วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เจาะลึกสรุปความรอบรู้ส่วนหนึ่งที่สอบครูผู้ช่วยสอศ. ดูแบบเน้นๆแบบไม้ให้พลาด




สรุป ความรอบรู้ 
1. การศึกษา  หมายความว่า  กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม
2. การศึกษาตลอดชีวิต   หมายความว่า   การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ  การศึกษาอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
3. ครู  หมายความว่า  ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ           
4. ความมุ่งหมายของหมายของการจัดการศึกษา        เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาความรู้คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (เก่ง ดี มีสุข) มาตรา 6
5. หลักการจัดการศึกษา แบ่งออกเป็น3หลักประกอบด้วย(1)เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน (2)สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา   (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ( มาตรา 8)
6. สิทธิทางการศึกษา  ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า สิบสองปี ที่รัฐจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (รัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่   ตัด ม.ปลาย   และปวช.ออก   เพิ่มปฐมวัยแทน )
7. รูปแบบการจัดการศึกษา มี  รูปแบบ  ประกอบด้วย ( มาตรา  15 21 )
 ( 1 ) การศึกษาในระบบ  ( formal  Education )  (2) การศึกษานอกระบบ (non-formal Education )  (3) การศึกษาตามอัธยาศัย ( Informal Education )
8. การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า    ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้  และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด    กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ      และเต็มตามศักยภาพ (มาตรา 22)
9. การจัดระเบียบบริหารราชการ ในกระทรวงศึกษาธิการ    ให้มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภา      หรือคณะกรรมการ (จำนวน 4 องค์กร ) ประกอบด้วย (1)กกอ. (2) กพฐ(3) กอศ(4) สภาการศึกษา(มาตรา 31-46  )
10. ให้กระทรวงศึกษาธิการ กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา จำนวน 4 ด้านได้แก่ (1)ด้านวิชาการ  ( 2 ) งบประมาณ  (3) บริหารงานบุคคล ( 4 ) บริหารทั่วไป  ( มาตรา  39 )
11. รูปแบบการจัดการศึกษา แบ่งออกเป็น  รูปแบบ (  มาตรา  15 21 )
(1)  การศึกษาในระบบ (formal Education)   ( 2 ) การศึกษานอกระบบ   (non-formal Education ) ( 3 ) การศึกษาตามอัธยาศัย ( Informal Education )
12.รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้แก่
 ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์  หอศิลป์สวนสัตว์ สวนสาธารณะ  สวนพฤกษศาสตร์  อุทยานวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีศูนย์การกีฬา และนันทนาการ   แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ(ม.22-30)
13.การจัดระเบียบบริหารราชการในกระทรวงศึกษา        ให้มีองค์การหลักที่เป็นคณะบุคคลในรูปสภา หรือในรูปคณะกรรมการ จำนวน  องค์กร    ได้แก่  ( มาตรา  31-46 )    (1) สภาการศึกษา (2) คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ( 3) คณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ( 4) คณะกรรมการการอุดมศึกษา
14.ระบบการประกันคุณภาพ มี  2  ระบบ (มาตรา 47 51 )
              (1) การประกันคุณภาพภายใน  ( 2 ) การประกันคุณภาพภายนอก
15. องค์กรกลางบริหารบุคคลของข้าราชการครู ( มาตรา 54 ) ได้แก่                                    
 คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ  ก... มีจำนวนคณะกรรมการ  28  คน
16. ให้จัดระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการออกเป็น  ลักษณะ ได้แก่
     (1) ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง  ( 2 ) ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
     (3) ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐ ที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
17. การแบ่งส่วนราชการ ในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ มีทั้งหมด 6 ส่วนราชการ มีฐานะเป็นกรม 5กรมได้แก่ (1) สำนักงานรัฐมนตรี(ไม่ใช่กรม )  (2)สำนักงานปลัดกระทรวง     (3) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ( 4 ) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (5) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ( 6 ) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
