอยู่สังกัดในฝ่ายใด      
. ฝ่ายวิชาการ                   ข. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
. ฝ่ายทรัพยากร                ง. ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา
16. การเปิดสอนแผนกวิชาชีพใหม่และการยุบเลิกแผนกวิชาชีพให้อยู่ในดุลยพิจของใคร
. ประธานอาชีวศึกษาจังหวัด            ข. ประธานอาชีวศึกษาภาค
. คณะกรรมการสถานศึกษา             ง.  ผู้อำนวยการวิทยาลัยโดยความเห็นชอบ                                            ของคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา
17. รองผู้อำนวยการวิทยาลัยประกอบไปด้วยกี่ฝ่าย
.  1   ฝ่าย            ข.  2  ฝ่าย            ค.  3   ฝ่าย            ง. 4   ฝ่าย
18. การปฎิบัติงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณอยู่ในความรับผิดชอบของงานใด
. งานบุคลากร              ข. งานบริหารงานทั่วไป         ค. งานการเงิน      ง. งานการบัญชี
19. การดำเนินการทางวินัยบุคลากรในสถานศึกษาอยู่ในความรับผิดชอบของงานใด
. งานบุคลากร              ข. งานบริหารงานทั่วไป        ค. งานการเงิน       ง. งานการบัญชี
20. งานเก็บเอกสารและหลักฐานต่างๆไว้เพื่อการตรวจสอบและดำเนินการทำลายเอกสารตามระเบียบ อยู่ในความรับผิดชอบของงานใด
. งานบุคลากร             ข. งานบริหารงานทั่วไป         ค. งานการเงิน       ง. งานการบัญชี
21. การจัดทำรายงานการเงินและบัญชีเพื่อจัดส่งส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในกำหนดเวลา ตามระเบียบอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใด
. งานบุคลากร            ข. งานบริหารงานทั่วไป          ค. งานการเงิน      ง. งานการบัญชี
22. การรับสมัครนักเรียนนักศึกษาและการตรวจหลักฐานต่างๆอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใด
. งานประชาสัมพันธ์                        ข. งานวางแผนและงบประมาณ                                                           ค. งานทะเบียน                                   ง. งานงานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ
23. การจัดทำข้อมูลแผนการรับนักเรียนนักศึกษา การยุบ ขยายและเพิ่มประเภทวิชา สาขาวิชาที่เปิดสอนในสถานศึกษาอยู่ในความรับผิดชอบของงานใด
. งานประชาสัมพันธ์                       ข. งานวางแผนและงบประมาณ
. งานทะเบียน                                 ง. งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ
24. การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์กำลังคนอาชีวศึกษาของสถานศึกษาอยู่ในความรับผิดชอบของงานใด
. งานประชาสัมพันธ์                     ข. งานวางแผนและงบประมาณ
. งานทะเบียน                                ง. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ
25. งานรับผิดชอบเกี่ยวกับการสื่อสารต่างๆของสถานศึกษาทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาอยู่ในความรับผิดชอบของงานใด
. งานประชาสัมพันธ์                     ข. งานวางแผนและงบประมาณ
. งานทะเบียน                                ง. งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ
26. งานอาคารสถานที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายใด
. ฝ่ายวิชาการ                                          ข. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
. ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา      ง. ฝ่ายทรัพยากร
27. งานวิจัยพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายใด
. ฝ่ายวิชาการ                                          ข. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
. ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา      ง. ฝ่ายทรัพยากร
28. งานประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายใด
. ฝ่ายวิชาการ                                     ข. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
. ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา  ง. ฝ่ายทรัพยากร
29. งานครูที่ปรึกษาอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายใด
. ฝ่ายวิชาการ                                       ข. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
. ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา   ง. ฝ่ายทรัพยากร
30. งานปกครองอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายใด
. ฝ่ายวิชาการ                                       ข. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
. ฝ่ายพัฒนากิจกานักเรียนนักศึกษา     ง. ฝ่ายทรัพยากร
31. งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายใด
. ฝ่ายวิชาการ                                       ข. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
. ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา   ง. ฝ่ายทรัพยากร
32. ข้อใดที่มิใช่นิยาม ของคำว่า ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา
ครูผู้ช่วย        ข. ครู           ค. ครูชำนาญการ      ง. พนักงานราชการ
33. ข้อใดที่มิใช่นิยาม ของคำว่า  บุคลากรทางการศึกษา “  ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา
. ผู้อำนวยการวิทยาลัย                          ข. รองผู้อำนวยการวิทยาลัย
. พนักงานราชการ                            ง. ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก... กำหนด
34. ข้อใดที่มิใช่นิยาม  ของคำว่าบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา
. พนักงานราชการ       ข. ลูกจ้างประจำ     ค. ลูกจ้างชั่วคราว    ง. ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ก...กำหนด
35. คณะกรรมการในสถานศึกษา ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา คือข้อใด
. คณะกรรมการที่ปรึกษา                   ข. คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา
. คณะกรรมการวิทยาลัย                    ง. ถูกทั้งข้อ ข และข้อ ค
36. คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาใครเป็นประธานกรรมการ
. ผุ้ทรงคุณวุฒิ                                   ข. ผู้อำนวยการวิทยาลัย
. รองผู้อำนวยการวิทยาลัย                ง. ผู้แทนสถานประกอบการ
37. คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิกี่คน
. 1   คน         ข. 2  คน         ค. ไม่น้อยกว่า  1   คน        ง. ไม่น้อยกว่า   2   คน
38. คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
. 1  ปีการศึกษา             ข.  2  ปีการศึกษา             ค.  3  ปีการศึกษา              ง. 4 ปีการศึกษา
39. ข้อใดเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา
. กำหนดเป้าหมาย นโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสถานศึกษา
. พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาสถานศึกษาและแผนปฎิบัติการประจำปี
. กำหนดแผนการรับนักเรียน นักศึกษา การยุบ ขยายและเพิ่มประเภทวิชา สาขาวิชาที่เปิดสอนในสถานศึกษา
. ถูกทุกข้อ
40. การประชุมคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา อย่างน้อยภาคเรียนละกี่ครั้ง
. ไม่น้อยกว่า   ครั้ง      ข. ไม่น้อยกว่า  2   ครั้ง      ค.ไม่น้อยกว่า ครั้ง   ง.ไม่น้อยกว่า 4  ครั้ง
41. ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาต้องมีกรรมการมาประชุมครั้งละกี่คน
. ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการบริหารสถานศึกษาทั้งหมด
. ไม่น้อยกว่า  2 ใน  3 ของคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาทั้งหมด
. ไม่น้อยกว่า  1   ใน  ของคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาทั้งหมด
. ถูกทุกข้อ
42.ให้ผู้อำนวยการวิทยาลัยรายงานผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา ให้สอศ.ทราบภายในกี่วัน
. 7  วัน           ข.  10    วัน          ค.  15   วัน       ง.  30  วัน
43. กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์การสรรหา การเลือกประธานกรรมการและคณะกรรมการ การประชุม วาระการดำรงตำแหน่ง และพ้นตำแหน่งคณะกรรมการวิทยาลัยออกใน พ.. ใด
. ..  2546            . ..  2547         . .. 2550              .  พ.. 2553
44. ในกฎกระทรวงฉบับนี้ “  ครูหรือคณาจารย์“   หมายถึงข้อใด
. บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ
. บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
. ผู้บริหารสถานศึกษา
. ถูกทั้งข้อ  ก และข้อ ข
45. องค์กร และ ชุมชนในกฎกระทรวงฉบับนี้ หมายความว่า ชุมชน หรือ องค์กรที่มีประชาชนรวมกันไม่น้อยกว่ากี่คน
. ไม่น้อยกว่า  10  คน   ข. ไม่น้อยกว่า   15  คน    ค. ไม่น้อยกว่า  20 คน    ง. 25   คน
46. กรรมการวิทยาลัยที่เป็นผู้แทน ครู หรือ  คณาจารย์ มีจำนวนกี่คน
