1.กฎหมายการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการออกใน พ.ศ. ใด
ก. พ.ศ. 2545 ข. พ.ศ. 2546 ค. พ.ศ. 2547 ง. พ.ศ. 2548
2. กฎหมายการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการให้ออกเป็นกฎหมายประเภทใด
ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกำหนด ค. กฎกระทรวง ง. ระเบียบ
3. กฎหมายการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการเกิดจากกฎหมายใด
ก. พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2546
ข. พ.ร.บ.
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
ค. พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542
ง. พ.ร.บ.
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
4. ส่วนราชการที่เป็นสำนักใน
สอศ. มีกี่สำนัก
ก. 6 สำนัก ข. 7 สำนัก ค.8 สำนัก ง.9 สำนัก
5. ข้อใดที่มิใช่อำนาจหน้าที่ของสำนักอำนวยการ
ตรงกับข้อใด
ก. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการสนับสนุนทรัพยากรและการจัดให้มีกองทุนอาชีวศึกษา
ข. พัฒนาระบบงานและการบริหารบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ค. ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน
การบัญชีและพัสดุ งานอาคารสถานที่ งบประมาณและสินทรัพย์ของ สอศ.
ง. ดำเนินการเกี่ยวกับส่งเสริมวินัยและระบบคุณธรรม กฎหมายนิติกรรมและสัญญา
6. ข้อใดที่มิใช่อำนาจหน้าที่ของสำนักความร่วมมือ
ก. ส่งเสริมและสนับสนุนเอกชนและสถานประกอบการให้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรและมาตรฐานการอาชีวศึกษารวมทั้งอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
ข. พัฒนารูปแบบและหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับความร่วมมือกับเอกชนในการจัดการอาชีวศึกษารวมทั้งติดตามและประเมินผล
ค. ประเมินมาตรฐานครูและบุคลากรทางการศึกษา
ง. ส่งเสริมและสนับสนุนและพัฒนาองค์กรวิชาชีพ
กลุ่มอาชีพและสมาคมอาชีพ
7. ข้อใดที่มิใช่หน้าที่ของสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษา
ก. วิจัยและพัฒนาใตรฐานและหลักสูตรแกนกลางอาชีวศึกษาทุกระดับ
ข. วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวกับการอาชีวศึกษาเพื่อประกอบการเสนอแนะแนวนโยบาย
แผนงาน โครงการและความต้องการกำลังคนด้านอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ
ค. วิจัยและพัฒนามาตรฐาน สื่อต้นแบบและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา
ง. พัฒนาระบบ
หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถาบันการอาชีวศึกษา สถานศึกษา
รวมทั้งระบบการเรียนรู้ที่บูรณาการ
8. ข้อใดที่มิใช่ภารกิจโดยตรงของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ก. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข. ดำเนินงานเกี่ยวกับงานเลขานุการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ค. แก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียน
ง. ส่งเสริมประสานงานการจัดการอาชีวศึกษาของรัฐและเอกชน
9. กฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา
เกิดจากกฎหมายใด
ก. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 ข. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
ค. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
ง. ถูกทุกข้อ
10. กฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา
เกิดขึ้นในพ.ศ. ใด
ก. พ.ศ.
2546 พ.ศ. 2547 ค. พ.ศ. 2550 ง.พ.ศ. 2552
11. กฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา
กำหนดนิยาม คำว่า “สถานศึกษา
“ หมายถึงข้อใด
ก.วิทยาลัย ข. ศูนย์ ค.
หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเทียบเท่า ง. ถูกทุกข้อ
12. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา
สถานศึกษาแบ่งการบริหารออกเป็นกี่ฝ่าย
ก. 1 ฝ่าย ข. 2 ฝ่าย ค. 3 ฝ่าย ง. 4 ฝ่าย
13. ข้อใดที่มิใช่ “ฝ่าย”
ตาม กฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา
ก. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ ข.
ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา
ค. ฝ่ายวิชาการ ง. ฝ่ายทรัพยากร
14. งานโครงการพิเศษ
และการบริการชุมชนสังกัดในฝ่ายใด
ก. ฝ่ายวิชาการ ข.
ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา
ง. ฝ่ายทรัพยากร ง.
ฝ่ายส่งเสริมการศึกษา
15. งานวิทยบริการและห้องสมุดอยู่สังกัดในฝ่ายใด
ก. ฝ่ายวิชาการ ข. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
ค. ฝ่ายทรัพยากร ง.
ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา
16. การเปิดสอนแผนกวิชาชีพใหม่และการยุบเลิกแผนกวิชาชีพให้อยู่ในดุลยพิจของใคร
ก. ประธานอาชีวศึกษาจังหวัด
ข. ประธานอาชีวศึกษาภาค
ค. คณะกรรมการสถานศึกษา
ง.
ผู้อำนวยการวิทยาลัยโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา
17. รองผู้อำนวยการวิทยาลัยประกอบไปด้วยกี่ฝ่าย
ก. 1 ฝ่าย ข. 2 ฝ่าย ค. 3 ฝ่าย ง. 4 ฝ่าย
18. การปฎิบัติงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณอยู่ในความรับผิดชอบของงานใด
ก. งานบุคลากร ข.
งานบริหารงานทั่วไป
ค. งานการเงิน
ง. งานการบัญชี
19. การดำเนินการทางวินัยบุคลากรในสถานศึกษาอยู่ในความรับผิดชอบของงานใด
ก. งานบุคลากร ข.
งานบริหารงานทั่วไป ค.
งานการเงิน ง. งานการบัญชี
20. งานเก็บเอกสารและหลักฐานต่างๆไว้เพื่อการตรวจสอบและดำเนินการทำลายเอกสารตามระเบียบ
อยู่ในความรับผิดชอบของงานใด
ก. งานบุคลากร ข. งานบริหารงานทั่วไป ค.