18. การแบ่งส่วนราชการภายในส่วนราชการตามข้อ 9 (ให้ออกเป็กฎกระทรวง )
 กฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการของ สอศ. .. 2546  แบ่งออกได้เป็น 7 สำนัก(1) สำนักอำนวยการ (2)สำนักความร่วมมือ    (3) สำนักติดตามและประเมินผลการศึกษา     ( 4 ) สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา    ( 5 )  สำนักพัฒนาสมรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษา      (6 ) สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ        ( 7 )สำนักวิจัยและพัฒนาอาชีวศึกษา
19.การแบ่งส่วนราชการในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ให้ตราเป็นระเบียบบริหารสถานศึกษา พ.. 2552  ประกอบด้วย 4 ฝ่าย  (1) ฝ่ายบริหารทรัพยากร (8งาน) (2) ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ ( 6งาน)  (3) ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา (6งาน) (4) ฝ่ายวิชาการ (แผนกวิชา+6งาน) 8+6+6+6
20. มาตรา45(1)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเลขาธิการหรือหัวหน้าส่วนราชการซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่าอธิการบดีในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาในระดับปริญญาตรีในสังกัด หรือผู้ว่าราชการจังหวัด        (ไม่ได้มอบให้ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา)
21. เมื่อได้มีการมอบอำนาจโดยชอบแล้ว   (  เว้นแต่  กรณีการมอบอำนาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด   ผู้ว่าราชการจังหวัดจะมอบอำนาจนั้นต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารแผ่นดินก็ได้            (การปฎิบัติราชการแทน )หมายความว่า การมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฎิบัติราชการ โดยผู้มอบอำนาจยังสามารถปฎิบัติหน้าที่ได้                 
22.ในกรณีสถานศึกษาไม่มีผู้ใดในสถานศึกษานั้นรักษาราชการแทนให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาแต่งตั้งข้าราชการในสถานศึกษานั้นรักษาราชการแทน โดยให้ถึงการจัดลำดับอาวุโส( 1 ) ตำแหน่ง( 2 ) การดำรงในระดับนั้นก่อน ( 3 ) เงินเดือน ( 4 ) อายุราชการ ( 5 ) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ( 6 ) อายุตัว
23. วิชาชีพ หมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษา ที่ทำหน้าที่หลัก ดังนี้    ( 1 )   ทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ (ครู)( 2 ) รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษา(ผู้บริหารสถานศึกษา)
24. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา หมายความว่าครู ผู้บริหารสถานศึกษา  ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์
25. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า  คุรุสภา  มีฐานะเป็น นิติบุคคลใน กำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
26. อำนาจหน้าที่ของคุรุสภา  มี  15  ข้อ ข้อที่สำคัญมี  ข้อ
  ( 1 ) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ( 2) ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ ( 3 ) พักใช้ใบอนุญาต หรือ เพิกถอนใบอนุญาต
27.คณะกรรมการคุรุสภา มีจำนวน 39 คน ประธานกรรมการ  ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
28. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ มีอำนาจหน้าที่  7 ข้อ     ข้อที่สำคัญ    คือพิจารณาการออกใบอนุญาต พักใช้ใบอนุญาต  หรือเพิกถอนใบอนุญาต
29. คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ
1. มีอายุไม่ต่ำกว่า  20   ปีบริบริบูรณ์      2.มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา    หรือเทียบเท่า   หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง  3. ผ่านการปฎิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา  เป็นเวลาอย่างน้อย หนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฎิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์   วิธีการ   และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
30. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มี  ประเภท ได้แก่
( 1 ) ใบประกอบวิชาชีพครู( 2 )ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ( 3 ) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ( 4 ) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ( ศึกษานิเทศก์ )
31. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู   มีอายุการใช้ได้เป็นเวลา ครั้งละ  5 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต  ผู้ประสงค์ขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อเลขาธิการคุรุสภาก่อนที่ใบอนุญาตหมดอายุ ไม่น้อยกว่า  180  วัน    ใบอนุญาตสิ้นสุดลงในกรณี ต่อไปนี้ (1) ใบอนุญาตหมดอายุ (2)  ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต (3) ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
32.คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้    (1)   ยกข้อกล่าวหา (2) ตักเตือน  (3) ภาคทัณฑ์ (4)  พักใช้ใบอนุญาต  (ไม่เกิน 5ปี)  (5) เพิกถอนใบอนุญาต (ล่วงเลย 5 ปี) จึงขอใหม่ได้ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ  ไม่ต่อใบอนุญาต  ไม่ออกใบอนุญาต หรือไม่ออกใบแทนใบอนุญาต ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิอุธรณ์ต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายใน 30 วัน ถ้าผู้อุธรณ์เห็นว่าคำวินิจฉัยไม่เป็นธรรมให้อุธรณ์ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง
33.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา     หมายความว่า           บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุตามพระราชบัญญัติ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.. 2547      ให้ได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณจากเงินงบประมาณ แผ่นดิน งบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือนของกระทรวงศึกษาธิการ        กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา  และกระทรวงวัฒนธรรม หรือกระทรวงที่อื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
34.คณาจารย์       หมายความว่า  บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ
35.คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกโดยย่อ ว่า  ... มีจำนวน  28 คนประกอบด้วย  (1+1+8+9+9)  (1)ประธานกรรมการ(รมว.ศธ.)   (2) รองประธานกรรมการ  (ปลัดกระทรวงศธ. )    (3) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนแปดคน (เดิม 5 คน ) ( 4 ) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ( เดิม 7 คน)     (4) กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง 9 คน ( เดิม คน )
36. การดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยยึดถือ             
                       (1) ระบบคุณธรรม ความเสมอภาคระหว่างบุคคล
                       (2) การเลือกปฎิบัติโดยไม่เป็นธรรม เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ  อายุ ความเชื่อทางศาสนาจะกระทำมิได้ 
37. มาตรา  30  คุณสมบัติผู้ซึ่งจะเข้ารับราชการครู  เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ( 1 ) มีสัญชาติไทย(ไม่เกี่ยวกับเชื้อชาติ )( 2)มีอายุไม่ต่ำกว่า18ปีบริบูรณ์  ( สำหรับข้าราชการครูไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ )  ( 3 )  เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย   อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข     ( 4 )ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น  (5) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดใน ก...     
38. กฎ ก...ว่าด้วยโรค ตามมาตรา 30 ( 5 )    มี  โรค  คือ
 ( 1 ) โรคเรื้อนในระยะติดต่อ หรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจของสังคม   ( 2 ) วัณโรคระยะติดต่อ  (3) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฎอาการที่เป็นที่รังเกียจแก่สังคม  (4) โรคติดยาเสพติดให้โทษ)  (5) โรคพิษสุราเรื้อรัง
39.มาตรา 38  (ก) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา มี 6 ตำแหน่ง
(1) ครูผู้ช่วย (สอนทุกระดับ)   (2)ครู (สอนทุกระดับ) (3) อาจารย์ ( สอนระดับปริญญา ) ( 4 ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (สอนระดับปริญญา)   ( 5 ) รองศาสตราจารย์    (สอนระดับปริญญา)   ( 6 ) ศาสตราจารย์    ( สอนระดับปริญญา)
40.มาตรา  39 วิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา   มี   วิทยฐานะ
         ( 1 ) ครูชำนาญการ (2) ครูชำนาญการพิเศษ ( 3 ) ครูเชี่ยวชาญ ( 4 ) ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
                 ( ข้อสอบ  1. เรียกชื่อตำแหน่งให้ถูกต้อง 2. เรียกชื่อวิทยฐานะให้ถูกต้อง )
                 เช่น นายภักดี  รัตนมุขย์    ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
41.ผู้ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เข้ารับตำแหน่งครูผู้ช่วย ให้เตรียมความพร้อมในการพัฒนาอย่างเข้ม เป็นเวลา 2 ปีก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู
42.การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มี กรณี  ดังนี้
( 1 ) การย้ายกรณีปกติ ได้แก่ 1.1 การย้ายเพื่ออยู่รวมกับคู่สมรส  1.2 การย้ายเพื่อดูแลบิดามารดา 1.3 การย้ายกลับภูมิลำเนา (2)การย้ายกรณีพิเศษ ได้แก่ 2.1การย้ายติดตามคู่สมรส 2.2การย้ายเนื่องจากถูกคุกคามชีวิต 2.3 การย้ายเนื่องจากเจ็บป่วยรุนแรง  ( 3  )   การย้ายเพื่อประโยชน์ราชการ   3.1    การย้ายเพื่อแก้ปัญหาการบริหารจัดการในสถานศึกษา  3.2  การย้ายเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
43.การเลื่อนเงินเดือน  ปีละ 2 ครั้ง   ครั้งที่  1   สำหรับการปฎิบัติราชการในครึ่งปีแรก (ในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึงวันที่ 31 มีนาคม)    โดยให้เลื่อนในวันที่    1 เมษายนของปีที่จะเลื่อน     การเลื่อนครั้งที่  สำหรับการปฎิบัติราชการในครึ่งปีหลัง(ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึงวันที่ 30  กันยายน) โดยให้เลื่อนในวันที่ 1 ตุลาคม ของปีที่จะเลื่อน
44.ความผิดที่ปรากฎชัดแจ้งไม่ร้ายแรง
  (1) ศาลพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิด   ยกเว้นความผิดโดยลหุโทษ     ( 2 ) กระทำความผิดวินัยไม่ร้ายแรง แล้วทำหนังสือสารภาพต่อผู้บังคับบัญชา 
     ความผิดที่ปรากฎชัดแจ้งที่ร้ายแรง  (1) ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก  (2) กระทำความผิดวินัยร้ายแรง แล้วทำหนังสือสารภาพต่อผู้บังคับบัญชา (3)ขาดราชการเกิน 15 วันโดยไม่มีเหตุอันควร
45.ประธานกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ      ได้แก่   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์
46. ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.. 2546 ได้แก่
 (1) รัฐมนตีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
 (2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย                                                                              
 (3)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม                                                                                          
 (4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
47. เด็กใน พ... คุ้มครองเด็ก พ.. 2546  หมายความว่า  บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์  แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก ตามพ... นี้ ได้แก่  ( 1 ) เด็กที่มีฐานะยากจนและได้รับความลำบาก ( 2 ) บิดามารดา หย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขังหรือแยกกันอยู่ และได้รับความลำบาก       (3) เด็กที่ต้องรับภาระครอบครับเกินวัย (4) เด็กที่ไม่สามารช่วยเหลือตัวเองได้                                                                       
48.เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก ตามพ... นี้   ได้แก่  ( 1 ) เด็กที่มีฐานะยากจนและได้รับความลำบาก ( 2 ) บิดามารดา หย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขังหรือแยกกันอยู่  และได้รับความลำบาก  ( 3 )เด็กที่ต้องรับภาระครอบครับเกินวัย (4) เด็กที่ไม่สามารช่วยเหลือตัวเองได้
49. สถานรับเลี้ยงเด็ก หมายความว่า สถานที่รับเลี้ยงเด็กที่มี อายุไม่เกิน  6 ปีบริบูรณ์  และมีจำนวนคน ตั้งแต่ หกคนขึ้นไป
50.คณะกรรมการคุ้มครองเด็กมี  3 คณะ ได้แก่   
  ( 1) คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ    ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธาน   (2)   คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานครประกอบด้วย                  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานกรรมการ    (3)  คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด         มี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ
51. คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ต้องมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นสตีรไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 (***อาชีวฯออกข้อสอบมาแล้ว** )
51.  เด็กพิการ  หมายความว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย  สมอง สติปัญญาหรือ จิตใจไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
52.การทารุณกรรม หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ หรือ เกิดอันตรายต่อร่างกาย หรือจิตใจ การกระทำความผิดทางเพศต่อเด็ก    การใช้เด็กให้กระทำ   หรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ    หรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ทั้งนี้ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม
53.โทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มี 10 ข้อ
 ข้อที่ 10 จำหน่าย   แลกเปลี่ยน  หรือให้สุรา หรือบุหรี่แก่เด็ก  เว้นแต่การปฎิบัติทางการแพทย์
54.เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์มี   8 ประเภท ได้แก่   (1)  เด็กเร่ร่อนหรือเด็กกำพร้า (2) เด็กที่ถูกทอดทิ้ง (3) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้(4) เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสม (5)เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ  (6)เด็กพิการ  (7) เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก   (8) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์
55.ในกรณีบุคคลได้รับการสงเคราะห์     มีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ยังอยู่ในสภาพที่จำเป็นจะต้องได้รับการสงเคราะห์ต่อไป    ปลัดกระทรวง  หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณีอาจสั่งให้บุคคลนั้นได้รับการสงเคราะห์ต่อไป จนอายุยี่สิบปีบริบูรณ์   แต่ถ้าหากมีความจำเป็นต้องให้การสงเคราะห์ต่อไปอีก และบุคคลนั้นมิได้คัดค้าน แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินเวลาที่บุคคลนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์
56. มาตรา 3 คนพิการหมายความว่า บุคคลมีข้อจำกัดในการปฎิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน   หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม    เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็นการได้ยิน    การเคลื่อนไหว    การสื่อสาร     จิตใจอารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้
57.มาตรา  ผู้ดูแลคนพิการ หมายความว่า บิดา มารดา ผู้ปกครอง  บุตร สามี ภรรยา ญาต พี่น้อง หรือบุคคลอื่นที่รับเลี้ยงอุปการะคนพิการ
58.เทคโนโลยีอำนวยความสะดวก หมายความว่า
  เครื่องมือ อุปกรณ์  ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์  หรือบริการที่ใช้สำหรับคนพิการโดยเฉพาะ
59.มาตรา  3 ครูการศึกษาพิเศษ หมายความว่าครูที่มีวุฒิการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไปและปฎิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
60.มาตรา สถานศึกษาเฉพาะความพิการ หมายความว่า   สถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ ทั้งในลักษณะอยู่ประจำ ไป-กลับ และรับบริการถึงบ้าน                                                                                                                                                                    61.มาตรา 3 คณะกรรมการในพ...การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.. 2551 หมายความว่า   คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 
62.มาตรา  คนพิการมีสิทธิทางการศึกษา  ดังนี้    ( 1 ) ได้รับการศึกษาโดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการตลอดชีวิตพร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา  (2 ) เลือกบริการทางการศึกษาสถานศึกษาระบบ และรูปแบบการศึกษาโดยคำนึงถึงความสามารถ  ( 3 ) ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา
63.คนพิการมี  9ประเภท  ได้แก่   (1)  บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านการเห็น     ( 2 )  บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  ( 3 ) บุคคลทีมีความบกพร่องทางสติปัญญา  ( 4) บุคคลที่มีความบกพร่องทางการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ    ( 5) บุคคลที่มีปัญหาการเรียนรู้     (6)  บุคคลที่มีความบกพร่องทางทางการพูดและภาษา (7) บุคคลที่มีพฤติกรรมหรืออารมณ์  (8)บุคคลออทิสติก (9)บุคคลพิการซ้อน (หลักเกณฑ์การแบ่งประเภทคนพิการ ให้จัดทำเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ)
64.มาตรา 21  ให้จัดตั้งกองทุนขึ้น   เรียกว่า   กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน     เพื่อใช้จ่ายในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างเป็นธรรมและทั่งถึง
65.มาตรา 22 ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง   ประกอบด้วย  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   เป็นประธานกรรมการ     ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ    เป็นกรรมการและเลขานุการ
66.วัฒนธรรมไทยแบ่งออกเป็น  ประเภท ได้แก่
  ( 1 )  วัตถุธรรม  ( 2) คติธรรม  ( 3 )เนติธรรม  ( 4 )  สหธรรม
