วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เรื่องน่ารู้เก็บไว้ดูเตรียมสอบครูผู้ช่วยสอศ. หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา



                                          หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา


1. แนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร  การจัดการเรียนการสอนของ สอศ.  กำหนดคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา  ทุกระดับ  ทุกประเภทวิชาและสาขาวิชา  ต้องครอบคลุมอย่างน้อย 3  ด้าน  ประกอบด้วย
                                1. คุณลักษณะที่พึงประสงค์
                                2. สมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป
                                3. สมรรถนะวิชาชีพ
2. สอศ. สถาบันการอาชีวศึกษา และสถานศึกษาจะต้องจัดให้มีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยทุก   5  ปี
3. การจัดการศึกษาตามหลักสูตร ปวช. และปวส. ใช้เวลา 3 ปี และ 2 ปี จัดได้  2 รูปแบบ ได้แก่ ในระบบ  และ ทวิภาคี  การจัดภาคเรียนให้ใช้ระบบ  ทวิภาค  แบ่งออกเป็น  2 ภาคเรียน 1 ภาคเรียนปกติ มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 18  สัปดาห์
4. หลักสูตร ปวช. ฉบับปัจจุบัน เป็นหลักสูตร ปวช. 2556 ( ออกข้อสอบเป็นประจำ )
5. หลักสูตร ปวส. ฉบับปัจจุบัน เป็นหลักสูตร ปวส. 2557 ( ออกข้อสอบเป็นประจำ )
6. จำนวนหน่วยกิตในหลักสูตรระดับ ปวช. ไม่ต่ำกว่า 103 นก. และไม่เกิน 120 นก.
7. จำนวนหน่วยกิตในหลักสูตรระดับ ปวส. ไม่ต่ำกว่า 78 นก. และไม่เกิน 90 นก. 
8. การจัดหน่วยกิตในหลักสูตรระดับ ปวช. ปวส. ให้พิจารณา ดังนี้
                                1. รายวิชาทฤษฎี   18 ชั่วโมง   =  1 นก.
                                2. รายวิชาปฎิบัติในห้องทดลอง หรือห้องปฎิบัติการ  36 ชั่วโมง=1 นก.
                                3. รายวิชาในโรงฝึกงานหรือภาคสนามไม่น้อยกว่า 54 ชั่วโมง = 1 นก.
                                4. การฝึกอาชีพในระบบทวิภาคีไม่น้อยกว่า 54 ชั่่วโมง = 1 นก.
                                5. การจัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 54 ชั่วโมง = 1 นก.
9. การประกันคุณภาพหลักสูตร กำหนดไว้ชัดเจน อย่างน้อย  4  ประเด็น ได้แก่
                                1. คุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา
                                2. การบริหารหลักสูตร
                                3. ทรัพยากรการจัดการอาชีวศึกษา
                                4. ความต้องการกำลังคนของตลาดแรงงาน
10. หลักสูตร ปวช. 2556  ปรับปรุงมาจากหลักสูตร ปวช. 2545 ( ปรับปรุง 2546 )
11. การจัดการเรียนการสอนในระบบชั้นเรียน เปิดทำการเรียนการสอนไม่น้อยกว่า สัปดาห์ละ 5 วัน ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง  คาบละ  60 นาที
12. โครงสร้างหลักสูตร  ปวช. และ ปวส. ประกอบด้วย  3 หมวดวิชา + 1กิจกรรมเสริมหลักสูตร ได้แก่
                                1. หมวดวิชาทักษะชีวิต
                                2. หมวดวิชาทักษะวิชาชีพ  แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มวิชา
                                    2.1 กลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพพื้นฐาน
                                    2.2 กลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพเฉพาะ
                                    2.3 กลุ่มวิชาทักษะวิชาชีพเลือก
                                    2.4 กลุ่มการฝึกอาชีพในระบบทวิภาคี
                                    2.5 กลุ่มการจัดทำโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ
                                3. หมวดวิชาเลือกเสรี
                                4. กิจกรรมเสริมหลักสูตร ( ไม่มี นก.  แต่มี  ผ  และ มผ. )
13. การจัดการศึกษาอาชีวศึกษา  มีปรัชญา และ วัตถุประสงค์ ที่มุ่งเน้นให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับ  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ชาติ  ปรัชญาการอาชีวศึกษา และมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ หรือมาตรฐานสมรรถนะรายวิชา
14.  สาระสำคัญของหลักสูตร เรียงตามลำดับได้ ดังนี้
                                 1. หลักการ
                                 2. จุดประสงค์
                                 3. หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตร
                                 4. การกำหนดรหัสวิชา
                                 5. มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ
                                 6. กรอบการจัดการศึกษาระดับต่างๆ















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น