งานการเงิน ง. งานการบัญชี
21. การจัดทำรายงานการเงินและบัญชีเพื่อจัดส่งส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในกำหนดเวลา
ตามระเบียบอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใด
ก. งานบุคลากร ข. งานบริหารงานทั่วไป ค.
งานการเงิน ง. งานการบัญชี
22. การรับสมัครนักเรียนนักศึกษาและการตรวจหลักฐานต่างๆอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใด
ก. งานประชาสัมพันธ์
ข. งานวางแผนและงบประมาณ
ค. งานทะเบียน ง. งานงานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ
23. การจัดทำข้อมูลแผนการรับนักเรียนนักศึกษา
การยุบ ขยายและเพิ่มประเภทวิชา
สาขาวิชาที่เปิดสอนในสถานศึกษาอยู่ในความรับผิดชอบของงานใด
ก. งานประชาสัมพันธ์
ข. งานวางแผนและงบประมาณ
ค. งานทะเบียน ง. งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ
24. การดำเนินการเกี่ยวกับศูนย์กำลังคนอาชีวศึกษาของสถานศึกษาอยู่ในความรับผิดชอบของงานใด
ก. งานประชาสัมพันธ์
ข. งานวางแผนและงบประมาณ
ค. งานทะเบียน ง. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ
25. งานรับผิดชอบเกี่ยวกับการสื่อสารต่างๆของสถานศึกษาทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาอยู่ในความรับผิดชอบของงานใด
ก. งานประชาสัมพันธ์
ข. งานวางแผนและงบประมาณ
ค. งานทะเบียน ง. งานศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ
26. งานอาคารสถานที่อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายใด
ก. ฝ่ายวิชาการ ข.
ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
ค. ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา
ง. ฝ่ายทรัพยากร
27. งานวิจัยพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายใด
ก. ฝ่ายวิชาการ ข.
ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
ค. ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา
ง. ฝ่ายทรัพยากร
28. งานประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายใด
ก. ฝ่ายวิชาการ ข. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
ค. ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา
ง. ฝ่ายทรัพยากร
29. งานครูที่ปรึกษาอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายใด
ก. ฝ่ายวิชาการ ข.
ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
ค. ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา
ง. ฝ่ายทรัพยากร
30. งานปกครองอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายใด
ก. ฝ่ายวิชาการ ข.
ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
ค. ฝ่ายพัฒนากิจกานักเรียนนักศึกษา
ง. ฝ่ายทรัพยากร
31. งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายใด
ก. ฝ่ายวิชาการ ข.
ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
ค. ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา
ง. ฝ่ายทรัพยากร
32. ข้อใดที่มิใช่นิยาม
ของคำว่า “ข้าราชการครู”ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา
ก. ครูผู้ช่วย ข. ครู ค. ครูชำนาญการ ง. พนักงานราชการ
33. ข้อใดที่มิใช่นิยาม
ของคำว่า “บุคลากรทางการศึกษา
“ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา
ก. ผู้อำนวยการวิทยาลัย ข. รองผู้อำนวยการวิทยาลัย
ค. พนักงานราชการ ง. ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
34. ข้อใดที่มิใช่นิยาม ของคำว่า“ บุคลากรทางการศึกษาอื่น
“ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา “
ก. พนักงานราชการ ข. ลูกจ้างประจำ ค. ลูกจ้างชั่วคราว ง. ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ก.ค.ศ.กำหนด
35. คณะกรรมการในสถานศึกษา
ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา คือข้อใด
ก. คณะกรรมการที่ปรึกษา
ข. คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา
ค. คณะกรรมการวิทยาลัย
ง. ถูกทั้งข้อ ข และข้อ ค
36. คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาใครเป็นประธานกรรมการ
ก. ผุ้ทรงคุณวุฒิ ข. ผู้อำนวยการวิทยาลัย
ค. รองผู้อำนวยการวิทยาลัย
ง. ผู้แทนสถานประกอบการ
37. คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิกี่คน
ก. 1 คน ข. 2 คน ค. ไม่น้อยกว่า 1
คน ง. ไม่น้อยกว่า 2 คน
38. คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
ก. 1 ปีการศึกษา ข. 2 ปีการศึกษา ค. 3 ปีการศึกษา ง.
4 ปีการศึกษา
39. ข้อใดเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา
ก. กำหนดเป้าหมาย นโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสถานศึกษา
ข. พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาสถานศึกษาและแผนปฎิบัติการประจำปี
ค. กำหนดแผนการรับนักเรียน นักศึกษา การยุบ ขยายและเพิ่มประเภทวิชา
สาขาวิชาที่เปิดสอนในสถานศึกษา
ง. ถูกทุกข้อ
40. การประชุมคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา
อย่างน้อยภาคเรียนละกี่ครั้ง
ก. ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ข. ไม่น้อยกว่า 2
ครั้ง ค.ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ง.ไม่น้อยกว่า
4 ครั้ง
ติวสอบครูผู้ช่วย สอศ. ( ภายใน ) ที่จังหวัดมหาสารคาม
เฉลย
1.ข 2.ค 3. ก 4. ข 5. ก 6. ค 7. ข 8. ค 9. ง 10. ง 11.
ง 12. ง 13.
ข 14. ข 15.
ก 16. ง 17. ง 18. ข 19. ก 20. ค 21.
ง 22.ค 23. ข 24.ง 25. ก 26.
ง 27. ก 28.
ข 29. ค 30.
ค 31. ก 32. ง 33.
ค 34. ง 35. ง 36.ข 37.ง 38. ข 39. ง 40. ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น