67.  วัตถุธรรม  เป็นวัตถุธรรมทางวัตถุที่สมาชิกที่สมาชิกร่วมกันประดิษฐ์ และกำหนดความหมายหรือวิธีการใช้ เช่นบ้านเรือน ถนนหนทาง  เครื่องแต่งกาย สิ่งประกอบความเป็นอยู่รวมทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค
68.คติธรรม เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักในการดำเนินชีวิต  คุณธรรมทางจิตใจ อันเป็นคติหรือหลักการในการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่ได้มาจากศาสนา เช่นความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวทิตา
69.เนติธรรม เป็นวัฒนธรรมทางกฎหมาย  และระเบียบข้อบังคับกฎเกณฑ์        หรือขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีความสำคัญเสมอด้วยกฎหมาย บางอย่างแม้ไม่มีกฎหมายห้าม แต่ถ้ามีใครปฎิบัติก็เป็นที่รังเกียจของสังคม เพราะถือกันว่าไม่ดี ไม่เหมาะสม หรือเราเรียกว่าจารีต เช่นการไม่เคารพบุพการี การชิงสุกก่อนห่าม
70. สหธรรม เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต      มารยาทที่พึงปฎิบัติในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมและประเพณีต่างๆ เช่นมารยาทในการเข้าหาผู้ใหญ่ มารยาทในโต๊ะอาหาร มารยาทในการเข้าหาสังคม
71.วัฒนธรรม  หมายถึง การดำรงชีวิตของมนุษย์ที่แสดงถึงความเจริญงอกงามในการอยู่ร่วมกันเป็นการสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกในลักษณะของวัตถุและไม่ใช่วัตถุแล้วถ่ายทอดสืบกันมา
72.พรหมวิหารสี่   ประกอบด้วย   เมตตา   กรุณา     มุทิตา    อุเบกขา
73.ประเพณีส่วนบุคคล หรือประเพณีเกี่ยวกับชีวิต ได้แก่ประเพณีต่างๆที่เกี่ยวข้อง  ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย เช่นการทำขวัญเด็กแรกเกิด  บวชนาค แต่งงาน พิธีศพ ทำบุญตักบาตร
74.ประเพณีส่วนรวมที่เกี่ยวกับเทศกาลต่างๆ    เช่นประเพณีวันสงกรานต์     ประเพณีวันลอยกระทง     ประเพณีทอดกฐิน ประเพณีทอดผ้าป่า
75.ประเพณีส่วนรวมของพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น  ประเภท  ได้แก่
  (1) ประเพณีวันมาฆบูชา   ( 2) ประเพณีวันวิสาขบูชา   (3) ประเพณีวันอาสาฬหบูชา
  (4) ประเพณีวันเข้าพรรษา  ( 5 ) ประเพณีวันออกพรรษา
76.ประเพณีตักบาตรเทโว จังหวัดอุทัยธานี จะจัดในวันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ดโดยพระสงฆ์จำนวนกว่า 300 นำโดยพระสงฆ์กว่า 300 รูปนำ  โดยพระพุทธรูปปางดาวดึงส์เดินลงบันไดจากมณฑปพระพุทธบาทเขาสะแกรังมารับบิณฑบาตร
77. ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ  จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดในช่วงสารทไทยตรงกับวัน 15 ค่ำเดือนสิบ
78. หน่วยงานที่รับผิดชอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ชื่อ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  เรียกโดยย่อว่า  สศช.”
 79.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน เป็น ฉบับที่ 12 ( 2560 2564 )
 80  มิติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับ 12    มี   2  ประการ ได้แก่
                                         1.  มิติเศรษฐกิจ         2.  มิติสังคมและสิ่งแวดล้อม
81.วิสัยทัศน์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12  ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
82.นโยบายหลักของ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา  มี  11 ด้าน
83.โร้ดแม็บแนวทางการแก้ปัญหาของรัฐบาล   แบ่งออกเป็น  3   ระยะ
 (1) ยับยั้งความแตกแยก,   ยุติการใช้กำลังอาวุธสงครามก่อความรุนแรง   ( 2 )    ประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว,จัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ,  จัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, จัดตั้งสภาปฎิรูปแห่งชาติและคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อวางรากฐานทางารเมืองเศรษฐกิจและสังคม    ( 3 ) ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร การจัดการเลือกตั้ง
84.นโยบายการศึกษาข้อที่ 4    ( 1 )  จัดให้มีการปฎิรูปการศึกษา และการเรียนรู้(2) พัฒนาการศึกษาในระบบและการศึกษาทางเลือก ( 3 ) คูปองการศึกษา  ( 4 ) กระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาโดยให้สถานศึกษาสามารถเป็นนิติบุคคล ( 5 ) พัฒนาการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพและมีจิวิญญาณของความเป็นครูเน้นมีวุฒิตามวิชาที่สอน ( 6 ) เรียนระบบทางไกล ( 7 ) ส่งเสริมอาชีวและวิทยาลัยชุมชน ( 8 ) สนับสนุนการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านและวัฒนธรรมสากล
85.นโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการที่สำคัญเกี่ยวกับอาชีวศึกษา