.  1   คน          ข.   2   คน         ค.   3   คน      ง.   4    คน
47. กรรมการวิทยาลัยที่เป็นผู้แทนพระภิกษุสงฆ์ หรือ ผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นในพื้นที่มีจำนวนกี่รูป
. 1   รูป         ข.  2   รูป          ค.  3  รูป        ง.   4   รูป
48. กรรมการวิทยาลัยที่เป็นผู้แทนสถานประกอบการด้านธุรกิจการพาณิชย์ การเกษตรหรืออุตสาหกรรม ผู้แทนหอการค้าจังหวัด และผู้แทนองค์กรด้านอาชีวศึกษาในพื้นที่มีจำนวนกี่คน
. ไม่เกิน   คน     ข. ไม่เกิน   3   คน     ค. ไม่เกิน  4   คน    ง. ไม่เกิน   5   คน
49. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงมีจำนวนกี่คน
. ไม่เกิน   4   คน    ข. ไม่เกิน  5   คน      ค. ไม่เกิน   6   คน    ง. ไม่เกิน   คน
50. ประธานกรรมการวิทยาลัย ได้แก่ผู้ใด
. ผู้อำนวยการวิทยาลัย       ข. ผู้แทนสถานประกอบการ    ค. ผู้ทรงคุณวุฒิ   ง.ผู้แทนครูและคณาจารย์
51. คุณสมบัติของประธานกรรมการและกรรมการวิทยาลัยต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
. 25ปีบริบูรณ์      ข.  30 ปีบริบูรณ์       ค.  35   ปีบริบูรณ์       ง.  45  ปีบริบูรณ์
52. คณะกรรมการวิทยาลัยได้มาโดยวิธีการใด
. การเลือกตั้ง      ข. การสรรหา       ค. การสรรหาและการเลือกกรรมการ  ง. ถูกทุกข้อ
53. ใครเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งประธานกรรมการวิทยาลัย และกรรมการวิทยาลัย
. เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา          ข. ประธานกรรมการอาชีวศึกษาภาค
. ประธานคณะกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัด       ง. ผู้อำนวยการวิทยาลัย
54. ประธานกรรมการวิทยาลัยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
. 2 ปี      ข.  3ปี      ค.  4ปี     ง. 5  ปี
55. การสรรหา เลือก และเสนอชื่อ ประธานกรรมการและกรรมการวิทยาลัยเพื่อพิจารณาแต่งตั้งต่อใคร
. เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา     ข. ประธานกรรมการอาชีวศึกษาภาค
. ประธานกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัด         ง. ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษา
56. การกำหนดจำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา การเลือกประธานกรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นตำแหน่งของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้ออกเป็นกฎหมายใด
. พระราชบัญญัติ     ข. พระราชกำหนด       ค. กฎกระทรวง   ง. ระเบียบ
57. ตามข้อ  56เป็นกฎหมายออกใน พ.. ใด
. ..  2546        . ..  2547       . ..  2548      .  2549
58. คณะกรรมการการอาชีวศึกษามี่กรรมการจำนวนกี่คน
. ไม่เกิน  27   คน      ข. ไม่เกิน  28  คน      ค. ไม่เกิน  32  คน     ง. ไม่เกิน   35    คน
59. ประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้มาจากส่วนใด
. กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรเอกชน     ข. กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรวิชาชีพ
. ผู้ทรงคุณวุฒิ                                          ง. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
60. คณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยตำแหน่งมีจำนวนกี่คน
.  7  คน       ข. 8   คน        ค. 9   คน       ง.  10   คน
61. กรรมการที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิมีจำนวนไม่เกินกี่คน
.  10   คน      ข.  16  คน         ค. 18   คน      ง.  20   คน
62. กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรวิชาชีพมีจำนวนกี่คน
.   1  คน       ข.  2   คน      ค.  3   คน     ง.  4   คน
63.  ใครเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
. เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา   ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
. ผู้อำนวยการสำนักผู้อำนวยการ                       ง. กรรมการโดยตำแหน่งเลือกกันเอง 1 คน
64. คุณสมบัติของประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
.  25  ปี      ข.  30 ปี       ค.  35  ปี        ง.  45   ปี
65. การดำเนินการสรรหา และเลือกประธานกรรมการคณะกรรมการอาชีวศึกษาและกรรมการเสร็จสิ้นแล้วให้นำรายชื่อเสนอต่อใครเพื่อแต่งตั้ง
. คณะรัฐมนตรี                                         ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
. เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา      ง. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
66. ประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและคณะกรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี
. 2  ปีติดต่อกันไม่เกินวาระ          ข.  3  ปีติดต่อกันไม่เกินวาระ
. 4  ปีติดต่อกันไม่เกินวาระ           ง.   5  ปีติดต่อกันไม่เกินวาระ
67. หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา และการเลือกประธานกรรมการการอาชีวศึกษาและกรรมการ นอกจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายใด
. พระราชบัญญัติ      ข. พระราชกำหนด      ค. ระเบียบ      งประกาศ
68. ในกรณีประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระให้ดำเนินการสรรหา เลือกและแต่งตั้งภายในกี่วัน
.  30  วัน      ข.  45  วัน      ค. 60  วัน      ง.   90   วัน
69. ในวาระเริ่มแรกให้ดำเนินการสรรหา เลือกและแต่งตั้งประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและกรรมการให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน นับแต่วันที่กฎกระทรงนี้มีผลบังคับใช้
. 30   วัน          ข.  60   วัน      ค.  90  วัน    ง.  180  วัน
70. การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาให้ออกเป็นกฎหมายใด
. พระราชบัญญัติ      ข. พระราชกำหนด     ค. กฎกระทรวง    ง. ข้อบังคับ
71. กฎหมาย การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา ออกใน พ.. ใด
. ..  2546       . ..  2547        .  2554      .  2555
72. ใครมีอำนาจตาบบทบัญญัติตามกฎหมาย การรวมสถานศึกษา เพื่อจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา
. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ       ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
. เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา        ง. นายกรัฐมนตรี
73. สถาบันการอาชีวศึกษา ประกอบด้วยกี่สถาบันตามกฎหมายฉบับนี้
.   17  สถาบัน       ข.  18  สถาบัน      ค. 19  สถาบัน     ง.  20   สถาบัน
74. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง มีกี่สถาบัน
.   4   สถาบันข.   5  สถาบัน      ค.  6  สถาบัน     ง. 7   สถาบัน
75. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้มีกี่สถาบัน
.  1  สถาบัน        ข.  2   สถาบัน       ค.  3   สถาบัน      ง.   4    สถาบัน
76. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกมีกี่สถาบัน
.  1  สถาบัน      ข.  2  สถาบัน       ค.  3   สถาบัน      ง.  4   สถาบัน
77. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกี่สถาบัน
. 3  สถาบัน       ข.  4   สถาบัน     ค.  5  สถาบัน   ง.   6   สถาบัน
78. สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ มีกี่สถาบัน
.  1  สถาบัน     ข.  2  สถาบัน      ค.  3  สถาบัน     ง.  4  สถาบัน
79. สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครมีกี่สถาบัน
.  1  สถาบัน     ข.  2   สถาบัน     ค.  3  สถาบัน     ง. 4  สถาบัน
เฉลย แนวข้อสอบ
1.ข       2.ค      3. ก      4. ข      5. ก      6. ค      7. ข      8. ค      9. ง        10.  ง     11.  ง     12.  ง    13.  ข     14.   ข     15.  ก     16.  ง      17.  ง      18. ข       19.  ก      20.  ค     21.  ง     22.ค      23.  ข      24.   25. ก    26.  ง     27.  ก     28.  ข     29.  ค    30.  ค      31.  ก      32.  ง     33.  ค     34.  ง    35.    36.  37.  ง  38.  ข    39.  ง   40.  ก  41.  ก     42.  ค     43.  ง     44.  ง     45.  ข     46.  ก     47.  ข  48.  49. ค     50. ค      51.  ก    52.  ค     53.  ก     54.  ค 55.ก     56.   ค    57.   ก    58.  ค    59. ค  60.  61.  ข    62. ข     63.  ก     64.  ค     65.  ก     66. ค     67.   ง  68. ค    69.  ง    70.  ค     71. ง  72.  73.  ค     74.  ข      75.   ค     76.  ก    77.  ค    78.  ง      79. 

ขอเปลี่ยนแปลงสถานที่ติวสรุปสอบครูผู้ช่วยสอศ. ที่จังหวัดมหาสารคาม
ขอเปลี่ยนแปลงสถานที่ติวสรุปสอบ ครูผู้ช่วยสอศ. ที่จังหวัดมหาสารคาม  วันที่ 13 - 14 พ.ค. 60 มาเป็นโรงเรียนกวดวิชาและภาษาไดเอ็ด ตามพิกัดในรูปเลยมาอีก100 เมตร ครับอยู่ริมคลองสมถวิลตรงข้าม   สพานสร้างใหม่ไปถนนบายพาสข้างร้านหมอฟัน เหลืออีก 5 ที่นั่งครับ