    1. โครงการสานพลังประชารัฐด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ โดยมีภารกิจเร่งด่วน 4 เรื่อง
      - Re braning
        - Excellence Model School
        - Database
        - Standard and Certification Center
    2. ทวิภาคี ( Dual System )
    3. ทวิศึกษา ( Dual  Education )
    4. ทวิวุฒิ ( Dual  Degree )
    5. โครงการฝึกอบรมระยะสั้นฐานสมรรถนะ  
86.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบัน ชื่อ นพ.ธีรเกียรติ  เจริญเศรษฐศิลป์
87. เสาหลัก  เสาหลักแห่งอาเซียน  ประกอบด้วย                                                                  
     ( 1 ) ประชาคมการเมืองและความมั่นคง : ASC ( ASEAN Security  Communty )
     ( 2 ) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม : ASCC ( ASEAN Culture Community )
     ( 3 ) ประชาคมเศรษฐกิจ : AEC ( ASEAN Economic  Community )
88.อาเซียน + 3  ประกอบด้วย
ประเทศในภูมิภาคอาเซียน 10  ประเทศ + ประเทศจีน +ญี่ปุ่น + เกาหลีใต้           
89.อาเซียน + 6  ประกอบด้วย
ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ + จีน + ญี่ปุ่น  + เกาหลีใต้ + ออสเตรเลีย + นิวซีแลนด์ + อินเดีย
90.มาตรา  20  การจัดการอาชีวศึกษาการฝึกอบรมวิชาชีพให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ     สถานศึกษาของเอกชน สถานประกอบการหรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการหรือโดยความร่วมมือ    ระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย การอาชีวศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง             
91.มาตรา  13 สถานศึกษาอาชีวศึกษาสามารถรวมกันเป็นสถาบันได้ การรวมสถานศึกษาอาชีวศึกษา   เพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันให้กระทำได้โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และคำนึงถึงการประสานความร่วมมือให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง
92.มาตรา 8 การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพให้จัดได้ โดยรูปแบบ ดังต่อไปนี้  ( 1 )   การศึกษาในระบบ   ( 2 ) การศึกษาในระบบ ( 3) การศึกษาระบบทวิภาคี
93.มาตรา การจัดการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ         ให้จัดตามหลักสูตรที่กรรมการการอาชีวศึกษากำหนด ดังต่อไปนี้ ( 1 ) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ  ( 2 )ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( 3 ) ปริญญาสายเทคโนโลยีหรือสายปฎิบัติการ
94. มาตรา  15  ให้สถาบันตามมาตรา 13  และมาตรา  14  เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการ ในสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
95.มาตรา 17  สถาบันอาจแบ่งส่วนราชการ  ดังต่อไปนี้
 ( 1 ) สำนักงานผู้อำนวยการสถาบัน  ( 2 ) วิทยาลัย  ( 3 ) สำนัก ( 4)  ศูนย์
96.มาตรา  23  ให้มีคณะกรรมการสภาสถาบันในสถาบันแต่ละแห่ง จำนวนไม่เกินสิบสี่คน
97.มาตรา  38  คณาจารย์ประจำซึ่งสอนชั้นปริญญาในสถาบันมีตำแหน่งทางวิชาการ ดังต่อไปนี้                        
                (1) ศาสตราจารย์ ( 2 ) รองศาสตราจารย์ ( 3 ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ( 4 ) อาจารย์
98. มาตรา  58   ผู้ใดใช้ครุยวิทยฐานะ   เข็มวิทยฐานะ   ครุยประจำตำแหน่ง    เครื่องแบบเครื่องหมายหรือเครื่องแต่งกายของนักศึกษาหรือสิ่งใดที่เลียนแบบสิ่งดังกล่าว โดยไม่มีสิทธิ์ที่จะใช้         หรือแสดงด้วยประการใดๆ   ว่าตนมีตำแหน่งใดในสถานศึกษาอาชีวศึกษาหรือสถาบันการอาชีวศึกษา     หรือปริญญา    ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง     หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท   หรือทั้งจำทั้งปรับ
99.ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ได้แก่  พลเอกสุรยุทธ์    จุฬานนท์
          1. Thailand 4.0   เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายที่เปลี่ยนเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม    ไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย " นวัตกรรม "
                    โมเดล ของไทยแลนด์ 4.0  คือ  " มั่นคง  มั่งคั่ง และยั่งยืน "
2. Industire 4.0       หรือการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่  4            หมายถึงรูปแบบการจัดการอุตสาหกรรม   โดยการการนำสารสนเทศมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมชื่อเรียกนี้มีที่มาจากโครงการ Industrie 4.0  ของรัฐบาลเยอรมัน โดยนำระบบ ดิจิตอลมาเป็นแกนหลัก
3. Smart Farming   (เกษตรผู้ประกอบการ) หมายถึงการบริหารจัดการเกษตรแผนใหม่โดยการใช้"เทคโนโลยี "
4.Educaton to  Employment : Vocational  Boot Camp เป็นนโยบายของรมว.ศธ.คนใหม่ร่วมกับ   สอศ.   โครงการ   "ฝึกอบรมระยะสั้นฐานสมรรถนะ" ฟรี         โดยจัดหลักสูตรทั้ง อุตสาหกรรมเดิม ( First S – Curve) และอุตสาหกรรมใหม่ ( New  S - Curve )
5. First S - Curve เชื่อมโยงกับข้อที่ 4 เป็นหลักสูตรอาชีพเดิมที่มีอยู่ในหลักสูตรอาชีวศึกษาอยู่แล้ว
6. New S – Curveเชื่อมโยงกับข้อที่ 4เป็นหลักสูตรอาชีพใหม่เช่นรถไฟความเร็วสูงพลังงานแห่งอนาคต , สมาร์ทฟาร์มเมอร์ ฯลฯ
7. Competitive Workforce   เป็นนโยบายที่สำคัญนโยบายหนึ่งของ สอศ. ชื่อโครงการสานพลังประชารัฐด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ  โดยมีภารกิจเร่งด่วน    4 เรื่อง   คือ   1 ) Re-branding ,  Excellence  Model  School,     Standard and Certification Center       2) ทวิภาคี ( Dual  System )   3)  ทวิศึกษา ( Dual Educaton )
4) ทวิวุฒิ (   Dual Degree  )
8. Re - brandig   หมายถึงการจูงใจให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเห็นความสำคัญของการเรียนอาชีวศึกษาและสนใจเรียนอาชีวศึกษามากขึ้น
9. Excellence Model  School   หมายถึง   กำหนดความหมายและขอบเขตของสถานศึกษาที่ดีด้านอาชีวศึกษา
10. Standard and Certifcaton Center  หมายถึง       การจัดทำและหาทางเลือกที่เหมาะสมร่วมกันในการสร้างมาตรฐานวิชาชีพอาชีวศึกษาให้เป็นที่ยอมรับและนำไปใช้อย่างทั่วถึงทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
11. Dual   System หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์    ด้านการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีกับสาธารณรัฐออสเตรีย
12. Dual  Education  หมายถึงโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษา และมัธยมศึกษาตอนปลาย
13. Dual Degree           หมายถึง      การจับคู่สถาบันอาชีวศึกษาไทย กับสถาบันอาชีวศึกษาต่างประเทศ      โดยจัดทำวุฒิการศึกษาร่วมกัน      สอศ.ได้จัดทำทวิวุฒิกับสาธารณรัฐเกาหลี อาทิ    การท่องเที่ยว ,  เทคโนโลยีความงาม , และเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาหลักสูตรแล้วจะได้รับวุฒิการศึกษา 2 ใบ   จากทั้งสองประเทศ หรือเรียกว่า ทวิวุฒิ
14. นโยบายของรัฐมนตรีว่าการ ศธ.    ส่งเสริมให้นักเรียนและนักศึกษาอาชีวะ   มีคุณสมบัติ หรือทักษะสำคัญ  คือ    3R  และ  8C  ได้แก่
                          3R คือ Reading - อ่านออก  (W) Riting - เขียนได้,  (A)  Rithmatic  - มีทักษะในการคิดคำนวณ
                          8C  คือ
                            - Critical Thinking and Problem Solving    :   มีทักษะใน การคิดวิเคราะห์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาได้
                            - Creativity and Inovation : คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม
                            - Collabolaton  Teamwork  and  Leadership  : ความร่วมมือทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ
                            - Communicaton Information and Media Literacy   : ทักษะในการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ
                            - Cross - Cultural  Understanding    :    เข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
                            - Computing and ICT Literacy  :  ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์   การรู้เท่าทันเทคโนโลยี
15. Stem Educaton คือ แนวทางการศึกษาที่ได้บูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์ต่างๆ    เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์( Scientific Inquiry ) ความรู้ทางเทคโนโลยี  (  Technology)  ความรู้ทางวิศวกรรม (Engineering ) และความรู้ทางคณิตศาสตร์ ( Mathamatics )รวมเข้าไว้ด้วยกัน
16. Start up    คือ   การเริ่มต้นธุรกิจเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด     มีวิธีการหาเงินแบบทำซ้ำและขยายได้ง่าย    ตัวอย่าง เช่น facebook หรือ  youtube ต่างก็เคยเป็น Start up มาก่อน ตอนแรกให้ใช้ฟรี หลังๆถึงเริ่มมีโฆษณามากขึ้น มีรายได้มากขึ้น มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน
ติวสอบครูผู้ช่วย สอศ. ( ภายใน ) ที่จังหวัดมหาสารคาม

http://pakdee277.blogspot.com/2017/04/blog-post_25.html









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น